ข้ามไปเนื้อหา

คานาอัน

พิกัด: 32°N 35°E / 32°N 35°E / 32; 35
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คานาอัน

𐤊𐤍𐤏𐤍 (ฟินิเชีย)
כְּנַעַן (ฮีบรู)
Χανααν (Biblical Greek)
كَنْعَانُ (อาหรับ)
แผนที่คานาอันในยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย
แผนที่คานาอันในยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย
พิกัด: 32°N 35°E / 32°N 35°E / 32; 35
หน่วยการเมืองและ ผู้คน
กลุ่มภาษาคานาอัน

คานาอัน (อังกฤษ: Canaan; ฟินิเชีย: 𐤊𐤍𐤏𐤍KNʿN;[1] ฮีบรู: כְּנַעַןKənáʿan, in pausa כְּנָעַןKənāʿan; Biblical Greek: ΧαναανKhanaan;[2] อาหรับ: كَنْعَانُKan‘ān) คือภูมิภาคและอารยธรรมที่พูดภาษากลุ่มเซมิติกในลิแวนต์ตอนใต้ในตะวันออกใกล้โบราณเมื่อช่วงปลายสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช คานาอันมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างมากในยุคสัมฤทธิ์ตอนปลาย สมัยอามาร์นา (ศตวรรษที่ 14 ก่อน ค.ศ.) เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่เขตอิทธิพลของอียิปต์, ฮิตไทต์, มิตันนี และจักรวรรดิอัสซีเรียบรรจบกันหรือทับซ้อนกัน ข้อมูลเกี่ยวกับคานาอันในปัจจุบันส่วนมากมาจากการขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่อย่าง Tel Hazor, Tel Megiddo, En Esur และ Gezer

ชื่อ "คานาอัน" ที่ปรากฏทั่วคัมภีร์ไบเบิลในฐานะพื้นททางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ "แผ่นดินแห่งพระสัญญา" ส่วนชื่อเรียก "ชาวคานาอัน" ทำหน้าที่เป็นคำที่เรียกครอบคลุมกลุ่มชาติพันธุ์ในประชากรพื้นเมืองต่าง ๆ (ทั้งตั้งถิ่นฐานและร่อนเร่) ทั่วภูมิภาคลิแวนต์ตอนใต้หรือคานาอัน[3] โดยเป็นศัพท์ทางชาติพันธุ์ที่มีการใช้งานมากที่สุดในคัมภีร์ไบเบิล[4] มาร์ก สมิธ นักวิชาการคัมภีร์ไบเบิล อ้างการค้นพบทางโบราณคดี โดยกล่าวแนะว่า "วัฒนธรรมอิสราเอลส่วนใหญ่ทับซ้อนและรับมาจากวัฒนธรรมคานาอัน... กล่าวโดยย่อคือ วัฒนธรรมอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นแบบคานาอันตามธรรมชาติ (in nature)"[5]: 13–14 [6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. British Museum. Department of Coins and Medals; Sir George Francis Hill (1910). Catalogue of the Greek Coins of Phoenicia. order of the Trustees. p. 52. OCLC 7024106.
  2. The current scholarly edition of the Greek Old Testament spells the word without any accents, cf. Septuaginta : id est Vetus Testamentum graece iuxta LXX interpretes. 2. ed. / recogn. et emendavit Robert Hanhart. Stuttgart : Dt. Bibelges., 2006 ISBN 978-3-438-05119-6. However, in modern Greek the accentuation is Xαναάν, while the current (28th) scholarly edition of the New Testament has Xανάαν.
  3. Brody, Aaron J.; King, Roy J. (1 December 2013). "Genetics and the Archaeology of Ancient Israel". Wayne State University. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
  4. Dever, William G. (2006). Who Were the Early Israelites and Where Did They Come From?. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 219. ISBN 9780802844163. Canaanite is by far the most common ethnic term in the Hebrew Bible. The pattern of polemics suggests that most Israelites knew that they had a shared common remote ancestry and once common culture.
  5. Tubb, Johnathan N. (1998). Canaanites. British Museum People of the Past. University of Oklahoma Press. ISBN 9780806131085. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.
  6. Smith, Mark S. (2002). The Early History of God: Yahweh and Other Deities of Ancient Israel. Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 6–7. ISBN 9780802839725. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018. Despite the long regnant model that the Canaanites and Israelites were people of fundamentally different culture, archaeological data now casts doubt on this view. The material culture of the region exhibits numerous common points between Israelites and Canaanites in the Iron I period (ป.  1200–1000 BC). The record would suggest that the Israelite culture largely overlapped with and derived from Canaanite culture... In short, Israelite culture was largely Canaanite in nature. Given the information available, one cannot maintain a radical cultural separation between Canaanites and Israelites for the Iron I period.
  7. Rendsberg, Gary (2008). "Israel without the Bible". ใน Greenspahn, Frederick E. (บ.ก.). The Hebrew Bible: New Insights and Scholarship. NYU Press. pp. 3–5. ISBN 9780814731871. สืบค้นเมื่อ 9 October 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]