จิตภาพแบบปู
จิตภาพแบบปู หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีปู[1][2][3][4][5] จิตภาพแบบปูในถัง (ตะกร้า หรือ หม้อ) และ ปรากฏการณ์ปู-ถัง[6] คือวิธีคิดแบบหนึ่งซึ่งอธิบายได้ดีที่สุดด้วยวลี "ถ้าฉันไม่ได้ แกก็ต้องไม่ได้"[7] ภาพพจน์ดังกล่าวได้มาจากการสังเกตรูปแบบพฤติกรรมของปูเมื่อถูกขังในถัง ในขณะที่ปูตัวใดตัวหนึ่งสามารถปีนหนีออกจากถังได้อย่างง่ายดาย[8] ความพยายามของมันจะถูกปูตัวอื่น ๆ ขัดขวาง นำไปสู่จุดจบของปูทั้งถัง[9][10]
มีการกล่าวอ้างว่าภาวะที่คล้ายกันในพฤติกรรมมนุษย์คือการที่สมาชิกของกลุ่มกลุ่มหนึ่งจะพยายามบั่นทอนความมั่นใจในตนเองของสมาชิกคนใดก็ตามที่ประสบความสำเร็จเหนือกว่าคนอื่น ๆ เพื่อฉุดรั้งความก้าวหน้าของสมาชิกคนนั้น ด้วยความริษยา ความขุ่นเคือง ความอาฆาต การคบคิด หรือความรู้สึกแข่งขัน[11][12][13][14]
ผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
[แก้]จิตภาพแบบปูมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรเมื่อมนุษย์แสดงพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปูโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในทีมทางสังคม[15] ผลกระทบของจิตภาพแบบปูต่อประสิทธิภาพการทำงานได้รับการพรรณนาเชิงปริมาณในงานวิจัยฉบับหนึ่งจากนิวซีแลนด์ใน พ.ศ. 2558 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลการสอบเฉลี่ยของนักเรียนดีขึ้นถึงร้อยละ 18 เมื่อมีการเผยแพร่อันดับผลการเรียนในลักษณะที่ป้องกันไม่ให้นักเรียนแต่ละคนรู้อันดับของนักเรียนคนอื่น[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Deaf Enterprise - Crab Theory". www.deafenterprise.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
- ↑ Mae Lentz, Ella (2006). "The Crab Theory Revisited". สืบค้นเมื่อ November 4, 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Henry, Elizabeth. "LibGuides: FAQ: Crab Theory: Home". libguides.gallaudet.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
- ↑ "Aversion to the invention of new signs in American Sign Language (ASL)". www.lifeprint.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-04.
- ↑ Adams, Frank Patrick (December 2019). DOES THE CRAB THEORY HOLD WATER? INVESTIGATING INTRAGROUP DISCRIMINATORY ATTITUDES WITHIN THE DEAF COMMUNITY (PDF) (PhD) (ภาษาอังกฤษ). Gallaudet University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2020-11-29.
- ↑ Soubhari, Tushar; Kumar, Yathish (October 2014). "The CRAB-Bucket Effect and Its Impact on Job Stres – An Exploratory Study With Reference To Autonomous Colleges" (PDF). International Journal on Recent and Innovation Trends in Computing and Communication. 2 (10): 3022–3027. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016.
- ↑ L. Douglas Wilder (October 1, 2015). Son of Virginia: A Life in America's Political Arena. Lyons Press. p. 185. ISBN 978-1-4930-1952-6.
- ↑ Low Robin Boon Peng (2016). Good Intentions Are Not Enough: Why We Fail At Helping Others. World Scientific. p. 104. ISBN 978-981-320-059-3.
- ↑ Sudipta Sarangi (April 1, 2013). "Capturing Indian 'Crab' Behaviour". The Hindu. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ Miller, Carliss D. (January 2015). "A Phenomenological Analysis of the Crabs in the Barrel Syndrome". Academy of Management Proceedings. Academy of Management. 2015: 13710. doi:10.5465/AMBPP.2015.13710abstract.
- ↑ Manuel B. Dy (March 3, 1994). Values in Philippine Culture and Education. Council for Research in Values and Philosophy. p. 40. ISBN 978-1-56518-041-3.
- ↑ Herbert A. Leibowitz (December 31, 1994). Parnassus: Twenty Years of Poetry in Review. University of Michigan Press. p. 262. ISBN 978-0-472-06577-6.
- ↑ Albert Shanker (June 19, 1994). "Where We Stand: The Crab Bucket Syndrome". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ December 1, 2015.
- ↑ David, E. J. R. (2013). Brown Skin, White Minds: Filipino / American Postcolonial Psychology. Charlotte, NC: Information Age Publishing. p. 119. ISBN 978-1-62396-209-8.
- ↑ Dietrich, David M.; Kenworthy, Michael; Cudney, Elizabeth A. (2019). Additive Manufacturing Change Management: Best Practices. Boca Raton, FL: CRC Press. p. 44. ISBN 978-0-367-15207-9.
- ↑ Spacey, Simon (2015). "Crab Mentality, Cyberbullying and "Name and Shame" Rankings". Waikato University, New Zealand. สืบค้นเมื่อ April 19, 2015.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)[ลิงก์เสีย]