ข้ามไปเนื้อหา

ความไม่สงบในอาเจะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความไม่สงบในจังหวัดอาเจะฮ์
ส่วนหนึ่งของ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย, การก่อการร้ายในประเทศอินโดนีเซีย

ผู้นำและทหารสตรีของขบวนการปลดปล่อยอาเจะฮ์ ภาพถ่ายปี 1999
วันที่4 ธันวาคม 1976 – 15 สิงหาคม 2005
(28 ปี 8 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ผล

อินโดนีเซียชนะ; การลงนามสนธิสัญญาเฮลซิงกิ

คู่สงคราม
 อินโดนีเซีย
สนับสนุนโดย:
 สหรัฐอเมริกา[1]
ขบวนการปลดปล่อยอาเจะฮ์
สนับสนุนโดย:
ลิเบีย[2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ซูอาร์โต
บีเจ ฮาบีบี
อับดูระฮ์มัน วาฮีด
เมกวัตตี ซูการ์โนปูตรี
ซูลีโซ บัมบัง ยูโดโยโน
ฮาซัน ดี ตีโร
ไซนี อับดูลละฮ์
Abdullah Syafei'i [3]
มูซากีร์ มานัฟ
Sofyan Daud
Ayah Muni [4]
กำลัง
อินโดนีเซีย 12,000 (1990)[5]
อินโดนีเซีย 30,000 (2001)[5]
อินโดนีเซีย 35,000[6]–50,000 (2003)[5]
25 (1976)[7]
200 (1979–1989)[7]
15,000–27,000 (1999)[7]
3,000 (2005)[8]
ความสูญเสีย
น้อยกว่า 100[9]

พลเรือนและทหารเสียชีวิตรสม:
100 (1976–79)[7]
2,000–10,000 (1991–1992)[7]
393 (1993)[7]
1,041 (2000)[7]
1,700 (2001)[7]
1,230 (2002)[7]

รวม: 15,000[10]

ความไม่สงบในอาเจะฮ์ หรือชื่อทางการโดยรัฐบาลอินโดนีเซียคือ การกบฏในจังหวัดอาเจะฮ์ (อินโดนีเซีย: Pemberontakan di Aceh) เป็นความขัดแย้งที่ขบวนการปลดปล่อยอาเจะฮ์ (GAM) นำการต่อสู้ในระหว่างปี 1976 ถึง 2005 โดยมีเป้าหมายในการประกาศเอกราชให้กับอาเจะฮ์เป็นอิสระจากประเทศอินโดนีเซีย หลังการโจมตีทางยุทธการอย่างหนักในปี 2003 ประกอบกับเหตุแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียในปี 2004 ได้นำไปสู่ข้อตกลงสันติภาพและสิ้นสุดความไม่สงบลงอย่างเป็นทางการในปี 2005[11]

ข้อตกลงสันติภาพบรรลุผลในปี 2005 ถือเป็นการสิ้นสุดสงครามยาวนาน 29 ปี อินโดนีเซียยุคหลังซูฮาร์โตเข้าสู่การปฏิรูปประชาธิปไตยเสรีนิยม ประกอบกับการปรับเปลี่ยนภายในกองทัพ ช่วยให้บรรยากาศเหมาะสมขึ้นกับการเจรจาสันติภาพ ประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ซึ่งพึ่งได้รับเลือกตั้งมา มีบทบาทอย่างมากในการเจรจาสันติภาพนี้[12] การเจรจาสันติภาพนี้ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการบริหารจัดการวิกฤต และอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ มาร์ทที อาทีซารี เป็นผู้นำการเจรจา[13] ข้อตกลงสันติภาพลงนามในวันที่ 15 สิงหาคม 2005 ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีใจความมอบสถานะการปกครองตนเองให้แก่จังหวัดอาเจะฮ์, ให้ถอนกำลังทหารอินโดนีเซียที่ไม่ใช่คนอาเจะฮ์ออก เหลือทหารอินโดนีเซียประจำในอาเจะฮ์เพียง 25,000 นาย แลกกับการสลายตัวของกองกำลังปลดปล่อยอาเจะฮ์ และให้มีการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นขึ้นในอาเจะฮ์ ซึ่งมีขึ้นในปี 2006

ภูมิหลัง

[แก้]
ที่ตั้งของจังหวัดอาเจะฮ์ในประเทศอินโดนีเซีย

อาเจะฮ์มีความแตกต่างทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจากที่เหลือของอินโดนีเซีย ในอาเจะฮ์นั้น การปฏิบัติศาสนาอิสลามเป็นรูปแบบที่อนุรักษนิยมมากกว่า และนโยบายซึ่งโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นโลกวิสัยชองซูฮาร์โต ในระบบระเบียบใหม่ (1965–1998) ไม่ได้รับความนิยมสูงเป็นพิเศษในอาเจะฮ์ โดยถูกมองว่าเป็นนโยบายจากรัฐบาลที่พยายามสนับสนุนวัฒนธรรมอินโดนีเซียหลักกลาง[14] นอกจากนี้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของอาเจะฮ์ซึ่งอยู่ปลายตอนเหนือของประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดความรู้สึกไปทั่วว่าผู้นำในจาการ์ตาที่อยู่ห่างออกไปนั้นไม่ได้เข้าใจปัญหาของอาเจะฮ์ รวมถึงไม่มีความใส่ใจหรือเห็นใจต่อความต้องการและวัฒนธรรมประเพณีของอาเจะฮ์[15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "U.S. Weapons Aid Repression in Aceh". 11 June 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-22. สืบค้นเมื่อ 2023-11-17.
  2. name=Aspinall_Islam_105>Aspinall (2009), p. 105
  3. Indonesia – OCHA consolidated situation report No. 60 http://reliefweb.int/report/indonesia/indonesia-ocha-consolidated-situation-report-no-60#sthash.zrgPBcJj.dpuf ReliefWeb, 25 January 2002
  4. TNI claims to have shot GAM commander เก็บถาวร 3 มิถุนายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Jakarta Post, 30 May 2011
  5. 5.0 5.1 5.2 Uppsala conflict data expansion. Non-state actor information. Codebook pp. 295–296
  6. Global Security – Free Aceh Movement
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 Michael L.Ross (2007). "Resources and Rebellion in Aceh , Indonesia" เก็บถาวร 30 ตุลาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF), pp. 6. The World Bank.
  8. ECP. Annuario 2006 de procesos de paz. Vicenç Fisas เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน pág. 75.
  9. Paul, Christopher; Clarke, Colin P.; Grill, Beth; Dunigan, Molly (2013). "Indonesia (Aceh), 1976–2005". Paths to Victory. RAND Corporation. pp. 403–414. ISBN 9780833081094. JSTOR 10.7249/j.ctt5hhsjk.47.
  10. "Indonesia agrees Aceh peace deal". BBC News. 17 July 2005. สืบค้นเมื่อ 11 October 2008.
  11. "Insurgency in Aceh | The Resilience of Nature". blogs.ntu.edu.sg. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  12. See Awaludin (2009).
  13. Text of the MOU เก็บถาวร 18 เมษายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF format)
  14. "Indonesia: The War In Aceh – Summary and Recommendations". www.hrw.org. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.
  15. "CNN.com – Aceh: A timeline of insurgency – May. 19, 2003". edition.cnn.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-08-18. สืบค้นเมื่อ 13 May 2020.