ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | |
---|---|
ชัชชาติในการแถลงข่าวการใช้งานแทรฟฟีฟองดูว์เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 | |
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[1] | |
รองผู้ว่าการ |
|
ก่อนหน้า | อัศวิน ขวัญเมือง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | |
ก่อนหน้า | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
ถัดไป | ประจิน จั่นตอง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มกราคม พ.ศ. 2555 – 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ชัจจ์ กุลดิลก | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ |
ก่อนหน้า | กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ |
ถัดไป | พฤณท์ สุวรรณทัต ประเสริฐ จันทรรวงทอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | เพื่อไทย (2555–2562) |
คู่สมรส | ปรมินทร์ทิยา สิทธิพันธุ์ (หย่า) |
บุตร | 1 คน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ |
อาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น ทริป เป็นนักการเมืองและวิศวกรชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17[3] หลังได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2565 ก่อนหน้านี้เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เขาเป็นที่รู้จักจากข้อเสนอสร้างทางรถไฟความเร็วสูงภายใต้กรอบวงเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกไป ชัชชาติยังมีภาพลักษณ์เป็นอินเทอร์เน็ตมีมในฐานะ รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี[4] จากภาพหิ้วถุงอาหารในปี พ.ศ. 2556 และทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะบนสื่อสังคม ที่มีการนำภาพไปทำเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในรูปแบบต่าง ๆ[5] ต่อมาเขาลาออกจากพรรคเพื่อไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 ในฐานะนักการเมืองอิสระ และได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย ด้วยคะแนนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยต่อมาเขาได้รับตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในฐานะผู้ว่าราชการจากการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย แต่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเพียงหนึ่งเดือนก่อนที่ศูนย์จะถูกยุบไป
ประวัติ
[แก้]ชัชชาติเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509[2] เป็นบุตรของพลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ถึงแก่กรรมแล้ว) กับจิตต์จรุง สิทธิพันธุ์ (สกุลเดิม กุลละวณิชย์)(ถึงแก่กรรมแล้ว)[2] มีพี่ร่วมบิดามารดาสองคน ดังนี้[2]
- รศ.ปรีชญา สิทธิพันธุ์ เฟอร์รี่ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพี่สาว
- รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นพี่ชายฝาแฝด
ครอบครัว
[แก้]ชัชชาติสมรสกับปรมินทร์ทิยา[6] (นามเดิม ปิยดา อัศวฤทธิภูมิ) พนักงานการบินไทย แต่หย่ากันแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2560[7]
เขามีบุตรหนึ่งคน คือ แสนปิติ หรือแสนดี[8] บุตรของชัชชาติเป็นผู้พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมเมื่อ พ.ศ. 2545[9] ชัชชาติเล่าว่า ตนวิ่งเป็นระยะทาง 13 กิโลเมตรทุกวัน เพราะต้องการมีสุขภาพแข็งแรงเพื่ออยู่ดูแลบุตรที่หูหนวกให้ได้นานที่สุด และใช้ความทุ่มเทอย่างมากเพื่อให้บุตรสามารถใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติได้
โดยในปัจจุบันเเสนดีหลังจบการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงให้กับพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[10]
การศึกษา
[แก้]ชัชชาติสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง และได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2529 เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมโครงสร้างจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และระดับปริญญาเอกด้านวิศวกรรมโครงสร้างจากมหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ภายหลังจบการศึกษาได้กลับมาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้เขายังสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังสำเร็จการอบรมหลักสูตรอีกจำนวนหนึ่ง เช่น หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่นที่ 4) วิทยาลัยพัฒนามหานคร มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท. รุ่นที่ 22)[11] เป็นต้น
งานก่อนเข้าสู่การเมือง
