ชนะ ศรีอุบล
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ชนะ ศรีอุบล | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | ชนะ ศรีอุบล |
เกิด | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 (63 ปี) |
คู่สมรส | ซิลเวีย ศรีอุบล |
บุตร | ชนาวุธ ศรีอุบล |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2494–2531 |
ผลงานเด่น | ส่างหม่อง - ชั่วฟ้าดินสลาย (2498) อาเดียว - สลักจิต (2504) จาเลงกะโบ - ผู้ชนะสิบทิศ (2509–2510) สมิง - สอยดาว สาวเดือน (2512) แงซาย - เพชรพระอุมา (2514) |
ชนะ ศรีอุบล (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) ชื่อเล่น จิ๋ว เป็นนักแสดงชาวไทย หนึ่งในพระเอกยุคแรก ๆ ของวงการภาพยนตร์ไทย ก่อนเข้าวงการเคยได้รับตำแหน่งแชมป์ชายงามรุ่นใหญ่ภาคเหนือที่เชียงใหม่ ถึง 3 รางวัล ได้ชื่อว่าเป็นคนมีศักดิ์ศรีลูกผู้ชาย เป็นคนประหยัด อดออม รอบคอบ รับผิดชอบต่อครอบครัว และสร้างฐานะจนดำเนินชีวิตได้อย่างสุขสบายไม่เดือดร้อน
ประวัติ
[แก้]ชนะ ศรีอุบล ชื่อเล่น จิ๋ว เกิดที่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ส่วนสูง 175 ซ.ม. หนัก 68 ก.ก. เป็นน้องคนที่ 8 ในพี่น้อง 9 คน และ"เป็นพี่ชายแท้ๆของ แขไข สุริยา อดีตนางเอกภาพยนตร์ไทย" เรียนจบ ม.6 จาก โรงเรียนปทุมคงคา แล้วไปต่อชั้นเตรียมอุดมศึกษาที่ โรงเรียนสีตบุตรบำรุง จนจบ ม.8
ชนะก็เหมือนชายหนุ่มอีกหลายคนในยุคนั้นที่ชอบเพาะกาย เขาได้มีโอกาสเข้าประกวดชายงามที่เชียงใหม่และคว้าถ้วยชนะเลิศมาได้ถึง 3 รางวัลคือ ชายงามชนะเลิศ และยังได้รางวัลแขนงาม และหลังงามไปครองอีกด้วย
ทำงานครั้งแรกที่บริษัท จี่เซ้ง จำกัด ผู้แทนจำหน่ายยาสีฟัน “ไอปานา” โดยมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา
ทำงานได้ปีกว่า ๆ ก็ถูกชักชวนโดย เฉลิม บุณยเกียรติ ซึ่งเป็นพี่เขย และยังเป็นโต้โผละครคณะ “แม่เลื่อน” ให้ไปเล่นหนังเรื่อง “ลูกเครือฟ้า” ของสุเทพภาพยนตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2494 ด้วยความที่มีใจรักในการแสดงอยู่แล้ว เลยลาออกจากงานมาเล่นหนังแทน
นอกจากกล้ามแกร่งมาดแมนแล้ว หน้าตายังคมคายและดูอ่อนหวานเป็นสุภาพบุรุษ เช่นเดียวกับนิสัยใจคอของเขาอันเป็นที่รักของเพื่อนฝูง แม้จะเจ้าระเบียบแต่ทำให้การทำงานของเขาตรงเวลาสม่ำเสมอ เมื่อว่างเว้นจากงานแสดง เขายังทำงานประกันชีวิต หรือเข้าป่า - ยิงปืน รวมทั้งตั้งเป้าที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศอีกด้วย
ชนะมีงานแสดงคู่กับ อมรา อัศวนนท์ มากที่สุด แต่ภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย (2498) ซึ่งเขานำแสดงคู่กับ งามตา ศุภพงศ์ ทำให้เขาเป็นที่จดจำมากกว่า ชีวิตส่วนตัวเคยพบรักกับนักร้องดัง รวงทอง ทองลั่นทม แต่ก็ไม่ได้ร่วมภิรมย์ชมชื่นเป็นคู่สม ต่างฝ่ายต่างพบรักใหม่และมีครอบครัวกันไป
รับบทเด่นที่ยังประทับใจผู้ชมหลายเรื่อง เช่น อาเดียว ใน สลักจิต คู่ รสริน วิลาวัลย์ (2504) ,จาเลงกะโบ นายกองช้างแห่งทัพตองอูของพุกามประเทศ ใน ผู้ชนะสิบทิศ ประชัน ไชยา สุริยัน-พิศมัย วิไลศักดิ์ (2509-2510) ,แงซาย พรานป่าแดนลี้ลับ ใน เพชรพระอุมา พบกับ รพินทร์ ไพรวัลย์ -สุทิศา พัฒนุช (2514)
