งานเป่ายิ้งฉุบเลือกเซ็มบัตสึ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำปี 2566
ชื่อภาษาอังกฤษ | BNK48 Janken Tournament 2023 The Senbatsu Of Destiny |
---|---|
วันที่ | 9 เมษายน พ.ศ. 2566 |
เวลา | 15:00 - 18:00 |
ที่ตั้ง | ยูเนี่ยน มอลล์ |
ประเภท | งานเป่ายิ้งฉุบเลือกเซ็มบัตสึ |
เป้าหมาย | คัดเลือกสมาชิกในอัลบั้มที่ 4 ของบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต |
จัดโดย | อินดิเพนเดนท์ อาร์ตทิสต์ เมเนจเมนต์ |
ผู้เข้าร่วม | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต |
งานเป่ายิ้งฉุบเลือกเซ็มบัตสึ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำปี 2566 เป็นการจัดการแข่งขัน "เป่ายิ้งฉุบ" ครั้งที่ 2 ของบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เพื่อเลือกเซ็มบัตสึในอัลบั้มที่ 4 ของบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต โดยมีชื่องานว่า "BNK48 Janken Tournament 2023 The Senbatsu Of Destiny" ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 ณ Union Hall ชั้น 6 ศูนย์การค้ายูเนี่ยนมอลล์
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวงและผู้จัดการวง พร้อมด้วย จิดาภา แช่มช้อย (แพนด้า), วีรยา จาง (วี), กวิสรา สิงห์ปลอด (มายยู) และ ภัทรนรินทร์ เหมือนฤทธิ์ (นายน์) ได้แถลงข่าวการจัดงานเป่ายิ้งฉุบเลือกเซ็มบัตสึ ของบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ประจำปี 2566 ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 โดยใช้ชื่อว่า "BNK48 Janken Tournament 2023 The Senbatsu Of Destiny" ในรายการ BNK48 Hi! LIVE ณ BNK48 Digital Live Studio ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ โดยได้เปิดเผยรายละเอียดของที่นั่งเข้าชม ช่องทางการขายบัตรเพื่อเข้าชม และตารางการประกบคู่การแข่งขันเบื้องต้น [1][2][3]
วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 เปิดทำการขายบัตรเพื่อเข้าชมที่ Eventpop
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2566 ทำการจับสลากประกบคู่การแข่งขัน ในรายการ BNK48 Hi! LIVE ณ BNK48 Digital Live Studio ศูนย์การค้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2566 ทำการแข่งขัน ณ. Union Hall ชั้น 6 ศูนย์การค้ายูเนี่ยนมอลล์ [4]
สมาชิกที่เข้าร่วม
[แก้]สมาชิกที่เข้าร่วมในงานนี้มีจำนวนทั้งหมด 74 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิกจากวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต จำนวน 44 คนและซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต จำนวน 30 คน ดังนี้
บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต
ทีมบีทรี จำนวน 15 คน ได้แก่
เฌอปราง อารีย์กุล (เฌอปราง), วชิราพร พัฒนพานิช (เอิร์น), นันทภัค กิตติรัตนวิวัฒน์ (เฟม), วิรัลพัชร ธำรงค์พันธวนิช (เกรซ), ปาฏลี ประเสริฐธีระชัย (ฮูพ), ณัฐธันยา ดุลยพล (มีน), รชยา ทัพพ์คุณานนต์ (มินมิน), มิโอริ โอคุโบะ (มิโอริ), ภาริตา ริเริ่มกุล (โมเน่ต์), กวิสรา สิงห์ปลอด (มายยู), วรินท์รัตน์ ยลประสงค์ (นิกี้), จิดาภา แช่มช้อย (แพนด้า), ภูษิตา วัฒนากรแก้ว (พีค), วีรยา จาง (วี) และณัฏฐธิดา อาสนานิ (ยาหยี)
ทีมเอ็นไฟว์ จำนวน 15 คน ได้แก่
นภสรณ์ ศิริปาณี (เอิร์ธ), อิสรีย์ ทวีกุลพาณิชย์ (อีฟ), ณัฐทิชา จันทรวารีเลขา (ฟ้อนด์), ณัฐกุล พิมพ์ธงชัยกุล (จีจี้), ญาณิศา เมืองคำ (ข้าวฟ่าง), ชัญญาภัค นุ่มประสพ (นิว), ภัทรนรินทร์ เหมือนฤทธิ์ (นาย), นิพพิชฌาน์ พิพิธเดชา (ปาเอญ่า), พิทยาภรณ์ เกียรติฐิตินันท์ (แพนเค้ก), สิริการย์ ชินวัชร์สุวรรณ (ผักขม), พิณญาดา จึงกาญจนา (ป๊อปเป้อ), รตา ชินกระจ่างกิจ (รตา), สวิชญา ขจรรุ่งศิลป์ (ซัทจัง), ตริษา ปรีชาตั้งกิจ (สตางค์) และนพรดา เลิศวิริยะพร (โยเกิร์ต)
สมาชิกฝึกหัด (เค็งกีวเซ) จำนวน 14 คน ได้แก่
จิรภิญญา จันทวรรณกูร (เบอร์รี่), อรณิชชา พรหมสุภา (เอ็มมี่), กัลยารัตน์ ปั้นพิพัฒน์ (แจนรี่), ชนิกานต์ บุษดี (เจ้าเข็ม), มณิภา รู้ปัญญา (ขมิ้น), สิริกร นิลกษาปน์ (แอล), กชพร พรโชคชัย (มารีน), ณัฐรินีย์ กุศลพัฒน์ (มิชา), ธนิดา อัครวุฒิ (เนเน่), พาขวัญ น้อยใจบุญ (พาขวัญ), ภัทรา ธีระวาส (แพท), ปุญญิสา แก้วสว่าง (ปาล์มมี่), กฤตชญา อุดมบุญดี (ซินดี้) และพิมพ์นเรศ ลำใย (วาว่า)
ซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต
ทีมซี จำนวน 12 คน ไดแก่
นภัสนันท์ ธรรมบัวชา (แองเจิ้ล), ปุณยวีร์ จึงเจริญ (ออม), กชพร ลีละทีป (แชมพู), ปัณฑิตา คูณทวี (ฟอร์จูน), รินะ อิซึตะ (อิซึรินะ), มานิตา จันทร์ฉาย (ไข่หวาน), วิทิตา สระศรีสม (คนิ้ง), มาณิฌา เอี่ยมดิลกวงศ์ (มามิ้งค์), พิชญาภา สุปัญญา (นีนี่), วัชรี ด่านผาสุกกุล (พั้นซ์), พรวารินทร์ วงศ์ตระกูลกิจ (พิม) และสิตา ธีรเดชสกุล (สิตา)
สมาชิกฝึกหัด (เค็งกีวเซ) จำนวน 18 คน ไดแก่
