พ.ศ. 2535
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1992)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2535 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1992 MCMXCII |
Ab urbe condita | 2745 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1441 ԹՎ ՌՆԽԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6742 |
ปฏิทินบาไฮ | 148–149 |
ปฏิทินเบงกอล | 1399 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2942 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 40 Eliz. 2 – 41 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2536 |
ปฏิทินพม่า | 1354 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7500–7501 |
ปฏิทินจีน | 辛未年 (มะแมธาตุโลหะ) 4688 หรือ 4628 — ถึง — 壬申年 (วอกธาตุน้ำ) 4689 หรือ 4629 |
ปฏิทินคอปติก | 1708–1709 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3158 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1984–1985 |
ปฏิทินฮีบรู | 5752–5753 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2048–2049 |
- ศกสมวัต | 1914–1915 |
- กลียุค | 5093–5094 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11992 |
ปฏิทินอิกโบ | 992–993 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1370–1371 |
ปฏิทินอิสลาม | 1412–1413 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 4 (平成4年) |
ปฏิทินจูเช | 81 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4325 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 81 民國81年 |
เวลายูนิกซ์ | 694224000–725846399 |
พุทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1354 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ. 2489 – พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม – บุฏรุส บุฏรุส-ฆอลี เข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 6[1]
- 19 มกราคม – เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำสูงสุดของจีน กล่าวสุนทรพจน์ที่เชินเจิ้น ระหว่างการเดินทางเยือนภาคใต้ของเขา เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่จะนำจีนมุ่งสู่การค้าแบบตลาดเสรี[2]
- 24 มกราคม – จีนและอิสราเอลสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต
กุมภาพันธ์
[แก้]- 7 กุมภาพันธ์ – ประเทศประชาคมยุโรป ลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ในมาสทริชท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป
- 8 กุมภาพันธ์ - 23 กุมภาพันธ์ – กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1992 ที่แอลเบอร์วีลล์ ประเทศฝรั่งเศส
มีนาคม
[แก้]- 7 มีนาคม – การ์ตูนเรื่องเซเลอร์มูนออกอากาศครั้งแรกในประเทศญึ่ปุ่น[3]
- 8 มีนาคม – เรือโดยสารระหว่างศรีราชา-เกาะสีชัง ชนกับเรือบรรทุกน้ำมันนอกชายฝั่ง มีผู้เสียชีวิตจำนวน 119 ราย[4]
- 17 มีนาคม – ฮิซบุลลอหฺลอบวางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศอาร์เจนตินา
- 25 มีนาคม - 1 เมษายน – กีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาว 1992 ที่ทิกเนส-อัลเบิร์ทวิลล์ ประเทศฝรั่งเศส
เมษายน
[แก้]- 12 เมษายน – ดิสนีย์แลนด์ปารีสเปิดอย่างเป็นทางการ[5]
- 13 เมษายน – การ์ตูนเครยอนชินจังออกอากาศครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น[6]
- 15 เมษายน – สมัชชาแห่งชาติมีมติรับรองรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ค.ศ. 1992
- 18 เมษายน – กลุ่มมูจาฮิดีนในอัฟกานิสถาน ล้มล้างรัฐบาลคอมมิวนิสต์สำเร็จ
- 29 เมษายน – การตัดสินปล่อยตัวตำรวจที่ทำร้ายร็อดนีย์ คิง เป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในลอสแอนเจลิส
พฤษภาคม
[แก้]- 7 พฤษภาคม – กระสวยอวกาศ เอนเดฟเวอร์ ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก[7]
- 8 พฤษภาคม – ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประกวด นางงามจักรวาล ครั้งที่41 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
- 17 พฤษภาคม – พฤษภาทมิฬ: ทหารและประชาชนผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เริ่มปะทะกันอย่างรุนแรงบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ
- 24 พฤษภาคม – พลเอกสุจินดา คราประยูร กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬก่อนจะประกาศลาออกอย่างเป็นทางการผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยพร้อมกับพลตรีจำลอง ศรีเมืองแกนนำผู้ชุมนุมประท้วง[8]
กรกฎาคม
[แก้]- 20 กรกฎาคม – วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีของเชโกสโลวาเกีย
- 25 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม – กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1992 ที่บาร์เซโลนา ประเทศสเปน[9] [10]
- 31 กรกฎาคม – การบินไทย เที่ยวบินที่ 311: เครื่องบินแอร์บัส A310-304 ของการบินไทย ชนกับภูเขาทางใต้ของกรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 113 คน เสียชีวิต[11]
สิงหาคม
[แก้]- 15 สิงหาคม – การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกฤดูกาลแรกเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการ[12]
- 30 สิงหาคม – มิคาเอล ชูมัคเกอร์ ชนะเลิศการแข่งขันรถสูตรหนึ่งเป็นครั้งแรกในรายการเบลเยียมกรังด์ปรีซ์[13]
กันยายน
[แก้]- 3 กันยายน - 14 กันยายน – กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 1992 ที่บาร์เซโลนาและมาดริด ประเทศสเปน[14]
- 16 กันยายน – เงินตราปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษถูกกดดันให้ถอนตัวออกจากกลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป และลดค่าลงอย่างมาก
ตุลาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม – สถานีโทรทัศน์เคเบิลการ์ตูนเน็ตเวิร์คแพร่ภาพเป็นวันแรกในสหรัฐ[15]
- 23 ตุลาคม – สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เริ่มการเยือนจีนอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยทรงแสดงความเสียพระราชหฤทัยอย่างสุดซึ้งต่อความทุกข์ทรมานของชาวจีนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
พฤศจิกายน
[แก้]- 3 พฤศจิกายน – บิล คลินตันได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา[16]
- 7 พฤศจิกายน – รายการดิสนีย์คลับ (Disney Club) ออกอากาศครั้งแรกทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7[17]
ธันวาคม
[แก้]วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม - แจ็ก วิลเชียร์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 11 มกราคม - ดานิ การ์บาฆัล นักฟุตบอลชาวสเปน
- 13 มกราคม - ธีรภัทร์ สุวรรณดี นักแสดงชาวไทย
- 14 มกราคม - ร็อบบี เบรดี นักฟุตบอลชาวไอริช
- 19 มกราคม
- โลแกน เลอร์แมน นักแสดงชาวอเมริกัน
- แม็ก มิลเลอร์ นักร้องเพลงแร็ปชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 7 กันยายน พ.ศ. 2561)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 5 กุมภาพันธ์
- เนย์มาร์ นักฟุตบอลชาวบราซิล
- สเตฟัน เดอ ไฟร นักฟุตบอลชาวดัตช์
- 7 กุมภาพันธ์ - แซร์ฌี รูแบร์ตู นักฟุตบอลชาวสเปน
- 8 กุมภาพันธ์
- คาร์ล เจนคินสัน นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 9 กุมภาพันธ์ - ฮารุกะ นาคากาวะ นักร้อง นักแสดง ไอดอลญี่ปุ่น
- 11 กุมภาพันธ์ - เทย์เลอร์ เลาต์เนอร์ นักแสดงและนายแบบชาวอเมริกัน
- 14 กุมภาพันธ์
- เครสแจน อีเรกเซิน นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก
- เฟรดดี ไฮร์มอร์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 21 กุมภาพันธ์ - ฟิล โจนส์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 22 กุมภาพันธ์ - ฮาริส เซเฟรอวิช นักฟุตบอลชาวสวิส
- 23 กุมภาพันธ์ - กาเซมีรู นักฟุตบอลชาวบราซิล
มีนาคม
[แก้]- 4 มีนาคม
- แจซมิน เกรซ กรีมัลดี
- แบนท์ เลโน นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 6 มีนาคม - โมโมโกะ สึงูนางะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 13 มีนาคม คิม มย็อง-ซู นักร้องชาวเกาหลี
- 30 มีนาคม
- มีโน นักร้องเพลงแร็ปชาวเกาหลีใต้
- ธนทัต ชัยอรรถ (แกงส้ม) นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
เมษายน
[แก้]- 2 เมษายน - เจษฎ์พิพัฒ ติละพรพัฒน์ (เจษ) นักแสดงชาวไทย
- 3 เมษายน - เจ้าหญิงนูร์ ปาห์ลาวี เจ้าหญิงแห่งประเทศอิหร่าน
- 8 เมษายน - แมทิว ไรอัน นักฟุตบอลชาวออสเตรเลีย
- 10 เมษายน - เดซี ริดลีย์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 16 เมษายน -
- พระเจ้าโอมูกามาโอโย อึนยิมบา กาบามบา อิกูรู รูกิดีที่ 4 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรโตโร
- เจ้าชายเซบัสเตียงแห่งลักเซมเบิร์ก
- 17 เมษายน - ชโคดรัน มุสทาฟี นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 21 เมษายน - อิสโก นักฟุตบอลชาวสเปน
- 30 เมษายน - มาร์ค-อันเดร แทร์ สเตเกิน นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
พฤษภาคม
[แก้]- 1 พฤษภาคม - ฮานี นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 2 พฤษภาคม
- ซ็อนมี นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 10 พฤษภาคม - ชารีซ เพ็มเพ็งโค นักร้องชาวฟิลิปปินส์
- 11 พฤษภาคม - ตีโบ กูร์ตัว นักฟุตบอลชาวเบลเยียม
- 16 พฤษภาคม - ดาวิกา โฮร์เน่ (ใหม่) นักแสดงชาวไทย
- 19 พฤษภาคม - แซม สมิธ นักร้องชาวอังกฤษ
- 22 พฤษภาคม - ชินามิ โทกูนางะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 28 พฤษภาคม
- นัตสึมิ ฮิราจิมะ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- กากุ ชิบาซากิ นักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
มิถุนายน
[แก้]- 3 มิถุนายน - มารีโอ เกิทเซอ นักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- 6 มิถุนายน - ฮย็อนอา นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 12 มิถุนายน - ฟีลีปี โกชิญญู นักฟุตบอลชาวบราซิล
- 15 มิถุนายน - มุฮัมมัด เศาะลาห์ นักฟุตบอลชาวอียิปต์
- 24 มิถุนายน - ดาวิด อาลาบา นักฟุตบอลชาวออสเตรีย
- 26 มิถุนายน - โยเอล กัมเบล นักฟุตบอลชาวคอสตาริกา
- 27 มิถุนายน - โซฮี นักร้องชาวเกาหลีใต้
กรกฎาคม
[แก้]- 3 กรกฎาคม
- ริญญารัตน์ วัชรโรจน์สิริ นักแสดงชาวไทย
- มาอาสะ ซุโด นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 8 กรกฎาคม - ซน ฮึง-มิน นักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้
- 11 กรกฎาคม - มุฮัมมัด อันนินนี นักฟุตบอลชาวอียิปต์
- 15 กรกฎาคม - โคฮารุ คูซูมิ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- 22 กรกฎาคม - เซลีนา โกเมซ นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน
- 29 กรกฎาคม - จีบรีล ซีดีเบ นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- 31 กรกฎาคม - พัก ซู-อา ศิลปินชาวเกาหลี
สิงหาคม
[แก้]- 2 สิงหาคม - ชาร์ลี เอ็กซ์ซีเอ็กซ์ นักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ
- 3 สิงหาคม
- แยนิก เวสเตอร์กอร์ นักฟุตบอลชาวเดนมาร์ก
- 4 สิงหาคม
- โคล สเปราส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- ดิลัน สเปราส์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- 12 สิงหาคม - คารา เดเลอวีน นักแสดง นักร้องและนางแบบชาวอังกฤษ
- 16 สิงหาคม - อีย็อง นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 20 สิงหาคม
- เดมี โลวาโต นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน
- 21 สิงหาคม
- ซง ซึง-ฮย็อน นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 25 สิงหาคม
- มิยาบิ นัทสึยากิ นักร้องชาวญี่ปุ่น
- ริการ์โด โรดริเกซ นักฟุตบอลชาวสวิส
กันยายน
[แก้]- 14 กันยายน - อู จีโฮ นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 16 กันยายน
- วริษฐา จตุรภุช นักร้องชาวไทย
- นิก โจนาส นักร้อง-นักแต่งเพลงและนักแสดงชาวอเมริกัน
- 21 กันยายน - คิม จง-แด นักร้องชาวเกาหลีใต้
- 22 กันยายน - จูลี่ ถั่น นักแสดงชาวสิงคโปร์
- 27 กันยายน - กรานิต จากา นักฟุตบอลชาวสวิส
- 30 กันยายน
- พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์ (ใบเฟิร์น) นักแสดงชาวไทย
- เอซรา มิลเลอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
ตุลาคม
[แก้]- 2 ตุลาคม - อาลีซง แบเกร์ นักฟุตบอลชาวบราซิล
- 11 ตุลาคม - คาร์ดิ บี นักร้องเพลงแร็ปชาวอเมริกัน
- 12 ตุลาคม - จอช ฮัทเชอร์สัน นักแสดงและโปรดิวเซอร์ชายชาวอเมริกัน
- 19 ตุลาคม - คิม จี-ว็อน (นักแสดง) นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 23 ตุลาคม - อัลบาโร โมราตา นักฟุตบอลชาวสเปน
- 27 ตุลาคม - สเตฟาน เอล ชาราวี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
พฤศจิกายน
[แก้]- 5 พฤศจิกายน - มาร์โก แวร์รัตตี นักฟุตบอลชาวอิตาลี
- 10 พฤศจิกายน
- คว็อน ฮย็อก นักร้องและโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีใต้
- วีลฟรีด ซาอา นักฟุตบอลชาวโกตดิวัวร์
- 11 พฤศจิกายน
- ชเว มินฮวัน นักดนตรีชาวเกาหลี
- 15 พฤศจิกายน - มินามิ มิเนกิชิ ศิลปินชาวญี่ปุ่น
- 16 พฤศจิกายน - มาร์ตเซลอ บรอซอวิช นักฟุตบอลชาวโครเอเชีย
- 21 พฤศจิกายน - ริโนะ ซาชิฮาระ นักร้องไอดอลญี่ปุ่น
- 23 พฤศจิกายน - ไมลีย์ ไซรัส นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน
- 27 พฤศจิกายน - พัก ชัน-ย็อล นักร้องชาวเกาหลีใต้
ธันวาคม
[แก้]- 4 ธันวาคม - คิม ซ็อก-จิน ศิลปินชาวเกาหลีใต้
- 8 ธันวาคม - ยุย โยโกยามะ ศิลปินชาวญี่ปุ่น
- 12 ธันวาคม - เฉิน รั่วหลิน นักกีฬากระโดดน้ำชาวจีน
- 15 ธันวาคม - เจสซี ลินการ์ด นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 24 ธันวาคม - แซร์ฌ โอรีเย นักฟุตบอลชาวโกตดิวัวร์
- 26 ธันวาคม - วรเมธ แซ่เตียว หนึ่งในศิลปินดูโอ้ คู่หูตัวป่วน
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม - เกรซ ฮอปเปอร์ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2449)
- 16 มกราคม - พระโพธิญาณเถร หรือหลวงปู่ชา (เกิด 17 มิถุนาย พ.ศ. 2461)
- 26 มกราคม - โฮเซ เฟร์เรร์ นักแสดงและผู้กำกับชาวปวยร์โตรีโก (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2455)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 16 กุมภาพันธ์ - ซัยยิด อับบาส อัลมูสะวีย์ มุสลิมนิกายชีอะห์ชาวเลบานอน ซึ่งดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรคฮิซบุลลอหฺ (เกิด พ.ศ. 2495)
- 26 กุมภาพันธ์ - ฮันนี่ ศรีอีสาน นักร้องลูกทุ่งหมอลำชื่อดัง (เกิด 22 ตุลาคม พ.ศ.2514)
มีนาคม
[แก้]- 9 มีนาคม - เมนาเฮม เบกิน นักการเมืองชาวอิสราเอล นายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนที่ 6 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (เกิด พ.ศ. 2456)
- 27 มีนาคม - เจมส์ อี. เวบบ์ ผู้บริหารคนที่ 2 ของนาซา (เกิด 7 ตุลาคม พ.ศ. 2449)
เมษายน
[แก้]- 5 เมษายน - แซม วอลตัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งวอลมาร์ต (เกิด พ.ศ. 2461)
- 6 เมษายน - ไอแซค อสิมอฟ นักเขียนชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย (เกิด พ.ศ. 2463)
- 23 เมษายน - สัตยชิต ราย ผู้สร้างภาพยนตร์เบงกอลชาวอินเดีย (เกิด พ.ศ. 2464)
- 28 เมษายน - ฟรานซิส เบคอน ศิลปินชาวบริติชเชื้อสายไอริช (เกิด พ.ศ. 2463)
พฤษภาคม
[แก้]- 6 พฤษภาคม - มาร์เลเนอ ดีทริช นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 27 ธันวาคม พ.ศ. 2444)
- 30 พฤษภาคม - คาร์ล คาร์สเทินส์ นักการเมืองและรัฐบุรุษชาวเยอรมัน ประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(เยอรมนีตะวันตก) คนที่ 7 (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2457)
มิถุนายน
[แก้]- 13 มิถุนายน – พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องชาวไทย (เกิด 4 สิงหาคม พ.ศ. 2504)
- 21 มิถุนายน - หลี่ เซียนเนี่ยน ประธานาธิบดีคนที่ 3 ของจีน (เกิด 23 มิถุนายน พ.ศ. 2452)
- 26 มิถุนายน - บัดดี โรเจอส์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464)
กรกฏาคม
[แก้]- 11 กรกฏาคม - เติ้ง อิ่งเชา นักการเมืองคอมมิวนิสต์จีน ภรรยาหม้ายของโจว เอินไหล (เกิด พ.ศ. 2447)
สิงหาคม
[แก้]- 3 สิงหาคม - หวัง หงเหวิน นักการเมืองคอมมิวนิสต์จีน อดีตสมาชิกหนึ่งในแก๊งสี่คน (เกิด พ.ศ. 2478)
- 12 สิงหาคม - จอห์น เคจ นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (เกิด พ.ศ. 2455)
กันยายน
[แก้]- 2 กันยายน - บาร์บารา แมคคลินทอค นักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (เกิด พ.ศ. 2445)
- 18 กันยายน - เจ้าหญิงมาร์กาเร็ตแห่งเดนมาร์ก (ประสูติ 17 กันยายน พ.ศ. 2438)
ตุลาคม
[แก้]- 8 ตุลาคม - วิลลี บรันท์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(เยอรมนีตะวันตก) คนที่ 29 ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2456)
- 16 ตุลาคม - เชอร์ลีย์ บูท นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 30 สิงหาคม พ.ศ. 2440)
- 30 ตุลาคม - พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดจันทาราม(ท่าซุง) (เกิด 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2459)
พฤศจิกายน
[แก้]- 7 พฤศจิกายน - อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค นักการเมืองชาวสโลวัก เลขานุการลำดับที่หนึ่งแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเชโกสโลวาเกีย (เกิด พ.ศ. 2464)
- 21 พฤศจิกายน - ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศลาวคนที่ 2 (เกิด 13 ธันวาคม พ.ศ. 2463)
ธันวาคม
[แก้]รางวัลและการเชิดชูเกียรติ
[แก้]- สาขาเคมี – Rudolph A. Marcus
- สาขาวรรณกรรม – ดีเรก วัลคอต
- สาขาสันติภาพ – ริโกเบร์ตา เมนชู
- สาขาฟิสิกส์ – Georges Charpak
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เอ็ดมอนด์ เอช. ฟิสเชอร์, เอ็ดวิน จี. เครบส์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Gary S. Becker
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Boutros Boutros-Ghali". un.org. United Nations. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ Campanella, Thomas J. (2012). The Concrete Dragon: China's Urban Revolution and What it Means for the World. Chronicle Books. p. 36. ISBN 978-1-56898-948-8.
- ↑ "Sailor Moon (1992–1997) Release Info". imdb.com. IMDb. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
- ↑ "ข่าวดังข้ามเวลา : สีชัง…นาวาวิโยค". youtube.com. สำนักข่าวไทย. 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
- ↑ "HISTORY (Disneyland Paris)". disneylandparis-news.com. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
- ↑ "Kureyon Shinchan Release Info". imdb.com. IMDb. สืบค้นเมื่อ 2024-12-15.
- ↑ "This Week in NASA History: First Flight of Space Shuttle Endeavour Launches -- May 7, 1992". nasa.gov. NASA. 2017-05-11. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ Derbyshire (15 April 2016). Encyclopedia of World Political Systems. Routledge. p. 266. ISBN 978-1-317-47156-1.
- ↑ "Olympic Games Barcelona 1992". olympics.com. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ "9 August 1992: Farewell to the best Olympic Games in history". barcelona.cat. 2017-08-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ "31 ก.ค.2535 เที่ยวบิน 311 ยอดตาย 113 ที่สุดท้าย ณ ปลายฟ้า!". คมชัดลึก. 2018-07-31. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ "Premier League celebrates 30th anniversary". premierleague.com. พรีเมียร์ลีก. 2022-08-15. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
- ↑ "1992 First Big Success". michael-schumacher.de. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ "BARCELONA 1992 PARALYMPIC GAMES". paralympic.org. สืบค้นเมื่อ 2022-08-22.
- ↑ "Cartoon Network Timeline: First Three Years". cartoonresearch.com. Jim Korkis. 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
- ↑ "United States presidential election of 1992". readthecloud.co. The Cloud. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.
- ↑ "ชีวิตและความผูกพันของ พี่นัท-พี่แนน คู่หูรุ่นแรกแห่ง 'Disney Club' รายการการ์ตูนแห่งความทรงจำที่อยู่คู่หน้าจอโทรทัศน์ไทยมานานเกือบ 3 ทศวรรษ". readthecloud.co. The Cloud. 2021-06-30. สืบค้นเมื่อ 2022-08-20.