[แก้]ชัชชาติเคยทำงานเป็นวิศวกรโครงสร้าง กับบริษัทสกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล[12]ที่สหรัฐอเมริกา[13] ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนมีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายจัดการทรัพย์สินระหว่าง พ.ศ. 2548–2555 นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง เช่น บริษัท ขนส่ง จำกัด การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด[14] และในปี พ.ศ. 2551– 2555 เป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์[11]
ชัชชาติในฐานะนักวิชาการ ได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานและให้คำปรึกษาแก่กระทรวงคมนาคมในสมัยรัฐบาลทักษิณ 2 และรัฐบาลสมัคร[15]
นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
[แก้]จนกระทั่ง พ.ศ. 2555 เขาได้รับการทาบทามทางโทรศัพท์ จากนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม แม้ทางมารดาจะไม่เห็นด้วย[16] แต่เขาก็ตกลงเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[17] จากการที่เขาเข้ามารับงานทางการเมืองเป็นครั้งแรก ทำให้ในช่วงแรกในตำแหน่งรัฐมนตรี เขากลายเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จักมากที่สุด[18] และจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งต่อมา เขาก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555[19]
ระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชัชชาติให้ความสำคัญกับการขนส่งระบบรางเป็นพิเศษ ผลงานในช่วงที่เขาเป็นรัฐมนตรี เช่น การแก้แบบสถานีกลางบางซื่อ ให้รองรับรถไฟความเร็วสูง[20], การแก้แบบสายสีแดงเข้มจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง[20], การจัดซื้อจัดขบวนรถด่วนพิเศษ CNR จำนวน 8 ขบวน, การเปลี่ยนรางรถไฟในภาคเหนือตอนบนทั้งหมด[21], ให้ข้าราชการระดับ 9 ขึ้นไปนั่งรถเมล์มาทำงานแล้วรายงานปัญหา[22]
ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ชัชชาติเคยถูก กปปส. กดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง[23] และในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นหนึ่งในตัวแทนฝ่ายรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุมกับบรรดาแกนนำและตัวแทนฝ่ายต่าง ๆ เพื่อหาทางออกประเทศ ที่จัดขึ้นโดยกองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) ชัชชาติกล่าวว่า หลังพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ประกาศรัฐประหาร เขาถูกคลุมหัว มัดมือ และถูกนำตัวไปค่ายทหารที่จังหวัดปราจีนบุรี[24][25] โดยมีนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ถูกคุมในสถานที่เดียวกัน ชัชชาติได้รับการปล่อยตัวจากค่ายทหารในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา[25]
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในเดือนสิงหาคม–ธันวาคม พ.ศ. 2557 เขาเป็นกรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, จากนั้นในปี พ.ศ. 2558 เป็นกรรมการ บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ รวมถึงประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์[11] และในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560 รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งเขาเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน แต่ชัชชาติชี้แจงว่าไม่ทราบเรื่องมาก่อน และยื่นใบลาออกจากตำแหน่งกรรมการในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2560[26]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ชัชชาติได้ลาออกจากทุกตำแหน่งในบริษัทข้างต้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งในปีถัดมา[27] โดยเขาเป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ร่วมกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และชัยเกษม นิติสิริ[28] ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยได้วางตัวชัชชาติเป็นผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของพรรคด้วย[29]
ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ชัชชาติประกาศว่าเขาตั้งใจจะลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมในงานเปิดตัว เช่น ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, ดวงฤทธิ์ บุนนาค และพริษฐ์ วัชรสินธุ เป็นต้น บีบีซีไทยระบุว่าเขาได้รับการอนุมัติจากแกนนำพรรคเพื่อไทย และทักษิณ ชินวัตร ให้ลงสมัครแบบไม่สังกัดพรรค[31] โดยทักษิณกล่าวในภายหลังว่าเขาเลือกวิถีทางการเมืองของตนเอง "เราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา"[32] แต่ก็มีแกนนำพรรคเพื่อไทยบางส่วนแสดงความไม่เห็นด้วย[33]
ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เขาเปิดตัวลงสมัครอย่างเป็นทางการ ใช้ชื่อการรณรงค์หาเสียงว่า "กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน" ในการหาเสียง เขาเน้นด้านทรัพยากรมนุษย์ ระบบเส้นเลือดฝอย สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ[34][35] โดยมีนโยบายสำคัญ เช่น การสร้างเครือข่ายแผนที่จุดเสี่ยงอาชญากรรม พัฒนาระบบขนส่งมวลชน สร้างกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งศิลปะและการเรียนรู้ เป็นต้น[36] นอกจากนี้เขายังมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อดึงคนเก่งจากทั่วโลกมาอยู่โดยยึดซิลิคอนแวลลีย์เป็นแบบอย่าง พร้อมกับชูแนวทางเป็นผู้นำแห่งความหวังที่ยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง[37]
เขาเป็นผู้สมัครหมายเลข 8 ในการรับเลือกตั้ง[38] และหาเสียงโดยใช้แนวทาง "หาเสียงแบบรักเมือง" เช่น ใช้ยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมดในการหาเสียง ลดขนาดและปริมาณของป้ายหาเสียง จัดพิมพ์เอกสารแนะนำตัวในรูปแบบหนังสือพิมพ์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ และนำวัสดุที่ใช้ทำป้ายหาเสียงกลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ต่อในทีมงาน เป็นต้น[39] เขาเป็นผู้สมัครคนแรกในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวที่ให้ทีมงานลดขนาดและจำนวนป้ายหาเสียงหลังได้รับเสียงวิจารณ์จากสาธารณะ รวมทั้งมีการออกแบบให้ป้ายหาเสียงสามารถเปลี่ยนเป็นกระเป๋าและชุดกันเปื้อนได้[40] เขาได้รับการสนับสนุนจากอาสาสมัครกว่า 10,000 คน ซึ่งมาจากทั้ง 50 เขต และอาสาสมัครดังกล่าวได้ร่วมเสนอนโยบายการหาเสียงด้วย[41] นอกจากนี้ ยังมีผู้มีชื่อเสียงร่วมลงพื้นที่ด้วย เช่น พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา[42] และปวีณา หงสกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์[43] เป็นต้น
ช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง ชัชชาติเลือกที่จะไม่ตั้งเวทีปราศรัยใหญ่แบบเดียวกับผู้สมัครบางส่วน แต่ใช้วิธีแสดงวิสัยทัศน์ตามย่านเศรษฐกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย ได้แก่ สยาม, สีลม, ไชนาทาวน์–เยาวราช และย่านบางลำพู–ข้าวสาร แทน[44] โดยเขาใช้ลังไม้หนึ่งใบตั้งเป็นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ เลือกช่วงวันศุกร์เย็นซึ่งมีการจราจรติดขัด รวมถึงใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นหลักในการเคลื่อนย้ายจากจุดต่อจุด[45]
ผลการเลือกตั้ง ชัชชาติได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย ด้วยคะแนนที่มาเป็นอันดับ 1 คือ 1,386,215 คะแนน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และมากกว่าคะแนนรวมของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งครั้งนี้ที่เหลือทั้งหมด[24] วิศรุต สินพงศพร จากเวิร์คพอยท์ทูเดย์ วิเคราะห์สาเหตุที่คะแนนเสียงของชัชชาติถล่มทลายในการเลือกตั้งมีเหตุผลหลายประการ รวมถึงการที่ลงสมัครในนามอิสระ, ผลงานในสมัยเป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมที่ถูกสกัดกั้นไว้, วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน, จำนวนผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กที่มากกว่าผู้สมัครคนอื่น และการเตรียมตัวยาวนานสองปีครึ่งก่อนการเลือกตั้ง[30]
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
[แก้]วันแรกหลังการเลือกตั้ง มีภาพชัชชาติลงพื้นที่ตรวจคลองลาดพร้าวพร้อมกับวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และว่าที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 13 จากพรรคก้าวไกลอีกจำนวนหนึ่ง[46] แต่ชัชชาติปฏิเสธการดึงวิโรจน์เข้าร่วมทีม พร้อมบอกว่าวิโรจน์สามารถ "ไปได้อีกไกล"[47] ในวันที่ 24 พฤษภาคม เขาให้สัมภาษณ์ว่าพร้อมแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวร่วมกับคณะรัฐมนตรี แต่ให้ความเห็นว่าควรปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562[48]
ในการเลือกตั้ง ชัชชาติถูกร้องเรียนในเรื่องการนำป้ายเลือกตั้งมาทำกระเป๋าผ้า และการดูถูกระบบราชการ[49] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรองผลการเลือกตั้งในอีก 9 วันต่อมา[50]
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ชัชชาติได้เข้ารับหนังสือรับรองการเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง[51] จากนั้นจึงเดินทางไปยังศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และลงนามรับมอบงานในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากปลัดกรุงเทพมหานคร[52] พร้อมเปิดตัวคณะผู้บริหารชุดใหม่ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย และนักกิจกรรมเพื่อสังคม[53] วันเดียวกันเขาให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรุงเทพมหานครเหลืองบประมาณเพียง 94 ล้านบาท โดยเขาระบุว่าสามารถทำงานได้ด้วยงบประมาณไม่มาก[54]