ตอนที่ชนะแสดง “ชั่วฟ้าดินสลาย” นั้น เขาสร้างสถิติเป็นดาราที่ได้ค่าตัวมากที่สุด ในจำนวนดาราด้วยกันในขณะนั้น คือ 1 หมื่นบาท (ยุคนั้นค่าตัวเต็มที่ไม่เกิน 7 หรือ 8 พันบาท) เขาเล่าว่า นำเงินค่าตัวก้อนนั้นไปซื้อรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อ BMW ซึ่งยุคนั้นใครมีนับว่าโก้มาก [1] หนังเรื่องนี้ส่งให้เขาดังสุดขีด จนได้รับการขนานนามเป็น “ร็อค ฮัดสัน เมืองไทย”
นอกจากนี้ยังเคยแสดงนำคู่ เพชรา เชาวราษฎร์ ใน สิงห์ซ่อนเล็บ , ประกบ มิตร ชัยบัญชา ใน ชุมทางเขาชุมทอง กับ สิงห์หนุ่ม และพบ 3 ดาราดังรุ่นน้อง สมบัติ เมทะนี-อรัญญา นามวงศ์-ครรชิต ขวัญประชา ใน ศึก 5 เสือ เป็นต้น
ผลงานยุคหลังมี พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2515), แรงรัก (2516), สาวสิบเจ็ด (2517), กระดังงากลีบทอง (2519) รวมถึงผลงานด้านละครโทรทัศน์ที่ฝากฝีมือไว้เป็นที่ชื่นชมของแฟน ๆ จาก คู่กรรม ฯลฯ
เป็นพระเอกเดี่ยวที่โด่งดังมากในช่วงแรก ๆ ที่เล่นหนัง คือ ปี 2498-2504 ไม่ค่อยรับบทผู้ร้าย หรือตัวประกอบที่ไร้ความหมาย ถือว่าเป็นดาราชายที่พยายามรักษาศักดิ์ศรีภาพความเป็นพระเอกไว้ได้อย่างเหนียวแน่นคนหนึ่ง รับแสดงหนังแบบพิถีพิถัน น่านับถือและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักแสดงรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง[2]
ชนะ ศรีอุบล เป็นพระเอกที่เล่นหนังไม่กี่เรื่อง แต่ทุกเรื่องกลายเป็นตำนาน เข้าขั้นคลาสสิค ขึ้นหิ้ง ให้พูดถึงจนปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ลูกเครื่อฟ้า ชั่วฟ้าดินสลาย โรงแรมนรก เสือสั่งถ้ำ กัลปังหา บ้านทรายทองฯ และเป็นพระเอกที่รูปร่างสมส่วน สมชายชาตรี มีมัดกล้ามที่สวยงามและยิ้มพิมพ์ใจที่สุดในยุคนั้น
ชนะมีทายาทคือ ชนาวุธ ศรีอุบล เคยเป็นดาราและอยู่ในวงการบันเทิงเช่นกัน[3][4]
ผลงาน
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- ลูกเครือฟ้า (2494)
- แม่ศรีเรือน (2497)
- ลูกเครือฟ้า (2498)
- ชั่วฟ้าดินสลาย (2498)
- จันทร์เจ้าขา (2499)
- บ้านทรายทอง (2499)
- รักริษยา (2500)
- โรงแรมนรก (2500)
- ยอดพิศวาส (2500)
- ก่อนอรุณจะรุ่ง (2500)
- ม่วยในฝัน (2501)
- การะเกด (2501)
- ไกรทอง (2501)
- กล่อมกากี (2502)
- กุหลาบแสนสวย (2502)
- คนองปืน (2502)
- แม่ (2502)
- เลือดทาแผ่นดิน (2502)
- หนึ่งน้องนางเดียว (2502)
- สองฝั่งฟ้า (2503)
- บางปะกง (2504)
- เยี่ยมวิมานรัก (2504)
- สลักจิต (2504)
- สามเสือ (2504)
- ค่าแห่งความรัก (2504)
- กัลปังหา (2505)
- จอมใจเวียงฟ้า (2505)
- ดอกหญ้า (2505)
- ตะวันยอแสง (2505)
- วัยรุ่นวัยคนอง (2505)
- คมพยาบาท (2506)
- แรงรัก (2506)
- มัตติกา (2506)
- เสือเก่า (2506)
- ใจเพชร (2506)
- นางกระต่ายป่า (2506)
- ใจเดียว (2506)
- เขี้ยวพิษ (2506)
- ในฝูงหงส์ (2506)