ศศิชา วงศ์วัฒนอนันต์ (เอมม่า), ภัทรธิดา จงประสานเกียรติ (ฟ้าใส), มัญชุภา มูลกลาง (จีนน่า), รวินดา อลัน (เจย์ดา), อรัญญา แก้วมาลัย (จิงจิง), ศุภาพิชญ์ ศรีไพโรจน์ (เจเจ), เคียล่า ซื่อหยุน คู (เคียล่า), พิมพ์นารา ร่ำรวยมั่นคง (ลาติน), พิมพ์ลภัส สุวรรณน้อย (ลูกเกด), พิชญธิดา สนธิศักดิ์วรรณะ (มีน), รพีพรรณ แช่มเจริญ (เหมย), ชยานันท์ เจ็ดพี่น้องร่วมใจ (มิลค์) เพ็ญพิชญา บุญเสนอ (นานา) ณัฐริกา บุญตั๋ว (นีน่า) ชุติปภา รัตนกรญาณวุฒิ (ปะริมะ) ศุภัชญา คำเงิน (พะแพง) พิณพณา แสงบุญ (ปิ๊ง) และพิชชาพร วัฒนาทองทิน (ทูแบม)
รายละเอียดการแข่งขัน
[แก้]การแข่งขันจะเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออก โดยในรอบแรกเป็นรอบ รอบ 74 ซึ่งจะมีเพียงแค่ 10 คู่ที่ต้องแข่งขันกันเพื่อหา 10 คน เข้าสู่รอบ 64 คนสุดท้าย ส่วนสมาชิกที่ไม่ได้อยู่ใน 10 คู่นี้ไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้และรอแข่งขันในรอบต่อไป
รอบที่ 2 คือรอบ 64 คนสุดท้าย ผู้ที่ชนะในแต่ละคู่จะเข้าสู่รอบต่อไปและในรอบ 32 คนสุดท้ายจะต้องแข่งขันกันแบบจับคู่แพ้คัดออกเช่นเดิม โดยผู้ที่ชนะทั้ง 16 คนในรอบนี้จะได้เป็น "เซ็มบัตสึ" ในเพลงหลักอัลบั้มที่ 4 ของบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตแต่การแข่งขันยังไม่จบลง สมาชิก 16 คนสุดท้ายจะต้องแข่งขันเพื่อเฟ้นหาผู้ที่ชนะทุกรอบการแข่งขันสู่การเป็น "Janken Queen" และจะได้เป็นตำแหน่งเซ็นเตอร์ในเพลงหลักในอัลบั้มที่ 4 ส่วนผู้ที่แพ้ในรอบชิงชนะเลิศก็จะได้อันดับที่ 2
โดยสมาชิกที่ผ่านเข้ารอบ 16 คนสุดท้ายแต่ไม่ถึงรอบชิงชนะเลิศ ต้องมาแข่งขันกันจัดอันดับ "POSITION MATCH" เพื่อหาตำแหน่งลำดับที่ 3-16 ของสมาชิกในเพลงหลักในอัลบั้มที่ 4
ตารางการแข่งขันและผลการแข่งขัน
[แก้]- หมายเหตุ
- 1หมายถึง เลขลำดับในการจับคู่รอบแรก
- ตัวหนา หมายถึง ชื่อของผู้ชนะในรอบ
POSITION MATCH
[แก้]อันดับ 5-8 | อันดับ 5-6 | |||||||
วี | แพ้ | |||||||
จีจี้ | ชนะ | |||||||
จีจี้ | ชนะ | |||||||
ฟ้อนด์ | แพ้ | |||||||
ไข่หวาน | แพ้ | |||||||
ฟ้อนด์ | ชนะ | อันดับ 7-8 | ||||||
วี | ชนะ | |||||||
ไข่หวาน | แพ้ |
อันดับ 9-16 | อันดับ 9-16 | อันดับ 9-10 | |||||||||||
แชมพู | ชนะ | ||||||||||||
เคียล่า | แพ้ | ||||||||||||
แชมพู | ชนะ | ||||||||||||
ยาหยี | แพ้ | ||||||||||||
ยาหยี | ชนะ | ||||||||||||
มีน | แพ้ | ||||||||||||
แชมพู | ชนะ | ||||||||||||
มิลค์ | แพ้ | ||||||||||||
มิลค์ | ชนะ | ||||||||||||
นีนี่ | แพ้ | ||||||||||||
มิลค์ | ชนะ | ||||||||||||
พาขวัญ | แพ้ | ||||||||||||
พาขวัญ | ชนะ | ||||||||||||
มิโอริ | แพ้ |
อันดับ 11-12 | |||
ยาหยี | ชนะ | ||
พาขวัญ | แพ้ |
อันดับ 13-16 | อันดับ 13-14 | ||||||
เคียล่า | แพ้ | ||||||