วันที่ 4 มิถุนายน ชัชชาติไปเยี่ยมสำนักระบายน้ำ และได้รับแจ้งว่างบประมาณในปี พ.ศ. 2565 ที่เหลืออยู่ของกรุงเทพมหานครสามารถลอกคลองได้เพียง 2 จากทั้งหมด 1,980 แห่ง[55] เขาชี้แจงในวันต่อมาว่าตัวเลขข้างต้นเป็นคลองใหญ่ที่รับผิดชอบโดยสำนักการระบายน้ำ ส่วนคลองย่อยนั้นรับผิดชอบโดยสำนักงานเขตซึ่งมีการขุดลอกไปมากแล้ว เมื่อรวมกับคลองใหญ่ก็คงมีมากกว่าที่ได้รับรายงาน นอกจากนี้ ชัชชาติยังยอมรับว่าตนเองก็มีส่วนผิดที่ถามกลางการออกอากาศสดในวันดังกล่าว[56]
ชัชชาติเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ โดยเขาเข้าร่วมงานแถลงข่าวงานบางกอกนฤมิตไพรด์ ซึ่งเป็นงานพาเรดของกลุ่ม LGBTQ [57] รวมถึงได้เข้าร่วมขบวนดังกล่าวในวันจัดงาน[58] และยังกล่าวสนับสนุนให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งกายตามเพศวิถีอีกด้วย[59]
วันที่ 20 มิถุนายน เขาลงพื้นที่ติดตามการลอกท่อของกรมราชทัณฑ์ ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการ 530 กิโลเมตร ระยะเวลา 3 เดือน และยังมีแผนลอกท่อของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2565 อีก 2,800 กิโลเมตร เขายังเปิดเผยว่าได้ปรึกษากับ ศบค. เรื่องการขอยกเลิกมาตรการบังคับใส่หน้ากากอนามัยในพื้นที่โล่งในกรุงเทพมหานคร แต่ในเวลานั้น ศบค. ยังไม่อนุมัติ โดยอ้างว่าสัดส่วนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 ยังมีต่ำ[60] วันที่ 24 มิถุนายน เขาลงนามคำสั่งอนุญาตให้ผู้ชุมนุมใช้ 7 พื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ชุมนุมสาธารณะ[61] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เขาจัดกิจกรรมหนังกลางแปลง โดยระบุว่าเป็นการส่งเสริมศิลปะและเศรษฐกิจรากหญ้า[62]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ วิจารณ์การรับมืออุทกภัยในกรุงเทพมหานครของชัชชาติว่ายังประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เชื่อมั่นการทำงาน และยังไม่มีแผนรองรับแบบผู้บริหาร[63] ขณะที่นักวิชาการมองว่าจะโทษผู้บริหารกรุงเทพมหานครชุดปัจจุบันอย่างเดียวไม่ได้ เพราะวิธีการรับมืออุทกภัยก็ใช้แบบเดียวกันมาตั้งแต่ครั้ง พ.ศ. 2554 คือ "สู้กันดาบหน้า"[64] ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ระหว่างที่ชัชชาติไปตรวจพื้นที่น้ำท่วมย่านอุดมสุข เขาระบุว่าการก่อสร้างและซ่อมแซมอุโมงค์ระบายน้ำในบริเวณดังกล่าวใช้เวลานาน แต่จะทยอยเปิดใช้งานในส่วนที่ก่อสร้างเสร็จก่อน[65]
ภาพลักษณ์
[แก้]ในขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ชัชชาติมีภาพลักษณ์เป็นรัฐมนตรีติดดิน เช่น ซ้อนจักรยานยนต์รับจ้าง[67] โหนรถเมล์[68] นั่งรถสองแถว โดยสารรถไฟ ออกตรวจราชการในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงการลงพื้นที่เพื่อตรวจปัญหาด้วยตนเอง[69] หลายครั้งที่เขาไปตรวจงานตามองค์กรของรัฐโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า[40] ซึ่งเมื่อเขาได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ยังยึดแนวทางเช่นเดิม[70]
สำหรับในโลกออนไลน์ ความนิยมได้เริ่มขึ้นมาจากรูปภาพหนึ่งที่ชัชชาติเข้าไปทำบุญใส่บาตรภายในวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์[71] โดยมีลักษณะสวมเสื้อแขนกุด หิ้วถุงอาหาร และเดินด้วยเท้าเปล่า หลังจากภาพนี้ เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต มีผู้คนตัดต่อภาพล้อเลียน รวมถึงเลียนแบบท่าทางในรูปดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และได้รับการกล่าวขนานนามว่าเป็น "บุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" จนกระทั่งมีแอปพลิเคชันในโทรศัพท์เคลื่อนที่สำหรับชัชชาติโดยเฉพาะ[72] ซึ่งเมื่อชัชชาติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็มีเกมบนเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับตัวเขาเองด้วยเช่นกัน[73] สถานเอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทยยังเกาะกระแสดังกล่าว โดยโพสต์ภาพยอน ออสเตริม เกรินดาห์ล เอกอัครราชทูตฯ พันผ้าพันแผลที่มือหลังชนมือกับชัชชาติอีกด้วย[74]
