งอก๋ง
งอก๋ง (อู๋ กาง) | |
---|---|
吳綱 | |
หัวหน้าเสมียน (長史 จ๋างฉื่อ) (ภายใต้จูกัดเอี๋ยน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
ญาติ | อู๋ รุ่ย (บรรพบุรุษ) |
อาชีพ | ขุนนาง |
งอก๋ง[1][2] (มีบทบาทในช่วงปี ค.ศ. 226-257) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า อู๋ กาง (จีน: 吳綱; พินอิน: Wú Gāng) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าเสมียน (長史 จ๋างฉื่อ) ของจูกัดเอี๋ยนขุนพลของรัฐวุยก๊ก เป็นผู้สืบเชื้อสายรุ่นที่ 16 ของอู๋ รุ่ย (吳芮) ขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
ประวัติ
[แก้]ชื่อชัวซิน-ยฺหวี่ (世說新語) บันทึกว่าในปี ค.ศ. 226 มีชาวง่อก๊กกลุ่มหนึ่งขุดสุสานของอู๋ รุ่ย (吳芮) ผู้เป็นอ๋องแห่งเตียงสา (長沙王 ฉางชาหวาง) เพื่อจะนำอิฐและกระเบื้องไปใช้สร้างศาลให้ซุนเกี๋ยนในอำเภอหลินเซียง (臨湘) ศพของอู๋ รุ่ยยังคงสภาพดีเหมือนเมื่อยังมีชีวิต และเสื้อผ้าก็ไม่เปื่อย ในปีถัดมา ชายคนหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มคนที่ร่วมขุดสุสานเห็นงอก๋งจึงพูดว่า "ท่านดูคล้ายอ๋องแห่งเตียวสาอู๋ รุ่ย แต่ร่างเล็กกว่าเล็กน้อย" งอก๋งได้ยินก็ตกใจพูดว่า "เป็นบรรพบุรุษของข้าเอง ท่านเห็นได้อย่างไร" คนผู้นั้นก็เล่าเรื่องเมื่อปีก่อนให้ฟัง งอก๋งจึงถามว่า "ท่านฝังศพกลับไปหรือไม่" คนผู้นั้นตอบว่า "ฝังทันทีเลย" นับตั้งแต่ปีที่อู๋ รุ่ยเสียชีวิตจนกระทั่งการขุดสุสานนั้นเป็นช่วงเวลาสี่ร้อยกว่าปี[3]
ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนก่อกบฏที่อำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณอำเภอโช่ว นครลู่อาน มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊ก จูกัดเอี๋ยนมอบหมายงอก๋งที่เป็นหัวหน้าเสมียนของตนให้พาจูกัดเจ้งบุตรชายไปรัฐง่อก๊กเพื่อขอให้ง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊กมาช่วยสนับสนุนการก่อกบฏ โดยให้จูกัดเจ้งอยู่เป็นตัวประกันในง่อก๊ก[4]
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]งอก๋งปรากฏเป็นตัวละครในนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 ซึ่งเล่าเรื่องเหตุการณ์ก่อนและระหว่างยุคสามก๊ก ในตอนที่ 111[a] หลังจากงอก๋งขอความช่วยเหลือจากง่อก๊กได้สำเร็จแล้วก็กลับมาที่อำเภอฉิวฉุนเพื่อรายงานให้จูกัดเอี๋ยนทราบ[5][2]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตรงกับสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 82[1][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ("จูกัดเอี๋ยนจึงมีหนังสือกล่าวโทษสุมาเจียว ไปทูลแก่พระเจ้าโจมอณเมืองลกเอี๋ยง แล้วก็ให้เกณฑ์ทหารเมืองห้วยหลำเมืองห้วยเขได้สิบหมื่นเศษ ในเมืองเกงจิ๋วได้สิบหมื่นเศษ แล้วจึงสั่งให้เตรียมม้าแลเครื่องศัสตราวุธแลสเบียงอาหารไว้ให้พร้อม แล้วจึงให้งอก๋งคนผู้ใหญ่เปนที่ปรึกษา พาตัวจูกัดเจ้งผู้บุตรไปณเมืองกังตั๋ง ให้ไปมอบไว้เปนจำนำหวังจะขอกองทัพไปช่วยกำจัด สุมาเจียวซึ่งเปนศัตรูแผ่นดิน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 6, 2024.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ("งอก๋งไปถึงเมืองโจะเทาเสียก็เข้าไปหาซุนหลิม ๆ จึงถามว่า ท่านมานี้ด้วยเหตุอันใด งอก๋งจึงว่าจูกัดเอี๋ยนเปนพี่น้องของขงเบ้งทำราชการอยู่เมืองวุยก๊ก เห็นพวกสุมาเจียวยกเจ้าแผ่นดินออกเสีย จะคิดอ่านเอาราชสมบัติเอง จูกัดเอี๋ยนจะคิดอ่านกำจัดศัตรูแผ่นดิน เห็นกำลังทหารของตัวน้อยนักจึงให้ข้าพเจ้ามาหาท่านขอกองทัพไปช่วย เกรงว่าท่านจะมิเชื่อ จึงให้ข้าพเจ้าเอาจูกัดเจ้งผู้บุตรมามอบให้ท่านไว้เปนคนจำนำ ขอให้ท่านยกทหารไปช่วย ซุนหลิมก็เชื่อจึงให้นายทหารชื่อว่าจวนต๊กจวนต๋วนสองคนเปนแม่ทัพหลวง อิ๋นจวนเปนทัพหนุน ให้จูอี้ต๋องอู่สองคนเปนกองหน้า ให้บุนขิมนำหนทาง ทหารทั้งสามกองนั้นเปนคนเจ็ดหมื่นยกไปช่วยจูกัดเอี๋ยน งอก๋งก็ลาซุนหลิมมาเมืองห้วยหลำไปแจ้งแก่จูกัดเอี๋ยนว่า ได้กองทัพเมืองกังตั๋งมาแล้ว") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 6, 2024.
- ↑ (黃初末,吳人髮長沙王吳芮塚,以其專於臨湘為孫堅立廟。芮容貌如生,衣服不朽。後豫發者見吳綱曰:「君何類長沙王吳芮,但微短耳。」綱瞿然曰;「是先祖也,君何由見之?」見者言所由,綱曰:「更葬否?」答曰:「即更葬矣。」自芮之卒年至塚發,四百餘年,綱,芮之十六世孫矣。) อรรถาธิบายจากชื่อ-ยฺหวี่ (ชื่อชัวซิน-ยฺหวี่) ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (遣長史吳綱將小子靚至吳請救。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (吳綱回壽春報知諸葛誕。) สามก๊ก ตอนที่ 111.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- หลิว อี้ชิ่ง (บรรณาธิการ) (ป. คริสต์ศตวรรษที่ 5). ชื่อชัวซิน-ยฺหวี่ / ชื่อ-ยฺหวี่.