ข้ามไปเนื้อหา

คู่กรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คู่กรรม [[ไฟล์:Flag of Thailand.svg|23x15px|border |alt=ไทย|link=ไทย]] [[ประเทศไทย]]&rft.pages=701 (สองเล่ม)">
ผู้ประพันธ์ทมยันตี (วิมล เจียมเจริญ)
ประเทศไทย ประเทศไทย
ภาษาไทย ภาษาไทย
ประเภทโศกนาฏกรรมและวีรคติ
สำนักพิมพ์นิตยสารศรีสยาม
พิมพ์ในภาษาไทย
พ.ศ. 2512
หน้า701 (สองเล่ม)
ISBN9786117052040
เรื่องถัดไปคู่กรรม 2 

คู่กรรม เป็นนวนิยายแนวโศกนาฏกรรมและวีรคติ ประพันธ์โดย ทมยันตี ดำเนินเรื่องที่มีฉากหลังในประเทศไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อราวปี พ.ศ. 2508 จากการเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี และเข้าชมสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรักที่ฝังร่างของเหล่าทหารสัมพันธมิตร โดยสะดุดใจเมื่อเห็นคำจารึกถึงบนหลุมศพทหารสัญชาติเนเธอร์แลนด์คนหนึ่ง เมื่อสอบถามดูได้ความว่าเป็นลูกชายเพียงคนเดียวของครอบครัวที่มาเสียชีวิตลงที่ประเทศไทย โดยที่ผู้เป็นพ่อแม่มิอาจมาร่วมฝังศพของลูกชายได้[1]

คู่กรรม เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ตีพิมพ์เป็นตอนในนิตยสารศรีสยาม (ในเครือนิตยสารขวัญเรือน)[2] และรวมเล่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 แล้วตีพิมพ์มาหลายครั้ง มีภาคต่อคือ คู่กรรม 2 ถือว่าเป็นบทประพันธ์ที่ชื่อเสียงมากที่สุดเรื่องหนึ่งของทมยันตี

คู่กรรม ได้รับการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์แล้วหลายครั้ง เริ่มจาก ช่อง 4 บางขุนพรหม เป็นละครถึง 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2513, พ.ศ. 2515 และต่อมาทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ในปี พ.ศ. 2521 ครั้งสำคัญเป็นละครทางช่อง 7 สี ในปี พ.ศ. 2533 เป็นละครที่สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดอันดับ 1 ของเมืองไทยตลอดกาล เรตติ้ง 40 [3][4] และได้รับรางวัลทั้งเมขลาและโทรทัศน์ทองคำในปีเดียวกัน หลังจากนั้นได้นำมาสร้างใหม่เป็นละครทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2547 (มีภาคต่อคือ คู่กรรม 2)

คู่กรรม ยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2538 ซึ่งทั้ง 2 ครั้งหลังได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมรางวัลตุ๊กตาทองไปทั้งคู่

นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงเป็นละครเวที โดยค่ายดรีมบอกซ์ เมื่อกลางปี พ.ศ. 2547 แสดงที่โรงละครกรุงเทพ และกลางปี พ.ศ. 2550 แสดงที่โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส

และในปี พ.ศ. 2556 มีการออกอากาศ คู่กรรม เป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในปีเดียวกัน ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกัน โดยเวอร์ชั่นละครโทรทัศน์ผลิตโดยเอ็กแซ็กท์และซีเนริโอ ออกอากาศทางช่อง 5 และเวอร์ชั่นภาพยนตร์สร้างโดยเอ็ม เทอร์ตี้ไนน์ ซึ่งทำให้เกิดการเปรียบเทียบระหว่างคู่กรรมทั้ง 2 เวอร์ชั่นจากผู้รับชม[5]

ละครโทรทัศน์

[แก้]

คู่กรรม ได้รับการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) รวม 6 ครั้ง ได้แก่

ปี โกโบริ อังศุมาลิน สถานีโทรทัศน์
พ.ศ. 2513 มีชัย วีระไวทยะ บุศรา นฤมิตร ช่อง 4
พ.ศ. 2515 ชนะ ศรีอุบล ผาณิต กันตามระ ช่อง 4
พ.ศ. 2521 นิรุตติ์ ศิริจรรยา ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ช่อง 9
พ.ศ. 2533 ธงไชย แมคอินไตย์ กมลชนก โกมลฐิติ ช่อง 7
พ.ศ. 2547 ศรราม เทพพิทักษ์ พรชิตา ณ สงขลา ช่อง 3
พ.ศ. 2556 สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว หนึ่งธิดา โสภณ ช่อง 5

ภาพยนตร์

[แก้]

คู่กรรม ได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 4 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2516, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2556 ได้แก่

ปี โกโบริ อังศุมาลิน วนัส วันที่เข้าฉาย
พ.ศ. 2516 นาท ภูวนัย ดวงนภา อรรถพรพิศาล
มร. หลิงลีจู
สายัณห์ จันทรวิบูลย์ 31 สิงหาคม
พ.ศ. 2531 วรุฒ วรธรรม จินตหรา สุขพัฒน์ นัย สุขสกุล 12 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2538 ธงไชย แมคอินไตย์ อาภาศิริ นิติพน ธีรภัทร์ สัจจกุล 11 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2556 ณเดชน์ คูกิมิยะ อรเณศ ดีคาบาเลส นิธิศ วารายานนท์ 4 เมษายน

ละครเวที

[แก้]

ดูบทความหลักที่ คู่กรรม เดอะมิวสิคัล

คู่กรรมได้รับการดัดแปลงสร้างเป็นละครเวที ในรูปแบบ ละครเพลง (sung-through musical) กลางปี พ.ศ. 2547 โดยค่ายดรีมบอกซ์ กำกับการแสดงโดย สุวรรณดี จักราวรวุธ แสดงที่โรงละครกรุงเทพ

จากนั้นได้กลับมาแสดงอีกครั้ง กลางปี พ.ศ. 2550 โดยทีมงานชุดเดิมทั้งหมด แสดงที่ โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สัมภาษณ์ทมยันตี คู่กรรม(2538) จากรายการเกาะกล่องหนังไทย ทางไทยพีบีเอส
  2. พนิดา ชอบวณิชชา, ชุติมา ศรีทอง. The 40-Years-Old-Magazine, The Legend of ขวัญเรือน. กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2552. 256 หน้า. ISBN 978-611-7079-03-0
  3. ข่าวเจาะประเด็น ช่อง 7, 17 เม.ย. 2555, ช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ "ตอนอวสานโกโบริ",สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดของละครไทย เรตติ้ง 40
  4. ข่าวเช้าวันนี้ที่หมอชิต ช่อง 7, 20 สิงหาคม 2555, "ตอนปิดตำนานอังศุมาลิน",ละครที่เรตติ้งสูงสุดของประวัติศาสตร์ละครไทย
  5. "จับผิดภาพโปรโมตหนัง "คู่กรรม" เวอร์ชัน "ณเดชน์" เสาอากาศทีวีเพียบ!?". ผู้จัดการออนไลน์. 30 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. “คู่กรรม” วรรณกรรมอมตะ ที่ถ่ายทอดเป็นละคร และภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า[ลิงก์เสีย]
  7. ละครโทรทัศน์คู่กรรม พ.ศ. 2547
  8. ละครโทรทัศน์คู่กรรม พ.ศ. 2556
  9. "ออกอากาศละครคู่กรรม พ.ศ. 2556". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]