มีน | ชนะ | ||||||
มีน | ชนะ | ||||||
มิโอริ | แพ้ | ||||||
อันดับ 15-16 | |||||||
นีนี่ | แพ้ | เคียล่า | แพ้ | ||||
มิโอริ | ชนะ | นีนี่ | ชนะ |
ทำเนียบเซ็มบัตสึจากงานเป่ายิ้งฉุบ
[แก้]ครั้งที่ | 1 | 2 |
---|---|---|
ปี | 2563 | 2566 |
ตำแหน่ง | ชื่อจริง-นามสกุล | ชื่อจริง-นามสกุล |
Janken Queen | ณัฐกุล พิมพ์ธงชัยกุล [5] | นภัสนันท์ ธรรมบัวชา[6] |
อันดับ 2 | วีรยา จาง | ภัทรา ธีระวาส |
อันดับ 3 | พัศชนันท์ เจียจิรโชติ | สิริการย์ ชินวัชร์สุวรรณ |
อันดับ 4 | เฌอปราง อารีย์กุล | เพ็ญพิชญา บุญเสนอ |
อันดับ 5 | เคียล่า ซื่อหยุน คู | ณัฐกุล พิมพ์ธงชัยกุล |
อันดับ 6 | กวิสรา สิงห์ปลอด | ณัฐทิชา จันทรวารีเลขา |
อันดับ 7 | ชยานันท์ เจ็ดพี่น้องร่วมใจ | วีรยา จาง |
อันดับ 8 | ปัญสิกรณ์ ติยะกร | มานิตา จันทร์ฉาย |
อันดับ 9 | วฑูศิริ ภูวปัญญาสิริ | กชพร ลีละทีป |
อันดับ 10 | ณิชารีย์ สังขทัต ณ อยุธยา | ชยานันท์ เจ็ดพี่น้องร่วมใจ |
อันดับ 11 | รชยา ทัพพ์คุณานนต์ | ณัฏฐธิดา อาสนานิ |
อันดับ 12 | พาขวัญ น้อยใจบุญ | พาขวัญ น้อยใจบุญ |
อันดับ 13 | ชัญญาภัค นุ่มประสพ | พิชญธิดา สนธิศักดิ์วรรณะ |
อันดับ 14 | ชุติปภา รัตนกรญาณวุฒิ | มิโอริ โอคุโบะ |
อันดับ 15 | ณัฐริกา บุญตั๋ว | พิชญาภา สุปัญญา |
อันดับ 16 | เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ | เคียล่า ซื่อหยุน คู |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุพัฒน์, ศิวะพรพันธ์ (2023-03-14). "BNK48 Janken Tournament 2023 การแข่งขันเป่ายิงฉุบเพื่อค้นหา 16 เซ็มบัตสึ เตรียมกลับมาอีกครั้ง 9 เม.ย. นี้". สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ OFFICIAL NEWS (2023-03-09). "BNK48 Janken Tournament 2023".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ EVENTPOP, EVENTPOP. "BNK48 Janken Tournament 2023".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ boo, bobbidi (2023-04-11). "เป่า ยิง ฉุบ! ประมวลภาพความประทับใจ ศึกวัดดวงชิงตำแหน่งเซ็นเตอร์-เซ็มบัตสึ "BNK48 JANKEN TOURNAMENT 2023"". สืบค้นเมื่อ 2023-04-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ปริญญา, ชาวสมุน (2020-09-27). "จีจี้ BNK48' Janken Queen คนแรกของไทย".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Entertainment, Inn (2023-04-20). ""แองเจิ้ลCGM48″คว้าแชมป์ เป่ายิ้งฉุบ ขึ้นแท่นเซ็นเตอร์เพลงใหม่". สืบค้นเมื่อ 2023-02-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)