ในช่วงการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 เขามีภาพลักษณ์ประนีประนอม ซึ่งทำให้ถูกวิจารณ์ว่าอาจแก้ไขปัญหาบางอย่างของกรุงเทพมหานครไม่ได้[75] ในการปราศรัยคืนวันเลือกตั้ง เขากล่าวตอนหนึ่งว่า "เมื่อไหร่ที่ประชาชนทะเลาะ เกลียด กลัวซึ่งกันและกัน สุดท้ายจะมีกลุ่มคนที่ได้ผลประโยชน์ คนเรานั้นเห็นต่างกันได้ ขออย่าสร้างความเกลียดชังซึ่งกันและกัน นี่คือบทเรียนสำคัญ"[76] เขายังกล่าวถึงข้าราชการกรุงเทพมหานครให้เร่งทำความเข้าใจนโยบายของตน[76] ทำให้มีข่าวว่าข้าราชการกรุงเทพมหานครหลายพื้นที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว[77][78]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ในงานระลึกการถูกลักพาตัวของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หนึ่งในเพื่อนของวันเฉลิมระบุว่าภาพถ่ายที่เป็นมีมอินเทอร์เน็ตของชัชชาตินั้น วันเฉลิมเป็นคนถ่าย[66] ต่อมามีภาพเขาปรากฏตัวที่ตลาด(นัด)ราษฎร ในย่านทองหล่อ ซึ่งกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุมร่วมงานด้วย ชัชชาติแนะนำให้พริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้ชุมนุมของกลุ่มราษฎร "ใจเย็น ๆ" และเรียนให้จบ พร้อมกับอุดหนุนสินค้าในงานอีกจำนวนหนึ่ง[79]
ในการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เขาถูกโจมตีเรื่องการถ่ายทอดสดผ่านสัญญาณต่อเนื่องขณะทำงาน และถูกกล่าวหาว่า "สร้างภาพ" แต่เขายืนยันว่าทำไปเพื่อให้เห็นการทำงานจริง หากไม่ชอบก็ไม่ต้องดู[80] ผู้สนับสนุนเขายังถูกตั้งคำถามว่าสนับสนุนชัชชาติทั้งที่ไม่มีผลงานหรือไม่[81]
ทรัพย์สิน
[แก้]ใน พ.ศ. 2558 ชัชชาติยื่นบัญชีทรัพย์สินจำนวน 72.30 ล้านบาทต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ[82] ครึ่งหนึ่งเป็นมูลค่าของที่ดินในเขตพระโขนง จำนวนสองแปลง ซึ่งจิตต์จรุง มารดาของเขา โอนกรรมสิทธิ์ให้ก่อนหน้านั้น[83]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[84]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[85]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". ไทยรัฐ. 31 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 1 June 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "เปิดประวัติการเมือง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร คนที่ 17". ประชาชาติธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มติชน. 17 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 30 July 2022.
- ↑ "เปิดประวัติการเมือง "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร คนที่ 17". ประชาชาติธุรกิจ. 1 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 4 June 2022.
- ↑ กรองกระแส / ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ บทบาท สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ทัพหลวง เพื่อไทย เก็บถาวร 2022-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มติชน. 5 มกราคม 2562
- ↑ "ชาวเน็ตยก"ชัชชาติ"รมต.ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี". posttoday.com. Post Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-10. สืบค้นเมื่อ 10 May 2022.
- ↑ isarin (2022-06-13). "ภรรยาชัชชาติ แอร์การบินไทย รักที่เรียบร้อย เรียบง่าย". ประชาชาติธุรกิจ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-14. สืบค้นเมื่อ 2022-06-16.
- ↑ "ชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม.หย่าภรรยามาแล้ว 5 ปี มีทรัพย์สินลดลง 31 ล้าน". ประชาชาติธุรกิจ. 11 August 2022. สืบค้นเมื่อ 20 August 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ผู้สมัครอิสระ ชูนโยบาย PDGE แก้ปัญหากทม". pptvhd36.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-21.
- ↑ "แชร์สนั่น! "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" พ่อผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี". posttoday.com. 2015-08-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-10. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ ""ชัชชาติ" คราบน้ำตานี้เพื่อลูก แรงผลักดันสู่ชัยชนะ สานนโยบายผู้พิการ". ไทยรัฐ. 23 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "คณะกรรมการบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-17. สืบค้นเมื่อ 2018-12-29.
- ↑ "ชัชชาติทำงานอะไรมาบ้าง (Career)". www.chadchart.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-03-31. สืบค้นเมื่อ 2024-03-31.
- ↑ "พระราชดํารัสของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่ "นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ในปี พ.ศ. 2529". ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว | LUEhistory.com. 2022-05-23.
- ↑ "ประวัติกรรมการ" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
- ↑ ""ชัชชาติ" ผงาดตัวจริงปูวางคุมเมกะโปรเจกต์". posttoday.com. 2012-10-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
- ↑ "จากนักวิชาการสู่รัฐมนตรี "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ขอพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน. มติชน. 23 กันยายน 2555". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2012-10-29.
