ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม
ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม | |
---|---|
เกิด | พัทยา ประเทศไทย | เมษายน 7, 1999
ชื่ออื่น | จตุคาม เพชรรุ่งเรือง |
ส่วนสูง | 180 เซนติเมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว) |
น้ำหนัก | 70 kg (154 lb; 11 st) |
รุ่น | เฟเทอร์เวต (155 ปอนด์) (ONE) |
ช่วงระยะ | 71.5 in (182 ซm) |
รูปแบบ | มวยไทย |
ท่ายืน | เซาต์พอล |
มาจาก | กรุงเทพ ประเทศไทย |
ทีม | พี.เค. แสนชัย มวยไทยยิม |
สถิติคิกบอกซิง/มวยไทย | |
คะแนนรวม | 166 |
ชนะ | 133 |
แพ้ | 31 |
เสมอ | 2 |
ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม มีชื่อจริงว่า ณรงค์ศักดิ์ แก้วมาลา (ชื่อเล่น กันต์) เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2542 เป็นนักมวยไทยชาวไทย เมื่อครั้งอยู่สังเวียนลุมพินีครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ใช้ชื่อ จตุคาม เพชรรุ่งเรือง สื่อมวลชนตั้งฉายาว่า "ซ้ายดารา"[1] เนื่องจากถนัดซ้ายและรูปร่างหน้าตาดี[2]
ประวัติ
[แก้]ตะวันฉายเป็นบุตรชายของนายบุญสงฆ์ แก้วมาลา กับนางธัญชนก จำปาทอง มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยเป็นบุตรคนเล็ก บิดาเป็นนักธุรกิจใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ลงทุนร่วมกับพี่เขยและเครือญาติทำธุรกิจท่องเที่ยวในเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ในนาม ทัวร์วิไลสมุทร แต่เมื่อเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ส่งผลให้กิจการต่าง ๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนักและทยอยกันปิดตัวลง รวมถึงธุรกิจของครอบครัว
ตะวันฉายเริ่มหัดมวยตั้งแต่อายุ 7–8 ปี ฝึกหัดมวยที่ค่ายเพชรรุ่งเรือง ของครูนุ วิษณุชัย เพชรรุ่งเรือง โดยมีอนันต์ศักดิ์ เปียปลื้มเป็นครูมวยคนแรก จากนั้นเริ่มชกโชว์ที่บาร์แห่งหนึ่งแถวชายหาดเมืองพัทยา ในนามจตุคาม เพชรรุ่งเรือง และเริ่มเดินสายชกมวยเด็กในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ในภาคตะวันออกรวมถึงอีสาน จนกระทั่งเข้ามาชกในสนามมวยเวทีลุมพินีเมื่อตอนอายุ 14 ปี[3] ประเดิมชกกับเพชรบานเสน สว.จ.เลี่ยงเมืองนนท์ โดยชนะด้วยคะแนนเอกฉันท์
หลังเรียนจบระดับมัธยมศึกษาชั้นที่ 3 จตุคามได้ย้ายมากรุงเทพฯ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของค่ายมวย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม และใช้ชื่อ "ตะวันฉาย" นับแต่นั้น (พระจันทร์ฉาย เป็นคนตั้งให้)
ตะวันฉายสร้างชื่อให้ตัวเองได้อย่างรวดเร็ว จนในเดือนกุมภาพันธ์ 60 เขาคว้าแชมป์ประเทศไทยรุ่น 126 ปอนด์ด้วยการเอาชนะวายุน้อย เพชรเกียรติเพชร ณ สนามมวยเวทีลุมพินี ในปี 2561 ได้รางวัลนักมวยไทยยอดเยี่ยม สนามมวยเวทีลุมพินี[1]
วันแชมเปียนชิพ
[แก้]4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 มีการประกาศว่าตะวันฉายได้เซ็นสัญญากับวันแชมเปียนชิพ[4] เปิดตัวครั้งแรกด้วยการชนะน็อกคู่แข่งชาวไอริช ฌอน แคลนซี[5]
29 กันยายน พ.ศ. 2565 ได้โอกาสท้าชิงตำแหน่งแชมป์โลกวันมวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวตกับ เพชรมรกต เพชรยินดีอะคาเดมี ตะวันฉายชนะคะแนนอย่างเอกฉันท์ ขึ้นแท่นแชมป์โลกคนใหม่[6]
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตะวันฉายป้องกันแชมป์โลกวัน มวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวต เป็นครั้งแรก โดยเจอกับจามาล ยูซูพอฟ ชาวตุรกี แต่ถูกตะวันฉายชนะน็อกด้วยการเตะขาจนยืนไม่ได้ ในวินาทีที 49 ของยกแรก[7]
5 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ตะวันฉายลงแข่งขันในกติกาคิกบอกซิงนัดแรกของรายการวันแชมเปียนชิพ โดยเจอกับดาวิต คิเรีย นักชกชาวจอร์เจีย ในกติกาคิกบ็อกซิง รุ่นเฟเธอร์เวต โดยตะวันฉายเตะซ้ายเข้าที่แขนของ ดาวิต คิเรีย ยกที่ 3 จนแขนหัก[8]
7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ตะวันฉาย ชนะคะแนนไปแบบเอกฉันท์ โจ ณัฐวุฒิ ในกติกาคิกบอกซิง[9]
22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ตะวันฉายป้องกันแชมป์โลกวัน มวยไทย รุ่นเฟเธอร์เวต โดยเจอกับ ซุปเปอร์บอล ชนะคะแนนไปแบบเอกฉันท์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ""ตะวันฉาย" ปลื้ม คืนถิ่นลุมพินีที่เคยสร้างชื่อในศึกป้องกันแชมป์ 25 ก.พ.นี้". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "ตะวันฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม ประวัตินักมวยหน้าหยก เจ้าของฉายา "ซ้ายดารา"". กะปุก.
- ↑ "10 เรื่องจริงของ "ตะวันฉาย" ใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ไม่รู้ไม่ได้!". onefc.com.
- ↑ "Tawanchai Signs With ONE Championship". Fight Record. 2020-10-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-12.
- ↑ "ชีวิตจริงสุดดรามาของ "ซ้ายดารา" ตะวันฉาย จากลูกคุณหนูสู่ยอดมวยแห่งยุค". onefc.
- ↑ "บันไดสี่ขั้นสู่บัลลังก์ของ "ตะวันฉาย" ก่อนรั้งเข็มขัดครั้งแรกกับ "จามาล ยูซูพอฟ"". onefc.
- ↑ "เคลื่อนไหวแล้ว "จามาล" เปิดใจหลังถูก "ตะวันฉาย" เจาะยางแตกในนัดชิงแชมป์โลก". onefc.com.
- ↑ "พิษแข้ง "ตะวันฉาย" ภาพเอ็กซเรย์แขน "คิเรีย" หักจริง (คลิป)". ผู้จัดการออนไลน์.
- ↑ "สู้กันสนุก!"ตะวันฉาย" เบียดเข้าป้ายชนะ "โจ ณัฐวุฒิ" กติกาคิก บ็อกซิ่ง ONE FIGHT NIGHT". สยามสปอร์ต.