- บ้านนอกเข้ากรุง (2506)
- พรายดำ (2507)
- หัวใจเถื่อน (2507)
- จ้าวพยัคฆ์ (2507)
- เสือไม่ทิ้งลาย (2507)
- พนาสวรรค์ (2507)
- ราชสีห์กรุง (2507)
- เลือดข้น (2507)
- สันดานดิบ (2508)
- 5 พยัคฆ์ร้าย (2508)
- ชบาไพร (2508)
- ชาติเจ้าพระยา (2508)
- ชุมทางเขาชุมทอง (2508)
- น้ำเพชร (2508)
- หมอกสวาท (2508)
- พิการรัก (2509)
- กระเบนธง (2509)
- ปีศาจดำ (2509)
- เพชรสีเลือด (2509)
- เสือสั่งถ้ำ (2509)
- ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ยอดขุนพล (2509)
- น้ำฝน (2510)
- ใกล้รุ่ง (2510)
- นักเลงสี่แคว (2510)
- โนรี (2510)
- ผู้ชนะสิบทิศ ตอน บุเรงนองลั่นกลองรบ (2510)
- ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ถล่มหงสาวดี (2510)
- สิงห์หนุ่ม (2510)
- เหนือเกล้า (2510)
- คุณหนู (2511)
- ระฆังผี (2511)
- ป้อมปืนตาพระยา (2511)
- สิงห์ล้างสิงห์ (2511)
- สันกำแพง (2511)
- เพชรตะวัน (2511)
- ยอดชีวิต (2511)
- เหนือน้ำใจ (2511)
- ขุนตาล (2512)
- ยอดคนจริง (2512)
- ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512)
- นางละคร (2512)
- ต้อยติ่ง (2512)
- สอยดาวสาวเดือน (2512)
- ไทยน้อย (2512)
- กินรี (2512)
- กายทิพย์ (2513)
- สิงห์สาวเสือ (2513)
- ทโมนไพร (2514)
- เพชรพระอุมา (2514)
- ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
- กระท่อมปรีดา (2515)
- แควเสือ (2515)
- พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ (2515)
- วังบัวบาน (2515)
- ยอดหญิง (2515)
- มนต์กากี (2515)
- สายชล (2516)
- แรงรัก (2516)
- เวียงพยอม (2516)
- ทางสายใหม่ (2516)
- หนึ่งในดวงใจ (2516)
- ทิวาหวาม (2517)
- พยานบาป (2517)
- บุษบาขายรัก (2517)
- สาวสิบเจ็ด (2517)
- ผาอาบนาง (2517)
- โรงแรมผี (2518)
- เทพบุตร (2518)
- แม่สาย (2518)
- กระดังงากลีบทอง (2519)
- ขอเพียงรัก (2519)
- เสือ 4 แคว (2519)
- เพลิงแพร (2519)
- เพลิงทรนง (2519)
- แม่ปลาช่อน (2519)
- ป่าแสนสวย (2519)
- รักไม่รู้ลืม (2520)
- ศึก 5 เสือ (2520)
- โตเมืองใต้ (2520)
- ขอเช็ดน้ำตาให้ตัวเอง (2521)
- เลือดในดิน (2521)
- ใจเดียว (2525)
- สองพี่น้อง (2528)
- 2482 นักโทษประหาร (2531)
ละครโทรทัศน์
[แก้]- นิทรา สายัณห์ ช่อง 4
- สาวเครือฟ้า (2514) ช่อง 5
- คู่กรรม (2515) ช่อง 4
- เครือณรงค์ (2516) ช่อง 5
- เหมือนคนละฟากฟ้า (2517) ช่อง 3
- ปะการังสีดำ (2520) ช่อง 3
- ทิวาหวาม (2521) ช่อง 5
- น้ำเซาะทราย (2522) ช่อง 5
- เมฆินทร์พิฆาต (2529) ช่อง 3
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชีวประวัติ ชนะ ศรีอุบล
- ↑ อดีตพระเอกหนังไทยในอดีตเมื่อ 87 ปีที่แล้ว “ชนะ ศรีอุบล”
- ↑ "ข้อมูลบุตรชายของชนะ ศรีอุบล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-04.
- ↑ "ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-04.
- กระทู้จาก thaifilm.com เก็บถาวร 2011-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน