ข้ามไปเนื้อหา

ตำบลนครหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลนครหลวง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nakhon Luang
ปราสาทนครหลวง
ประเทศไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อำเภอนครหลวง
พื้นที่
 • ทั้งหมด9.10 ตร.กม. (3.51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด4,185 คน
 • ความหนาแน่น459.89 คน/ตร.กม. (1,191.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13260
รหัสภูมิศาสตร์140301
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครหลวง เป็นตำบลในอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตของเทศบาลตำบลนครหลวง โดยเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ และเป็นที่ตั้งของปราสาทนครหลวง[2]

ปราสาทนครหลวง

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ตำบลนครหลวงมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้[3]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่ลา และตำบลพระนอน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านชุ้ง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลปากจั่น
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางระกำ และตำบลบางพระครู

ประวัติ

[แก้]

ปี พ.ศ. 2490 ขุนปฐมประชากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ประกาศแยกพื้นที่หมู่ 8–9 บ้านบางพระครู และหมู่ 10 บ้านชะอม ของตำบลนครหลวง ตั้งเป็น ตำบลบางพระครู[4] และพ.ศ. 2494 พระราชญาติรักษา ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ได้พิจารณาโอนท้องที่หมู่ 7 บ้านเสื่อ เฉพาะฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ของตำบลบางระกำ มาขึ้นกับตำบลนครหลวง โดยตั้งเป็นหมู่ 8 ตำบลนครหลวง[5]

ปี พ.ศ. 2499 นายสุทัศน์ สิริสวย ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับกำนันตำบลนครหลวง ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ได้พิจารณาพื้นที่ฝั่งตะวันตกบางส่วนริมแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ ตำบลบางพระครู ตำบลบางระกำ และพื้นที่ฝั่งตะวันออกริมแม่น้ำป่าสักของตำบลนครหลวง เป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอแม่ริม เป็นที่ชุมนุมชนหนาแน่น มีตลาด สถานีอนามัย จึงตั้งเป็น สุขาภิบาลนครหลวง ในปี พ.ศ. 2500[6] และปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลนครหลวงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบล[7] ด้วยผลของกฎหมาย

ปี พ.ศ. 2546 เขตสภาตำบลนครหลวงมีประชากร 1,683 คน และมี 559 ครัวเรือน[8] บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนครหลวง โดยส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีสภาพไม่เข้าองค์ประกอบความเป็นหมู่บ้าน และไม่ผ่านการเงื่อนไขในการตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล จึงพิจารณาให้รวมสภาตำบลนครหลวงเข้ากับเทศบาลตำบลนครหลวง ในปี พ.ศ. 2547[9] ทำให้ตำบลนครหลวงอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนครหลวงทั้งหมด

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลนครหลวง (เฉพาะตำบลนครหลวง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ง): 3679–3717. วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (ตอนพิเศษ 119 ง): 45–80. วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2540
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1434–1447. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 68 (46 ง): 2921. วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2494
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนครหลวง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (4 ง): (ฉบับพิเศษ) 63-64. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500
  7. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  8. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (เขตตำบลนครหลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนครหลวง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ฉบับพิเศษ 108 ง): 4–6. วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2547