- ↑ 20.0 20.1 ปรับแบบสถานีกลางบางซื่อรับไฮสปีดงบก่อสร้างเพิ่มไม่ควรเกินหมื่นล. เก็บถาวร 2020-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์. 26 สิงหาคม 2556.
- ↑ "ชัชชาติ" ชี้แจงปิดซ่อมทางรถไฟสายเหนือ 16 ก.ย.นี้-ถกร่าง2ล้านล้านสัปดาห์หน้า เก็บถาวร 2021-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ไทยพีบีเอส. 14 กันยายน 2556
- ↑ 'ชัชชาติ'สั่งข้าราชการซี9ขึ้นไปนั่งรถเมล์ เก็บถาวร 2021-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจ. 25 มิถุนายน 2556
- ↑ "กปปส.บุกบ้าน "เพ้ง-ชัชชาติ" บี้ลาออก รมต.รักษาการ". mgronline.com. 2014-05-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
- ↑ 24.0 24.1 "ชัชชาติ สร้างประวัติศาสตร์ คว้าคะแนนสูงสุดเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม". BBC News ไทย. 2022-05-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ 25.0 25.1 มติชนสุดสัปดาห์ (2022-06-07). "ย้อนอดีตการเมืองไทยผ่านปกมติชนสุดสัปดาห์ | ทำไมถึง? ชัชชาติ "คิด" อภิสิทธิ์ "ต้าน" ทหาร "ทำ"". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-12.
- ↑ "ชัชชาติ เตรียมยื่นลาออก 'กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์' จันทร์นี้ ชี้บกพร่องที่การสื่อสาร". THE STANDARD. 2017-10-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
- ↑ ""ชัชชาติ" ลาออกบริษัทอสังหาฯ". Thai PBS. 2018-12-29. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
- ↑ "เพื่อไทยเคาะ สุดารัตน์-ชัชชาติ-ชัยเกษม นั่งแคนดิเดตนายกฯ". THE STANDARD. 2019-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
- ↑ "เพื่อไทยร่วม 6 พรรค หนุน "ธนาธร" ชิงเก้าอี้นายกฯ". Thai PBS. 2019-06-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
- ↑ 30.0 30.1 วิศรุต สินพงศพร (2022-05-22). "LANDSLIDE วิเคราะห์ชัชชาติ ชนะถล่มทลาย". Workpoint Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ "ชัชชาติ ประกาศชิงผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ ยกเหตุผล "ประชาชนเบื่อความขัดแย้ง"". BBC News ไทย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-17. สืบค้นเมื่อ 2022-02-17.
- ↑ "ทักษิณ ชี้ ความทุกข์ยากจาก "ชัตดาวน์กรุงเทพฯ" ทำคนเทคะแนนชัชชาติ". BBC News ไทย. 2022-05-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-23. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
- ↑ "วัฒนา ซัด "ชัชชาติ"ทิ้งเพื่อไทย ปฏิเสธ ลงชิงผู้ว่าฯกทม". BBC News ไทย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-10. สืบค้นเมื่อ 2022-06-18.
- ↑ matichon (2021-12-14). "เปิดฉากศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ VS เอ้ โชว์นโยบาย". มติชนออนไลน์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-16. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "ทริปสุดท้ายก่อนลาการเมืองของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์". BBC News ไทย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ ""ชัชชาติ"เปิดนโยบาย "9ดี" สู้ศึกผู้ว่าฯกทม". posttoday.com. 2022-02-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ "ปักธง Creative Economy ชัชชาติ ปั้นกรุงเทพฯ เทียบ ซิลิคอนวัลเลย์". ประชาชาติธุรกิจ. 25 April 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 7 June 2022.
- ↑ "เปิดหมายเลขผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. "วิโรจน์" คว้าเบอร์ 1 "เอ้ " เบอร์ 4 "อัศวิน" เบอร์ 6 "รสนา" เบอร์ 7 "ชัชชาติ" ได้เบอร์ 8". mgronline.com. 2022-03-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ มติชนสุดสัปดาห์ (2022-03-31). ""ชัชชาติ" ชู 4 แนวทาง หาเสียงแบบรักเมือง ลด-หมุนเวียน-ใช้ใหม่ เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ 40.0 40.1 "15 ข้อน่ารู้ เกี่ยวกับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่". ข่าวสด. 23 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
- ↑ "Chadchart Sittipunt wins landslide victory in Bangkok governor election: Unofficial results". CNA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
- ↑ kaset (2021-12-19). "ชัชชาติ เปิดตัว "พิจิตต" ร่วมทีม ผลสำรวจดุสิตโพลนำห่าง "สุชัชวีร์"". ประชาชาติธุรกิจ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-19. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ ""ชัชชาติ" หาเสียงดอนเมือง เดินหน้าลดมลพิษ-แก้การจราจร". Thai PBS. 2022-04-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
- ↑ matichon (2022-05-20). "คนแน่น! ชัชชาติ หาเสียงกลางเมือง ลั่นพร้อมเป็น 'ผู้ว่าฯของทุกคน' สัญญาไม่ทำให้ผิดหวัง". มติชนออนไลน์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ "โค้งสุดท้าย! 'ชัชชาติ' ลุยหาเสียงดาวกระจาย พร้อมเปิดตัว '4 รองผู้ว่าฯ'". เดลินิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-20. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
- ↑ "ภารกิจแรก 'ชัชชาติ' ชนหมัด 'วิโรจน์' ล่องเรือสำรวจคลองลาดพร้าว แก้ปัญหาน้ำท่วม". มติชนออนไลน์. 23 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" ปัดตั้ง "วิโรจน์" นั่งทีมบริหาร กทม.ลั่นยังไปได้อีกไกล". กรุงเทพธุรกิจ. 23 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
- ↑ "'ชัชชาติ' ยันไม่ใช้อารมณ์ สางปมสายสีเขียว ชี้ ต่อสัญญาเลี่ยง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไม่ตรงหลักการ". มติชนออนไลน์. 24 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-25. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
- ↑ matichon (2022-05-28). "จับตา 30 พ.ค. กกต.ถกรับรองผู้ว่าฯกทม.-ส.ก. พบ 'ชัชชาติ' ถูกร้องเรียน 2 เรื่อง". มติชนออนไลน์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-29. สืบค้นเมื่อ 2022-05-29.
- ↑ "ด่วน! กกต.ประกาศรับรอง 'ชัชชาติ' เป็นผู้ว่าฯกทม.แล้ว". มติชนออนไลน์. 31 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 31 May 2022.
- ↑ "เลขาธิการ กกต. แจงทำหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่ใช่ "ทำตามความต้องการของผู้ใด"". BBC News ไทย. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
- ↑ ""ชัชชาติ" เข้าศาลาว่าการครั้งแรก บอกทุกคนอย่าเรียก "นาย" เพราะตนคือเพื่อนของทุกคน". www.sanook.com/news. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
- ↑ angsumalin (2022-06-01). "ชัชชาติ เปิดตัวทีมงาน 4 รองผู้ว่า 9 ที่ปรึกษา ภิมุข สิมะโรจน์ นั่งเลขานุการ". ประชาชาติธุรกิจ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 2022-06-01.
- ↑ ""ชัชชาติ" ไม่ห่วงเรื่องงบฯ กทม.ปี 65 เหลือ 94 ล้านบาท ชูทำโครงการเน้นประสิทธิภาพ". กรุงเทพธุรกิจ. 1 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 1 June 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" อึ้ง! ผอ.สำนักระบายน้ำบอก งบปี 65 ลอกคลองได้แค่ 2 จาก 1,980 คลอง". ผู้จัดการออนไลน์. 4 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-04. สืบค้นเมื่อ 4 June 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" ยอมรับ "ผมมีส่วนผิดที่ไปถามกลางไลฟ์" ขุดลอก 2 คลองกทม. ยืนยันไม่ใช่เรื่องดรามา". mgronline.com. 2022-06-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-06-08.
- ↑ "เปิดตัว บางกอกนฤมิตไพรด์ 'ชัชชาติ' ร่วมงานด้วย | The Active". theactive.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.
- ↑ "'ชัชชาติ' ร่วมเดินขบวนไพรด์พาเหรด ครั้งแรกใน กทม. ยอมรับความแตกต่าง แต่ไม่แตกแยก". 2022-06-05. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2022-06-05.
- ↑ "ชัชชาติสนับสนุนให้ข้าราชการแต่งกายตามเพศวิถี". Urban Creature (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-06-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.
- ↑ รื่นกลิ่น, พิเชษฐ์. "'ชัชชาติ' ลุยแล้ว! ติดตามการลอกท่อของกรมราชทัณฑ์ใกล้ตลาดห้วยขวาง". เดลินิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-22. สืบค้นเมื่อ 21 June 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" เซ็นแล้ว! ลงนามประกาศ กทม.เปิด 7 สถานที่ ไฟเขียวชุมนุมได้". กรุงเทพธุรกิจ. 24 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-24. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" ยัน จัดหนังกลางแปลง กทม.ไม่ได้ใช้งบฯ ช่วยเศรษฐกิจเส้นเลือดฝอย". ไทยรัฐ. 10 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-11. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "'ชูวิทย์' เปิด 5 ข้อสังเกตประเมินผู้ว่าฯ ชัชชาติ แก้ปัญหาน้ำท่วม กทม". workpointTODAY. สืบค้นเมื่อ 12 September 2022.
