จ็อก
ในสหรัฐ และแคนาดา จ็อก (อังกฤษ: Jock) คือการเหมารวมของนักกีฬา หรือบุคคลที่มีความสนใจทางด้านกีฬา หรือวัฒนธรรมกีฬา และไม่ได้สนใจเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านวิชาการ[1][2] โดยส่วนหนึ่งคำว่าจ็อก อาจจะสามารถเป็นคำนิยามของนักกีฬา[3] ซึ่งจ็อกมักจะเป็นภาพแทนของผู้ชายที่เป็นผู้เล่นในกีฬาประเภททีม อาทิ อเมริกันฟุตบอล, ฟุตบอล, บาสเกตบอล, เบสบอล, ลาครอส, ว่ายน้ำ หรือฮอกกี้น้ำแข็ง
คำนิยามที่คล้ายกันที่มีความหมายเดียวกับคำว่าจ็อก ที่ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือมีทั้ง มีตเฮด (อังกฤษ: Meathead), มัสเซิลเบรน (อังกฤษ: Musclebrain) และมัสเซิลเฮด (อังกฤษ: Musclehead)[4] คำเหล่านี้คือการเหมารวมว่าจ็อกคือบุคคลที่มีรูปร่างกำยำแต่ไม่ฉลาด และไม่สามารถเข้าร่วมวงสนทนาในประเด็นอื่นได้นอกจากหัวข้อที่เกี่ยวกับกีฬา และการออกกำลังกาย
ต้นกำเนิด
[แก้]นิยามคำว่า "จ็อก" ที่หมายถึงนักกีฬาผู้ชายได้ถูกปรากฏออกมาตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ. 1963[2] โดยเชื่อกันว่าคำดังกล่าวเป็นที่มาของคำว่า "จ็อกสแตรป" ซึ่งหมายถึงชุดชั้นในชายที่สามารถดูแลและป้องกันอวัยวะเพศชายในระหว่างเล่นกีฬา[5]
ลักษณะ
[แก้]ลักษณะของบุคคลที่มีบุคลิกความเป็นจ็อกมีดังนี้
- ก้าวร้าว, หยิ่ง, ใจแคบ, ไม่ฉลาด, เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง, มีอารมณ์ขุ่นเคืองง่าย และมักอารมณ์ไม่ดี[4]
- มีร่างกายกำยำ, สูง และแข็งแรง[4]
- หยาบคาย
- มักจะไม่ร้องไห้ หรือแสดงความเปราะบางหรือความกลัว[6]
- มีความกลัวที่จะกอดหรือจับมือเพื่อนเป็นระยะเวลานาน[6] เพื่อแสดงความเป็นชาย
- มักจะมีส่วนร่วมในการข่มเหงรังแกกับผู้ที่ไม่มีความสามารถทางด้านกีฬา หรือข่มเหงรังแกผู้อื่นเพื่อแสดงอำนาจ
- มักจะมีอภิสิทธิ์เหนือว่าผู้อื่น อาทิ ได้ผลคะแนนที่ไม่ควรจะได้ หรือได้รับการปกป้องจากฝ่ายปกครองของโรงเรียน เพื่อที่จะรักษาสิทธิ์ของเขาในการเล่นกีฬา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jock: definition of Jock in Oxford dictionary (American English) (US)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2012. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ 2.0 2.1 "Online Etymology Dictionary on Jock". Etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ "Princeton's WordNet entry on Jock". Wordnetweb.princeton.edu. สืบค้นเมื่อ 1 February 2011.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Jocks as a Youth Subculture" (PDF). Center for Mental Health in Schools, School Mental Health Project, Department of Psychology, UCLA, Los Angeles. สืบค้นเมื่อ July 16, 2016.
- ↑ Mattiello, Elisa (2008). An Introduction to English Slang. ISBN 9788876991134. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ 6.0 6.1 Anderson, Eric (2014). 21st century jocks : sporting men and contemporary heterosexuality. Houndmills, Basingstoke, Hampshire: Palgrave Macmillan. ISBN 9781137550668.