ข้ามไปเนื้อหา

คำแนะนำและยินยอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชปรารถในกฎหมายไทย
พระราชปรารถในกฎหมายไทย

คำแนะนำและยินยอม (อังกฤษ: advice and consent) หรือ โดยคำแนะนำและยินยอม (อังกฤษ: by and with the advice and consent) เป็นวลีที่มักใช้เป็นถ้อยบัญญัติร่างกฎหมายในหลายระดับทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ

ทั่วไป

[แก้]

ถ้อยคำเช่นนี้มักใช้ในกรณีที่ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจค่อนข้างจำกัดจำเขี่ยในทางปฏิบัติ และมักปรากฏในส่วนปรารภของบทกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติจัดทำขึ้น เช่น ในสหราชอาณาจักร ร่างพระราชบัญญัติจะปรากฏพระราชปรารภว่า

"BE IT ENACTED by the Queen's most Excellent Majesty, by and with the advice and consent of the Lords Spiritual and Temporal, and Commons, in this present Parliament assembled, and by the authority of the same, as follows:"

ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า

"จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาซึ่งสภาสามัญชนและสภาขุนนางทั้งสองสภาประชุมประกอบกันขึ้นนี้ และโดยอำนาจแห่งรัฐสภานั้น ดังต่อไปนี้"

ถ้อยบัญญัติข้างต้นเน้นย้ำว่า ถึงแม้สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักรจะทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น แต่ก็มิใช่เป็นการริเริ่มโดยพระองค์เอง รัฐสภาต่างหากที่ตรากฎหมายนี้ขึ้นในทางปฏิบัติ

ประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทยใช้ถ้อยบัญญัติลักษณะเดียวกับของสหราชอาณาจักร เช่น พระราชบัญญัติทั้งหลายจะปรากฏพระราชปรารภตอนหนึ่งว่า

"จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้"

("BE IT ENACTED by the King's most Excellent Majesty, by and with the advice and consent of the National Assembly, as follows:")

ดูเพิ่ม

[แก้]