- ↑ "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ผู้ว่าฯ กทม. ทำอะไรบ้าง ในช่วงกรุงเทพฯ เผชิญฝนตกหนัก-น้ำท่วม". BBC News ไทย. 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ matichon (2023-02-15). "'ชัชชาติ' ลุยตรวจน้ำท่วมย่านอุดมสุข ยอมรับยาก 'ซ่อมอุโมงค์บึงหนองบอน' ต้องใช้เวลาหลายปี". มติชนออนไลน์.
- ↑ 66.0 66.1 "เพื่อนเฉลย 'วันเฉลิม' ถ่ายรูปชัชชาติในตำนาน แอมเนสตี้จี้ผ่าน พ.ร.บ.อุ้มหาย-เร่งสอบสวน". มติชนออนไลน์. 2022-06-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-04. สืบค้นเมื่อ 2022-06-04.
- ↑ "ชาวเน็ตแห่แชร์ 'ชัชชาติ' นั่งวิน จยย.ไปทำงาน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-02-05.
- ↑ "'ชัชชาติ'นั่งรถเมล์ แจงปัญหาสารพัด". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2017-10-01.
- ↑ "ชัชชาติ ไปดูกับตา! ไม้กั้นทางรถไฟผีสิง เสียงดังข้ามคืน". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-02-05.
- ↑ "ชัชชาติเล็งย้ายที่ทำงาน "กทม. 2 ดินแดง" - อัพเกรดเสาชิงช้า ฮับเดินทางเมืองกรุง". ประชาชาติธุรกิจ. 2022-05-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-27.
- ↑ "เมื่อ"ชัชชาติ" เริ่มไม่ตลก กับ "ความแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี"". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-02. สืบค้นเมื่อ 2022-03-02.
- ↑ ""ชัชชาติ" Go Viral!! เมื่อรัฐมนตรีกลายเป็น "เน็ตไอดอล"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-08. สืบค้นเมื่อ 2014-02-03.
- ↑ "แก้รถติดแบบแข็งแกร่งที่สุดในปฐพี แนะนำเกมเล่นเป็นชัชชาติ แก้รถติดด้วยการกระดิกเท้า | Blognone". www.blognone.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-18. สืบค้นเมื่อ 2022-05-18.
- ↑ "ทูตสวีเดน อัปเดต หลังชนหมัด 'ชัชชาติ' พร้อมแฮชแท็ก #ทูตที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี". มติชนออนไลน์. 23 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-26. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ "ก้าวไกล แซะ "ชัชชาติ" ประนีประนอมสวนทางแก้ปัญหากรุง ต้องพุ่งชน ร้อง กกต.ป้ายถูกทำลาย". ผู้จัดการออนไลน์. 17 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-01. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ 76.0 76.1 "'ชัชชาติ' ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม". ประชาไท. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ "เขตหลักสี่เปิดก่อน เรียกประชุมบุคลากร พร้อมลุย 214 นโยบาย 'ชัชชาติ'". มติชนออนไลน์. 25 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-26. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ "ผอ.เขตบางขุนเทียน เด้งรับนโยบายชัชชาติ ทะลวงเส้นเลือดฝอยขวางทางระบายน้ำ". มติชนออนไลน์. 29 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-26. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ "'ชัชชาติ' แวะช้อปตลาดราษฎร ตบไหล่กวิ้น 'ใจเย็นๆ นะ' แนะเรียนให้จบ". มติชนออนไลน์. 25 June 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-26. สืบค้นเมื่อ 26 June 2022.
- ↑ ""ชัชชาติ" ซัดกลับปมดีแต่ไลฟ์ ชี้ใครไม่ชอบไม่ต้องดู". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ "งง ตรรกะ 'ถ้าผู้นำทำไม่ได้ ก็ให้ลาออกไป' พอเป็น 'ชัชชาติ' กลับเปลี่ยนเป็นความเห็นใจ". ไทยโพสต์. 7 September 2022. สืบค้นเมื่อ 18 September 2022.
- ↑ "เปิดทรัพย์สินผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. 'เอ้ - ชัชชาติ' อู้ฟู่ เผยหลายคนไม่มีข้อมูล". เดลินิวส์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-23. สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
- ↑ isranews (2015-07-18). "แกะรอย 2 โฉนด"แม่"55 ล.ก่อนโอนให้"ชัชชาติ"ทรัพย์สินรวมพุ่ง 106 ล." สำนักข่าวอิศรา. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-27.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๒, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อัศวิน ขวัญเมือง | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในตำแหน่ง | ||
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 60) (27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- สกุลกุลละวณิชย์
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย
- วิศวกรชาวไทย
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย
- ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- อินเทอร์เน็ตมีม
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.