พ.ศ. 2515
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1972)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2515 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1972 MCMLXXII |
Ab urbe condita | 2725 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1421 ԹՎ ՌՆԻԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6722 |
ปฏิทินบาไฮ | 128–129 |
ปฏิทินเบงกอล | 1379 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2922 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 20 Eliz. 2 – 21 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2516 |
ปฏิทินพม่า | 1334 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7480–7481 |
ปฏิทินจีน | 辛亥年 (กุนธาตุโลหะ) 4668 หรือ 4608 — ถึง — 壬子年 (ชวดธาตุน้ำ) 4669 หรือ 4609 |
ปฏิทินคอปติก | 1688–1689 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3138 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1964–1965 |
ปฏิทินฮีบรู | 5732–5733 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2028–2029 |
- ศกสมวัต | 1894–1895 |
- กลียุค | 5073–5074 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11972 |
ปฏิทินอิกโบ | 972–973 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1350–1351 |
ปฏิทินอิสลาม | 1391–1392 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 47 (昭和47年) |
ปฏิทินจูเช | 61 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4305 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 61 民國61年 |
เวลายูนิกซ์ | 63072000–94694399 |
พุทธศักราช 2515 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1972 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 1334 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: จอมพล ถนอม กิตติขจร (18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516)
เหตุการณ์
[แก้]- 14 มกราคม -
- สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์กเสด็จสวรรคต
- เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมาร จากพระราชมารดาของพระองค์คือ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ขณะนั้นพระองค์มีพระชันษา 4 ชันษา
- 15 มกราคม - เจ้าฟ้าหญิงมาร์เกรเธอ มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ต่อจากสมเด็จพระบรมราชชนกนาถ สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ซึ่งเสด็จสวรรคต
- 30 มกราคม - เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อทหารพลร่มของสหราชอาณาจักร ยิงผู้ชุมนุมเรียกร้องสิทธิพลเมืองชาวไอริช 13 คน เสียชีวิต ในเหตุการณ์ Bloody Sunday
- 2 กุมภาพันธ์ - ผู้ชุมนุม 20,000-30,000 คน ที่อยู่ในอาการโกรธแค้น บุกเผาสถานทูตอังกฤษในเมืองดับลิน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เพื่อประท้วงเหตุการณ์นองเลือดที่ทหารพลร่มของอังกฤษยิงชาวไอริช 13 คน เสียชีวิต ในเหตุการณ์ Bloody Sunday เมื่อวันที่ 30 มกราคม
- 21 กุมภาพันธ์ - ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นเยือนจีนเป็นวันแรก เป็นการยุติความสัมพันธ์ที่เย็นชาระหว่าง 2 ประเทศที่ดำเนินมานาน 20 ปี
- 5 มีนาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติคองโกชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติแอฟริกา ครั้งที่ 8 ณ ประเทศแคเมอรูน
- 19 พฤษภาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติอิหร่านชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่ 5 ณ ราชอาณาจักรไทย
- 26 พฤษภาคม - สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ลงนามในสนธิสัญญาต่อต้านขีปนาวุธ ณ กรุงมอสโก
- 5 มิถุนายน - จัดการประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมมนุษย์ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
- 17 มิถุนายน - คดีวอเตอร์เกต: ผู้ต้องหา 5 คน ถูกจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ในสำนักงานพรรคดีโมแครต ที่ตั้งอยู่ในโรงแรมวอเตอร์เกต
- 4 กรกฎาคม - มีการออกแถลงการณ์ครั้งแรกระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เพื่อยุติการกล่าวร้ายซึ่งกันและกัน
- 21 กรกฎาคม - กองทัพปฏิวัติไอร์แลนด์ลอบวางระเบิดที่เมืองเบลฟัสต์ในไอร์แลนด์เหนือ มีผู้เสียชีวิต 11 คน
- 25 กรกฎาคม - พิธีเสกสมรสของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีกับปีเตอร์ เจนเซน
- 5 กันยายน - การฆาตกรรมหมู่ที่มิวนิก: กลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ที่เรียกตัวเองว่า "กันยาทมิฬ" โจมตีนักกีฬาอิสราเอลระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
- 29 กันยายน - ความสัมพันธ์จีน-ญี่ปุ่น: ประเทศญี่ปุ่นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังยุติความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับไต้หวัน
- 19 ตุลาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงควบคุมบัญชาการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตให้ผู้แทนรัฐบาลสิงคโปร์ชม ณ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน
- 21 ตุลาคม - พระราชพิธีฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- 11 ธันวาคม - ยานอะพอลโล 17 ยานอวกาศลำสุดท้ายในโครงการอะพอลโล ลงจอดบนดวงจันทร์
- 28 ธันวาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการประกาศสถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
วันเกิด
[แก้]มกราคม
[แก้]- 1 มกราคม -
- เจนนิเฟอร์ เฮล นักพากย์ชาวอเมริกัน
- ชารอน บลินน์ นักแสดงและนักเคลื่อนไหวด้านมะเร็งชาวอเมริกัน
- หนึ่งฤทัย สระทองเวียน หอดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย
- ดาวใต้ ปลายพระยา - นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย (เสียชีวิต 31 มกราคม พ.ศ. 2547)
- 6 มกราคม - อัยย์ พรรณี นักร้อง พิธีกร และดีเจชาวไทย
- 10 มกราคม -
- ไบรอัน คริสโตเฟอร์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เสียชีวิต 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561)
- ราโดวาน เคอร์ซิซ ผู้จัดการทีม หัวหน้าผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวเซอร์เบีย
- 14 มกราคม - ดิเอโก อันดราเด นักมวยสากลชาวเม็กซิโก
- 15 มกราคม -
- ยัง ยง-อึน นักกอล์ฟชาวเกาหลีใต้
- เออร์นี เรเยส จูเนียร์ นักแสดงและนักต่อสู้ป้องกันตัวชาวอเมริกัน
- 17 มกราคม -
- เค็ง ฮิราอิ นักร้องและนักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่น
- จเด็จ มีลาภ ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวไทย
- 19 มกราคม -
- เจ้าหญิงคาลินาแห่งบัลแกเรีย ดัชเชสแห่งแซกโซนี
- องอาจ สิงห์ลำพอง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- อาร์-ทรูธ นักมวยปล้ำอาชีพ, นักแสดง และแร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน
- 20 มกราคม -
- โซ ชัน-ฮวี นักร้องชาวเกาหลีใต้
- นิกกี เฮลีย์ อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติคนที่ 29
- วลาดีมีร์ กลาซูนอฟ ผู้ดำเนินรายการ, โปรดิวเซอร์ และผู้กำกับชาวรัสเซีย
- 22 มกราคม -
- พงษ์สิทธิ์ เวียงวิเศษ นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทย
- โรมิ พาร์ก นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- 23 มกราคม - จุมภฏ รวยเจริญทรัพย์ กรรมการผู้จัดการบริหารโรงงานโก๋แก่
- 24 มกราคม - ณัฐสิมา คุปตะวาทิน นักแสดงชาวไทย (เสียชีวิต 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
- 25 มกราคม - ชินจิ ทาเกฮาระ อดีตนักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 26 มกราคม - พงษ์นภา ดัสกร นักแสดงชาวไทย
- 27 มกราคม -
- ศิริพร อยู่ยอด นักแสดงชาวไทย
- มาร์ก โอเวน นักร้องชาวอังกฤษ
กุมภาพันธ์
[แก้]- 1 กุมภาพันธ์ -
- คริสทีอัน ซีเกอ อดีตนักฟุตบอลชาวเยอรมัน
- เลย์มาห์ โบวี นักเคลื่อนไหวสันติภาพแอฟริกา
- 2 กุมภาพันธ์ -
- ดานา อินเตอร์เนชันแนล นักร้องชาวอิสราเอล
- ฮิซาชิ (นักดนตรี) นักตนตรีชาวญี่ปุ่น
- 4 กุมภาพันธ์ - บือแลนท์ คาซิโลลู นักวอลเลย์บอลชาวตุรกี
- 5 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก
- 6 กุมภาพันธ์ -
- จตุตถพงศ์ รุมาคม นักดนตรีชาวไทย
- โมฮาเหม็ด อัลซารูนี กรรมการการแข่งขันฟุตบอลชาวเอมิเรสต์
- 8 กุมภาพันธ์ -
- 11 กุมภาพันธ์ -
- เครก โจนส์ นักดนตรีชาวอเมริกัน
- โนโบรุ ยามางูจิ นักเขียนไลต์โนเวล (ถึงแก่กรรม 4 เมษายน พ.ศ. 2556)
- ลีซา มาร์ตินเน็ค นักแสดงจากประเทศเยอรมนี (ถึงแก่กรรม 28 มิถุนายน พ.ศ. 2562)
- 14 กุมภาพันธ์ - ยาน ตัลลินน์ นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- 17 กุมภาพันธ์ - บิลลี โจ อาร์มสตรอง นักร้องและนักดนตรีชาวอเมริกัน
- 19 กุมภาพันธ์ -
- พีระพัฒน์ เถรว่อง นักร้อง, นักแต่งเพลง และอดีตนักร้องนำวงเครสเซนโด
- มัลกี มักคาย นักฟุตบอลชาวสกอตแลนด์
- 21 กุมภาพันธ์ - กันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา 5 สมัย
- 22 กุมภาพันธ์ - ไมเคิล ชาง นักเทนนิสชาวอเมริกัน
- 24 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงมังกูบูมี
- 26 กุมภาพันธ์ - เอ็ดเวิร์ด มโพฟู แชมป์นักมวยสากลชาวแอฟริกาใต้
- 27 กุมภาพันธ์ - พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล นักการเมืองชาวไทย
- 29 กุมภาพันธ์ -
- เปโดร ซันเชซ นักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวสเปน
- แอนโทนิโอ ซาบาโท จูเนียร์ นักแสดงชาวอิตาลี
มีนาคม
[แก้]- 1 มีนาคม - ชเว โย-ซัม นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้
- 2 มีนาคม -
- ทิม แบร์คมัน นักแสดงชายชาวเยอรมัน
- เมาริซิโอ โปเชติโน อดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวอาร์เจนตินา
- 6 มีนาคม -
- แชคิล โอนีล นักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน
- เกษม คมสันต์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 8 มีนาคม -
- ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1
- เฟอร์กัล โอไบรอัน นักสนุกเกอร์อาชีพชาวไอริช
- 10 มีนาคม -
- ลัควา ชิม นักมวยสากลชาวมองโกเลีย
- ไมเคิล ลูคัส นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์โป๊ชาวรัสเซีย
- ทิมบาแลนด์ แร็ปเปอร์ นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน
- 14 มีนาคม - เจนส์ ฮาร์เซอร์ นักแสดงชายชาวเยอรมัน
- 18 มีนาคม - ไรนซ์ พรีบัส นักกฎหมายและนักการเมืองชาวอเมริกัน
- 22 มีนาคม - เจ้าชายปีเตอร์-คริสเตียนแห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน
- 25 มีนาคม - นัฟตาลี เบนเนตต์ นักการเมืองอิสราเอล
- 26 มีนาคม - ต่อ ศรีอาชวนนท์ นักแข่งรถอาชีพชาวไทย
- 27 มีนาคม -
- สุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ชาร์ลี ฮาส นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- จิมมี โฟลยด์ ฮัสเซิลบังก์ นักฟุตบอลชาวเนเธอร์แลนด์
- 28 มีนาคม - จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมหาสารคาม เขต 4
- 29 มีนาคม -
- คงเดช จาตุรันต์รัศมี นักร้อง นักแต่งเพลง นักเขียนบทและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- รุย กอชตา นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
เมษายน
[แก้]- 1 เมษายน -
- ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม เขต 3
- รุ่ง จันตาบุญ สถาปนิกผู้ออกแบบหอคำหลวง
- 5 เมษายน - ยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ แอะนิเมเตอร์ ผู้กำกับซีรีส์โทรทัศน์และภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
- 10 เมษายน -
- เจ้า เหวินจั๋ว นักแสดงและนักศิลปะป้องกันตัวชาวจีน
- มาซากิ คาวาบาตะ แชมป์นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น
- 15 เมษายน - อาร์ตูโร กัตติ นักมวยสากลชาวแคนาดา (ถึงแก่กรรม 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552)
- 16 เมษายน - จุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฎ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพังงา 2 สมัย
- 17 เมษายน -
- หลักหิน ซีพียิม นักมวยสากลชาวไทย
- เจนนิเฟอร์ การ์เนอร์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ สถาปนิกชาวไทย
- 18 เมษายน - เจ้าหญิงอันเนตต์แห่งออเรนจ์-นัสเซา ฟัน โฟลเลินโฮเฟิน
- 19 เมษายน - รีวัลดู นักฟุตบอลชาวบราซิล
- 20 เมษายน -
- คาร์เมน อีเลกตรา นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน
- ฆาบิเอร์ แอลเลอร์ นักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ชาวสเปน (ถึงแก่กรรม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561)
- จักรวาร เสาธงยุติธรรม นักดนตรีชาวไทย
- 24 เมษายน - นภ พรชำนิ นักร้องชาวไทย
- 27 เมษายน - หนิง จิ้ง นักแสดงหญิงชาวจีน
- 29 เมษายน - ปทุมรัตน์ วรมาลี นางงาม/นางแบบชาวไทย
- 30 เมษายน - ฮิโรอากิ โมริชิมะ อดีตนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
พฤษภาคม
[แก้]- 1 พฤษภาคม - จามิน เหมพิพัฒน์ นักแสดงชาวไทย
- 2 พฤษภาคม - ดเวย์น จอห์นสัน นักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงชาวอเมริกัน
- 4 พฤษภาคม - ไมก์ เดินต์ นักดนตรีชาวอเมริกัน
- 6 พฤษภาคม - ชิโฮะ คิกูจิ นักพากย์หญิงชาวญี่ปุ่น
- 8 พฤษภาคม -
- แดเรน เฮส์ นักดนตรีชาวออสเตรเลีย
- ยาห์ยา กูเลย์ นักต่อสู้ชาวเยอรมัน
- 9 พฤษภาคม - ทามิกิ วากากิ นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น
- 11 พฤษภาคม - สุพจน์ อนวัชกชกร นักเขียนการ์ตูนว่า "SUPOT.A"
- 14 พฤษภาคม - หนึ่งเดียว ศักดิ์จารุพร นักมวยสากลชาวไทย
- 16 พฤษภาคม - อันด์แชย์ ดูดา ทนายความและนักการเมืองชาวโปแลนด์
- 18 พฤษภาคม - นาตยา จันทร์รุ่ง นักแสดงชาวไทย
- 20 พฤษภาคม - บัสตา ไรมส์ แร็ปเปอร์และนักแสดงชาวอเมริกัน
- 21 พฤษภาคม - เดอะโนทอเรียสบีไอจี แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 9 มีนาคม พ.ศ. 2540)
- 24 พฤษภาคม - ธนชัย อุชชิน นักร้องนำและนักดนตรีชาวไทย
- 25 พฤษภาคม - ออคตาเวีย สเปนเซอร์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- 26 พฤษภาคม -
- จอห์นนี่ บิงเก้ นักมวยสากลชาวออสเตรเลีย
- เซเลนิส เลย์วา นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- 27 พฤษภาคม - อีเวชี ซังกาลู นักร้อง, นักแต่งเพลง และนักแสดงชาวบราซิล
- 28 พฤษภาคม - เทียนทอง ทองพันชั่ง เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2547
- 30 พฤษภาคม - โซอิจิโร โฮชิ นักพากย์ชายชาวญี่ปุ่น
- 31 พฤษภาคม - อาร์ชี ปัญจาบี นักแสดงชาวสหราชอาณาจักร
มิถุนายน
[แก้]- 1 มิถุนายน - ชลาศัย ขวัญฐิติ อดีตหม่อมในหม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล
- 2 มิถุนายน -
- เวนท์เวิร์ท มิลเลอร์ นักแสดงและผู้เขียนบทภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
- สุวดี แสงสา นักแสดงและนางแบบชาวไทย
- 3 มิถุนายน - พาเมล่า เบาว์เด้นท์ นักร้องและนักแสดงชาวไทย
- 5 มิถุนายน - บั๊ก แองเจิล นักแสดงภาพยนตร์ลามกชาวอเมริกัน
- 7 มิถุนายน -
- ธนากร โปษยานนท์ นักแสดงชาวไทย
- คาร์ล เออร์บัน นักแสดงชาวนิวซีแลนด์
- 8 มิถุนายน - ตู้ เหวินเจ๋อ นักแสดงชาวฮ่องกง
- 11 มิถุนายน -
- เมทินี กิ่งโพยม นางแบบและนักแสดงชาวไทย
- อลัน วู นักแสดง, พิธีกร, อดีตวีเจเอ็มทีวี เอเชีย
- 12 มิถุนายน - แจ็ก โดน กรรมการมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 14 มิถุนายน - อิทธิพล มามีเกตุ นักพากย์ชายชาวไทย
- 16 มิถุนายน -
- จอห์น โช นักแสดงและนักดนตรีชาวเกาหลี-อเมริกัน
- เสาวลักษณ์ ศรีอรัญญ์ มิสทีนไทยแลนด์
- 19 มิถุนายน - ฌ็อง ดูว์ฌาร์แด็ง นักแสดง นักแสดงตลก และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส
- 21 มิถุนายน - เซเรนา ดาโอลีโอ นักร้องโซปราโนโอเปร่าอิตาลี
- 22 มิถุนายน -
- เจ้าชายเอมานูเอเล ฟีลีแบร์โตแห่งซาวอย เจ้าชายแห่งเวนิซ
- เอ็ดเวิร์ด เอสครีเบอร์ แชมป์นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- 23 มิถุนายน -
- ซีเนดีน ซีดาน นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- นิโคล เทริโอ นักร้องและนักแสดงชาวไทย-อเมริกัน
- 28 มิถุนายน -
- คำ ผกา นักเขียนชาวไทย
- จอน ไฮเดนไรช์ อดีตนักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- เดฟ ไฮแอตต์ โปรแกรมเมอร์ชาวอเมริกัน
- ปิยวัฒน พันธ์สายเชื้อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร เขต 1
- 29 มิถุนายน - ซาแมนธา สมิธ นักเคลื่อนไหวด้านสันติภาพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 25 สิงหาคม พ.ศ. 2528)
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม - กิดาวเพชร หนูห่วง นักร้องชายชาวลาว (ถึงแก่กรรม 24 เมษายน พ.ศ. 2563)
- 2 กรกฎาคม - ดาร์เรน โอชอนิสซี นักเขียนชาวไอริช
- 11 กรกฎาคม -
- แซมซั่น กระทิงแดงยิม นักมวยสากลชาวไทย
- ไมเคิล โรเซนบัม นักแสดง, โปรดิวเซอร์, นักร้อง และนักแสดงตลกชาวอเมริกัน
- 12 กรกฎาคม - ศุนทัร ปิจไช ประธานบริหารของบริษัทกูเกิล
- 13 กรกฎาคม - ฌอน วอลต์แมน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- 17 กรกฎาคม -
- Krueger Kurt นักวิทยาศาสตร์ลูกครึ่งไทย-เยอรมัน
- อันดรียัน กัซปารี แชมป์นักมวยสากลชาวอินโดนีเซีย
- 21 กรกฎาคม - สราวุธ คำบัว นักฟุตบอลระดับอาชีพจากประเทศไทย
- 25 กรกฎาคม - มาซายูกิ โอกาโนะ อดีตนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น
- 26 กรกฎาคม - เจสัน สเตธัม นักแสดง, นักศิลปะการต่อสู้ และอดีตนักกีฬากระโดดน้ำชาวอังกฤษ
- 27 กรกฎาคม - ชีค มุสซาฟาร์ ชูโกร์ แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและนักบินอวกาศชาวมาเลเซีย
- 28 กรกฎาคม - เจ้าชายชาลส์ หลุยส์ ดยุกแห่งชาร์ท
สิงหาคม
[แก้]- 1 สิงหาคม -
- ดี-วอน ดัดลีย์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- เจ้าหญิงซาราห์ เซอิดแห่งจอร์แดน
- เฮลมี ไฟซัล ไซนิ นักการเมืองจากประเทศอินโดนีเซีย
- 3 สิงหาคม - บริจิด แบรนนาฮ์ นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- 4 สิงหาคม - กัง คึมยอง แชมป์นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้
- 5 สิงหาคม - นราธร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสชาวไทย
- 6 สิงหาคม -
- ฆวน โดมิงโก กอร์โดบา นักมวยสากลชาวอาร์เจนตินา
- เจรี ฮัลลิเวลล์ นักร้องชาวอังกฤษ
- 7 สิงหาคม - เจอร์รี่ พีญาโลซ่า นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- 8 สิงหาคม - เซริกซาน เอซมากัมเบตอฟ นักมวยสากลชาวคาซัคสถาน
- 12 สิงหาคม -
- โจนาธาน โคชแมน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- มาร์ก เดวิส นักสนุกเกอร์อาชีพชาวอังกฤษ
- 14 สิงหาคม - ยู แจ-ซ็อก นักแสดงตลกและพิธีกรชาวเกาหลีใต้
- 15 สิงหาคม -
- สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ นักแสดงชาวไทย
- เบน แอฟเฟล็ก นักแสดงชาวอเมริกัน
- 20 สิงหาคม -
- กชกร นิมากรณ์ นักแสดงชาวไทย
- ชเว ยง-ซู นักมวยสากลชาวเกาหลีใต้
- 22 สิงหาคม -
- ดัชเชสไอลีคาแห่งอ็อลเดินบวร์ค
- เฟลิกซ์ มาชาโด แชมป์นักมวยสากลชาวเวเนซุเอลา
- ยุทธพล อังกินันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- 26 สิงหาคม - วันชนะ สวัสดี รองโฆษกกระทรวงกลาโหม
- 27 สิงหาคม -
- โจนัส แอนเดอร์สัน นักร้องชาวไทย
- เดอะเกรทคาลี โปรโมเตอร์ นักแสดง นักยกน้ำหนัก และนักมวยปล้ำอาชีพชาวอินเดีย
- ฮวน เอร์เรรา แชมป์นักมวยสากลชาวโคลอมเบีย
- 28 สิงหาคม -
- ธรัญญา สัตตบุศย์ นางแบบ และนักร้องหญิงชาวไทย
- อะมีเลีย เคอร์ติส นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ
- 29 สิงหาคม - แพ ยง-จุน นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 30 สิงหาคม -
- คาเมรอน ดิแอซ นักแสดงชาวอเมริกัน
- ปาเวล เนดเวต อดีตนักฟุตบอลอาชีพชาวเช็กเกีย
- ระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
กันยายน
[แก้]- 1 กันยายน - สุกัญญา มิเกล นักร้อง นักแสดง และอดีตนางแบบชาวไทย
- 4 กันยายน -
- นรพล ตันติมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นฤมล จิวังกูร นักร้องชาวไทย
- 6 กันยายน - อิดริส เอลบา นักแสดงชาวอังกฤษ
- 7 กันยายน - คูมิโกะ ฮายาชิ นักการเมืองจากประเทศญี่ปุ่น
- 8 กันยายน -
- โทโมกาซุ เซกิ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ อดีตกองหน้าทีมชาติไทย ลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศสและเวียดนาม
- 10 กันยายน - แสน นากา นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 11 กันยายน - นพพล เหลืองทองนารา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขต 2
- 12 กันยายน - ตรีนุช เทียนทอง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว 5 สมัย
- 13 กันยายน - เฉิน ฮุ่ยหลิน นักแสดงและนักร้องชาวฮ่องกง
- 15 กันยายน - สมเด็จพระราชินีเลตีเซียแห่งสเปน
- 20 กันยายน - พลพล พลกองเส็ง นักร้องชาวไทย
- 21 กันยายน - เลียม แกลลาเกอร์ นักร้องชาวอังกฤษ
- 22 กันยายน - แมทธิว รัช นักแสดงภาพยนตร์โป๊เกย์ชาวอเมริกัน
- 23 กันยายน - เจอร์เมน ดูปรี โปรดิวเซอร์เพลงชาวอเมริกัน
- 24 กันยายน - ฟินตี วิลเลียมส์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 26 กันยายน - อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร นักแสดง ดีเจ และผู้กำกับละครชาวไทย
- 27 กันยายน -
- กวินเน็ธ พัลโทรว์ นักแสดงชาวอเมริกัน
- ว. สุรพล แชมป์นักมวยสากลชาวไทย
ตุลาคม
[แก้]- 3 ตุลาคม -
- ธนัญชัย บริบาล นักฟุตบอลชาวไทย
- อเล็กซานดรา ฟอน เฟือร์สเทนแบร์ก
- 6 ตุลาคม -
- จณิสตา ลิ่วเฉลิมวงศ์ พิธีกรและนักการเมืองชาวไทย
- มาร์ก ชวาร์เซอร์ นักฟุตบอลชาวออสเตรเลีย
- 13 ตุลาคม -
- 15 ตุลาคม - อะห์มัด ฟันดี แชมป์นักมวยสากลชาวอินโดนีเซีย
- 17 ตุลาคม -
- ไวเคลฟ ฌอง นักดนตรีชาวเฮติ-อเมริกัน
- เอ็มมิเน็ม แร็ปเปอร์และนักแสดงชาวอเมริกัน
- 19 ตุลาคม -
- พราส แร็ปเปอร์ชาวเฮติ-อเมริกัน
- 21 ตุลาคม - มาซากาซุ โมริตะ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- 22 ตุลาคม - คาร์ล-คริสทิอัน แฟร์แนร์
- 23 ตุลาคม - จุง ฮายาชิ นักการเมืองจากประเทศญี่ปุ่น
- 25 ตุลาคม - ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ประกาศข่าวและบรรณาธิการข่าวอาเซียนของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
- 26 ตุลาคม - วันปีย์ สัจจมาร์ค ผู้ประกาศข่าวกีฬาช่อง 7 HD/นักกอล์ฟชาวไทย
- 30 ตุลาคม - กุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์ แอนเดอร์สัน พิธีกร ผู้ประกาศข่าว และนักแสดงชาวไทย
- 31 ตุลาคม - ไอ อีจิมะ นักแสดงภาพยนตร์เอวีชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน -
- คิม ฮัก-ชุล อดีตนักฟุตบอลชาวเกาหลีใต้
- ลูอิช ฟีกู นักฟุตบอลชาวโปรตุเกส
- 5 พฤศจิกายน - วราวุธ เลาหพงศ์ชนะ ผู้ประกาศข่าว พิธีกร ทาง ช่อง 3 เอชดี
- 10 พฤศจิกายน - คัทลียา แมคอินทอช นักแสดงและพิธีกรชาวไทย
- 13 พฤศจิกายน - ฮี ลิผิง นักซอฟต์บอลจากประเทศจีน
- 14 พฤศจิกายน -
- แมตต์ บลูม นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน
- จอช เดอเมล นักแสดงและนายแบบชาวอเมริกัน
- ตรัย ภูมิรัตน นักร้อง/นักแต่งเพลงชาวไทย
- 16 พฤศจิกายน - ซันนี ยูโฟร์ นักร้องและนักแสดงชาวไทย (ถึงแก่กรรม 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565)
- 17 พฤศจิกายน -
- เฟลิกซ์ นารังโฮ นักมวยสากลชาวโคลอมเบีย
- วิลปาเร จัมฮูร์ แชมป์นักมวยสากลชาวอินโดนีเซีย
- 19 พฤศจิกายน - ทากูยะ คิมูระ นักร้องและนักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 20 พฤศจิกายน - ลูกนก สุภาพร นักร้องชาวไทย
- 21 พฤศจิกายน -
- พรเดชา สุขารมณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเดชา (ถึงแก่กรรม 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
- แพ ซ็อง-วู นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 23 พฤศจิกายน -
- คาโลลีนา แบล็กเบิร์น นักมวยไทยชาวฟินแลนด์
- โรเบร์โต ปาดียา แชมป์นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- 28 พฤศจิกายน - ฮิโรชิ นานามิ อดีตนักฟุตบอล ผู้จัดการทีมชาวญี่ปุ่น
- 29 พฤศจิกายน - หลวงไก่ อาร์ สยาม นักร้องชาวไทย
ธันวาคม
[แก้]- 4 ธันวาคม -
- ชาร์ลี ฮืบเนอร์ นักแสดงชาวเยอรมัน
- ไม โฮชิกาวะ นักพากย์หญิงชาวญี่ปุ่น
- 5 ธันวาคม - อามีร์ มูฮัมมัด นักเขียนและนักสร้างภาพยนตร์อิสระ
- 9 ธันวาคม -
- ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
- เทร คูล นักดนตรีชาวอเมริกัน
- รีโก ไอเลสเวิร์ท นักแสดงชาวอเมริกัน
- อาภาภรณ์ พุทธปวน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน 2 สมัย
- 10 ธันวาคม - โดนาวอน แฟรงเคนไรเทอร์ นักร้องและนักโต้คลื่นชาวอเมริกัน
- 15 ธันวาคม - สจวร์ต ทาวน์เซนด์ อดีตนักแสดงชาวไอริช
- 17 ธันวาคม - จอห์น อับราฮัม (นักแสดง) นักแสดงชาวอินเดีย
- 18 ธันวาคม - ชินจิ ทาเกดะ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น
- 22 ธันวาคม - ศิตา เมธาวี นักแสดงชาวไทย
- 23 ธันวาคม - อัจฉรา ทองเทพ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 27 ธันวาคม -
- เจ้าชายมานูเอลแห่งบาวาเรีย
- อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ นางสาวไทยคนที่ 30 พ.ศ. 2535
- 28 ธันวาคม -
- ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ นักแสดงชาวไทย
- แพทริก ราฟเตอร์ นักเทนนิสชาวออสเตรเลีย
- 29 ธันวาคม - จู๊ด ลอว์ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 31 ธันวาคม - โจอี แม็กอินไทร์ นักแสดงและนักร้องชาวอเมริกัน
ไม่ทราบ
[แก้]- เควนติน ชง อดีตนักมวยไทยระดับอาชีพชาวแอฟริกาใต้
- เคอิจิ ซิกซาวา นามปากกาของ เคอิจิ ชิงูซาวะ
- โซ เหลียง อิง ชาวฮ่องกง
- ปวิณ สุวรรณชีพ นักดนตรีชาวไทย
- มุกห์ตารัน บีบี หญิงชาวปากีสถาน
- มีเกล บีลา อูบัช นักกีฬาขี่ม้าชาวสเปน
- รอนนี่ มากราโม แชมป์นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- สักก์ดนัย ณ เชียงใหม่ นักธุรกิจชาวไทย (ถึงแก่กรรม 10 มีนาคม พ.ศ. 2553)
- อนุตตมา อมรวิวัฒน์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ
- อีริก ลาเรย์ ฮาร์วีย์ นักแสดงชาวอเมริกัน
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 14 มกราคม - สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก (พระราชสมภพ 11 มีนาคม พ.ศ. 2442)
- 30 มกราคม - ศรคีรี ศรีประจวบ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2487)
- 31 มกราคม - สมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาล (พระราชสมภพ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
- 27 มีนาคม - เมาริตส์ กอร์เนลิส แอ็ชเชอร์ ศิลปินชาวเนเธอร์แลนด์ (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2441)
- 6 เมษายน - ไฮน์ริช ลุบเก ประธานาธิบดีคนที่ 6 แห่งประเทศเยอรมนี (เกิด 14 ตุลาคม พ.ศ. 2437)
- 16 เมษายน - ยะซุนะริ คะวะบะตะ นักเขียนชาวญี่ปุ่น (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2442)
- 27 เมษายน - กวาเม อึนกรูมา ประธานาธิบดีคนที่ 1 แห่งประเทศกานา (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2452)
- 4 พฤษภาคม - เอ็ดเวิร์ด แคลวิน เคนดัลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน (เกิด 8 มีนาคม พ.ศ. 2429)
- 28 พฤษภาคม - สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร (พระราชสมภพ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2437)
- 7 กรกฎาคม - สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน (พระราชสมภพ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452)
- 21 กรกฎาคม - สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี วังชุก (พระราชสมภพ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2472)
- 27 กรกฎาคม - ริชาร์ด นีโคเลาส์ ฟอน คูเดินโฮฟ-คาแลร์กี นักการเมือง นักภูมิรัฐศาสตร์ และนักปรัชญาชาวออสเตรีย-ญี่ปุ่น (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437)
- 11 สิงหาคม - แมกซ์ ไทเลอร์ นักวิทยาไวรัสชาวแอฟริกาใต้ (เกิด 30 มกราคม พ.ศ. 2442)
- 29 สิงหาคม - ไพบูลย์ บุตรขัน นักแต่งเพลงชาวไทย (เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2459)
- 1 ตุลาคม - หลุยส์ ลีกคี นักบรรพชีวินวิทยา (เกิด 7 สิงหาคม พ.ศ. 2446)
- 17 ตุลาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี (ประสูติ 12 มกราคม พ.ศ. 2436)
- 19 ตุลาคม - สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านซะอีด บิน เตมัวร์ (พระราชสมภพ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2453)
- 20 ตุลาคม - ฮาร์โลว์ แชปลีย์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428)
- 10 พฤศจิกายน - หม่อมเจ้าธงไชยสิริพันธ์ ศรีธวัช (ประสูติ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2433)
- 28 พฤศจิกายน - เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (ประสูติ 18 มกราคม พ.ศ. 2451)
- 2 ธันวาคม - หยิปหมั่น นักศิลปะป้องกันตัวชาวจีน (เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436)
- 12 ธันวาคม - เจนีวีฟ คอล์ฟิลด์ สตรีตาบอดชาวอเมริกัน ผู้ริเริ่มตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอดในไทย (เกิด 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2431)
- 15 ธันวาคม - เอ็ดเวิร์ด เอิร์ล (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2425)
- 26 ธันวาคม - แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประธานาธิบดีคนที่ 33 แห่งสหรัฐอเมริกา (เกิด 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2427)
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- มิวนิก (Munich) (เข้าฉายปี พ.ศ. 2548) - เนื้อเรื่องอ้างอิงถึงเหตุการณ์สังหารหมู่นักกีฬาชาวอิสราเอลในนครมิวนิก ประเทศเยอรมนี ที่เกิดขึ้นในปีนี้
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – Christian B. Anfinsen, Stanford Moore, William H. Stein
- สาขาวรรณกรรม – ไฮน์ริค เบิลล์
- สาขาสันติภาพ – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาฟิสิกส์ – จอห์น บาร์ดีน, ลีออน นีล คูเปอร์, จอห์น โรเบิร์ต ชริฟเฟอร์
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – เจอรัลด์ เอ็ม. เอเดลแมน, รอดนีย์ อาร์. พอร์เตอร์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – John Hicks, Kenneth Arrow