คอนแชร์โต
คอนแชร์โตของ Handel (อังกฤษ: concerto) คือ เป็นการประพันธ์เพลงรูปแบบหนึ่ง ส่วนมากมีสามท่อน (three-parts) ในอัตราจังหวะเร็ว-ช้า-เร็ว ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีการเล่นประชันกัน โดยอาจจะเป็นการเดี่ยวเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรี หรือกลุ่มเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรีก็ได้
ความเป็นมาของคอนแชร์โตในแต่ละยุค
[แก้]คอนแชร์โตเริ่มมีมาตั้งแต่ยุคบาโรค โดยเริ่มแรกนั้นเป็นการประชันกันระหว่างกลุ่มนักดนตรีเดี่ยวกับวงดนตรี ต่อมาในยุคคลาสสิกฝีมือการเดี่ยวเครื่องดนตรีของนักดนตรีพัฒนาขึ้นไปจนนักดนตรีสามารถเดี่ยวประชันกับวงดนตรีทั้งวงได้ ในยุคคลาสสิกจึงเกิดการประชันระหว่างนักดนตรีเดี่ยว (solo) กับวงดนตรี ส่วนบทบาทของวงดนตรีคือเล่นสนับสนุนผู้เดี่ยวเท่านั้น มิได้เป็นการประชันด้วยบทบาทที่เท่าเทียมกัน จนถึงยุคโรแมนติกวงดนตรีก็เล่นประชันกับผู้เดี่ยวด้วยบทบาทที่ไม่แตกต่างกันมากนัก จนถึงศตวรรษที่ 20 ความสามารถของนักดนตรีทุกคนในวงมีความสามารถบรรเลงเดี่ยวได้ นักแต่งเพลงจึงสร้างแนวเดี่ยวให้นักดนตรีในวงได้มีโอกาสเดี่ยวได้เหมือนกันหมด
ประเภทของคอนแชร์โต
[แก้]- คอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว (concerto grosso)
- เป็นบทเพลงที่มีการประชันกันระหว่างกลุ่มเครื่องดนตรีกับวงดุริยางค์ เรียกกลุ่มเดี่ยวว่า คอนแชร์ติโน (concertino) เรียกกลุ่มใหญ่หรือวงดนตรีทั้งวงว่า ริปิเอโน (ripieno) กลุ่มเดี่ยวมักประกอบด้วยนักดนตรี 2 ถึง 5 คน มีแนวเดี่ยวร่วมกันด้วยลีลาที่เด่นกว่าวง ลักษณะที่พบในคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยวมักมีรูปแบบที่ไม่แน่นอน พบทั้งแบบสองตอน (two-part)และสามตอน (three-part) แต่ที่นิยมใช้ในคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว ก็คือ กระบวนการที่เรียกว่า ริตอร์เนลโล (ritornello) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรอนโด
- คอนแชร์โตเดี่ยว (solo concerto)
- เป็นบทเพลงที่มีการประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงดุริยางค์ ประกอบด้วย 3 ท่อน ในอัตราเร็ว-ช้า-เร็ว ลักษณะในแต่ละท่อนมีความชัดเจนมากกว่าในคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว เครื่องดนตรีที่นิยมในการเดี่ยว ได้แก่ เปียโน ไวโอลิน เชลโล่
- คอนแชร์โตสำหรับวงดุริยางค์ (orchestral concerto)
- เป็นบทเพลงที่มีการประชันกันระหว่างนักดนตรีทุกคน หรือเกือบทุกคนในวงดุริยางค์ ไม่ได้มีการแยกกลุ่มที่เด่นชัด คอนแชร์โตชนิดนี้เกิดขึ้นเพราะความสามารถของนักดนตรีในวงอยู่ในขั้นที่แสดงเดี่ยวได้ทุกคน นักแต่งเพลงจึงให้ทุกแนวเล่นด้วยเทคนิคยาก ๆ ในระดับเดี่ยว แต่จะไม่มีนักดนตรีคนใดคนหนึ่งเด่นกว่าคนอื่นในวง ลักษณะค่อนข้างอิสระ ไม่ตายตัว พบบทเพลงประเภทนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เท่านั้น
ตัวอย่างเพลงประเภทคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว (concerto grosso)
[แก้]- Christmas Concerto - Corelli
- Brandenburg Concerto - Bach
- Concerto Grosso in D minor, Op.3, No.1 - Antonio Vivaldi
- Concerto Grosso in G major, Op.6, No.1 - Handel
- Concerto Grosso no.1 - Bloch
ตัวอย่างเพลงประเภทคอนแชร์โตเดี่ยว (solo concerto)
[แก้]- เปียโนคอนแชร์โต
- Concerto in D minor, K.466, No.20 - Mozart
- Concerto No.1 in B-flat minor Op.23 - Tchaikovsky
- Concerto No.2 in F minor, Op.21 - Chopin
- Concerto No.1 in E minor, Op.11 - Chopin
- Concerto No.5 in E-flat major, Op.73, "Emperor" - Beethoven
- Concerto in C minor, No.2 - Rachamaninov
- Concerto No.1 in E-flat - Liszt
- Concerto No.2 in A - Liszt
- ไวโอลินคอนแชร์โต
- Concerto in E minor, Op.64 - Mendelssohn
- Concerto in D major, Op.35 - Tchaikovsky
- Concerto Op.77 - Brahms
- Concerto in D, Op.61 - Beethoven
- Concerto No.3 in G, K.216 - Mozart
อ้างอิง
[แก้]- http://www.royin.go.th/upload/83/FileUpload/664_3234.pdf
- http://www.chintakarn.com/journal/may45/concerto.html เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์, ณัชชา โสคติยานุรักษ์