ข้ามไปเนื้อหา

จูอี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จูอี้ (จู อี้)
朱異
ขุนพลพิทักษ์ภาคใต้
(鎮南將軍 เจิ้นหนานเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 252 (252) – 26 กันยายน ค.ศ. 257 (257)
กษัตริย์ซุนเหลียง
ขุนพลเชิดชูยุทธ (揚武將軍 หยางอู่เจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 252 (252)
กษัตริย์ซุนกวน
ขุนพลรอง (偏將軍 เพียนเจียงจฺวิน)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 241 (241) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์ซุนกวน
นายกองทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย์)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 237 (237) – ค.ศ. 241 (241)
กษัตริย์ซุนกวน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครซูโจว มณฑลเจียงซู
เสียชีวิต26 กันยายน ค.ศ. 257[a]
นครเฉาหู มณฑลอานฮุย
บุพการี
อาชีพขุนพล
ชื่อรองจี้เหวิน (季文)

จูอี้ (เสียชีวิต 26 กันยายน ค.ศ. 257[1]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จู อี้ (จีน: 朱異; พินอิน: Zhū Yì) ชื่อรอง จี้เหวิน (จีน: 季文; พินอิน: Jìwén) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ

[แก้]

จูอี้เป็นบุตรชายของจูหวน ขุนพลง่อก๊กผู้เป็นชาวอำเภออู๋ (吳縣 อู๋เซี่ยน) เมืองง่อกุ๋น (吳郡 อู๋จฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในนครซูโจว มณฑลเจียงซู จูอี้ได้รับการแต่งตั้งทางทหารครั้งแรกในตำแหน่งนายกองทหารม้า (騎都尉 ฉีตูเว่ย์) หลังการเสียชีวิตของบิดาในปี ค.ศ. 238[2] การปฏิบัติงานในสนามรบครั้งแรกคือปี ค.ศ. 241 เมื่อจูอี้ติดตามจูเหียนในการโจมตีป้อมปราการของรัฐวุยก๊กที่อ้วนเสีย (樊城 ฝานเฉิง) ชัยชนะเหนือบุนขิมขุนพลของวุยก๊กทำให้จูอี้มีชื่อเสียงในฐานะแม่ทัพผู้มีความสามารถ จูอี้นำนำกำลังพล 2,000 นายด้วยตนเองเข้าทำลายค่ายของบุนขิมทั้งเจ็ดแห่ง ตัดศีรษะทหารวุยก๊กได้หลายร้อยนาย จึงทำให้จูอี้ได้เลื่อนยศเป็นขุนพลรอง (偏將軍 เพียนเจียงจฺวิน) ซุนกวนจักรพรรดิแห่งง่อก๊กตรัสในภายหลังว่าจูอี้กล้าหาญและแข็งแกร่งกว่าที่พระองค์ทรงเคยได้ยินมา[3]

ในปี ค.ศ. 252 จูอี้หยุดยั้งการบุกของวุยก๊กโดยนำทัพเรือเข้าโจมตีและทำลายสะพานลอยน้ำที่สร้างขึ้นโดยอ้าวจุ๋นและจูกัดเอี๋ยนขุนพลของวุยก๊กเพื่อพยายามข้ามแม่น้ำแยงซีเข้าไปในอาณาเขตของง่อก๊ก[4]

ในปี ค.ศ. 257 เมื่อจูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กเริ่มก่อกบฏต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก ซุนหลิมผู้สำเร็จราชการแห่งง่อก๊กส่งกำลังทหาร 30,000 นายไปสนับสนุนจูกัดเอี๋ยนในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว นครลู่อาน มณฑลอานฮุย) และส่งกำลังทหารอีก 30,000 นายนำโดยจูอี้ไปยังอำเภอทางใต้ของฉิวฉุนเพื่อทำหน้าที่เป็นแนวหลัง จิวท่าย (州泰 โจว ไท่) ขุนพลวุยก๊กเอาชนะกองกำลังของจูอี้ ทหารของจูอี้ตายไป 2,000 นาย ซุนหลิมจึงสั่งทหารอีก 50,000 นายให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจูอี้และเข้าโจมตีทัพวุยก๊ก จูอี้ให้กองลำเลียงและกำลังทหารส่วนใหญ่ประจำอยู่ที่ตูลู่ (都陸) ตัวจูอี้ข้ามแม่น้ำโดยผ่านสะพานลอยน้ำในเวลากลางคืนพร้อมนักรบกล้า 6,000 นาย แต่จิวท่ายและโจเป๋า (石苞 ฉือ เปา) เห็นกำลังทหารของจูอี้ยกมาจึงยกพลเข้าโจมตีและเอาชนะได้ จูอี้รวมกำลังทหารที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันใหม่แต่ถูกตีจนล่าถอยไปอีก ภายหลังเฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย) นำทหาร 5,000 นายลอบเข้าโจมตีกองลำเลียงของจูอี้และเผาเสบียงอาหารจนสิ้น

ซุนหลิมส่งทหารอีก 30,000 นายไปให้จูอี้และสั่งให้สู้ตายกับทัพวุยก๊ก แต่จูอี้ไม่เต็มจะต่อสู้โดยไม่มีเสบียงอาหาร ซุนหลิมโกรธมากจึงสั่งให้ประหารชีวิตจูอี้ที่ฮั่วหลี่ (鑊裡; อยู่ในนครเฉาหู มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน)[5][1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. บทชีวประวัติซุนเหลียงในสามก๊กจี่ระบุว่าซุนหลิมสั่งประหารชีวิตจูอี้ในวันจี่ซื่อ (己巳) ของเดือน 9 ในศักราชไท่ผิง (太平) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของซุนเหลียง[1] วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 257 ในปฏิทินกริกอเรียน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 (朱異以軍士乏食引還,綝大怒,[太平二年]九月朔己巳,殺異於鑊里。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 48.
  2. สามก๊กจี่ เล่มที่ 56.
  3. สามก๊กจี่ เล่มที่ 56.
  4. สามก๊กจี่ เล่มที่ 56.
  5. สามก๊กจี่ เล่มที่ 64.

บรรณานุกรม

[แก้]