ข้ามไปเนื้อหา

ความใช้งานง่าย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความใช้งานง่าย (อังกฤษ: usability) คือความสามารถของระบบในการให้ผู้ใช้สามารถทำงานต่างๆ ในสภาพที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพโดยได้รับประสบการณ์ในแง่บวกไปด้วย[1] ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ความใช้งานง่ายหมายถึงระดับที่ซอฟต์แวร์สามารถใช้งานได้โดยผู้ใช้เฉพาะกลุ่มเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพึงพอใจในแง่ของบริบทการใช้งานซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์[2] โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หนังสือ เครื่องมือ เครื่องจักร ยานพาหนะ หรือสิ่งใดก็ตามที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้

องค์ประกอบของความใช้งานง่ายได้แก่การวัดความสะดวกในการใช้งานสิ่งนั้นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ[3] และการศึกษาหลักการที่อยู่เบื้องหลังความมีประสิทธิภาพหรือความงดงามของสิ่งนั้น ในปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความใช้งานง่ายจะศึกษาเกี่ยวกับความงดงามและความชัดเจนในส่วนของการออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์ โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ใช้และอรรถประโยชน์เป็นองค์ประกอบของคุณภาพ และมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ผ่านการออกแบบอย่างซ้ำๆ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lee, Ju Yeon; Kim, Ju Young; You, Seung Ju; Kim, You Soo; Koo, Hye Yeon; Kim, Jeong Hyun; Kim, Sohye; Park, Jung Ha; Han, Jong Soo; Kil, Siye; Kim, Hyerim (2019-09-30). "Development and Usability of a Life-Logging Behavior Monitoring Application for Obese Patients". Journal of Obesity & Metabolic Syndrome (ภาษาอังกฤษ). 28 (3): 194–202. doi:10.7570/jomes.2019.28.3.194. ISSN 2508-6235. PMC 6774444. PMID 31583384.
  2. Ergonomic Requirements for Office Work with Visual Display Terminals, ISO 9241–11, ISO, Geneva, 1998.
  3. Smith, K Tara (2011). "Needs Analysis: Or, How Do You Capture, Represent, and Validate User Requirements in a Formal Manner/Notation before Design". ใน Karwowski, W.; Soares, M.M.; Stanton, N.A. (บ.ก.). Human Factors and Ergonomics in Consumer Product Design: Methods and Techniques (Handbook of Human Factors in Consumer Product Design). CRC Press.
  4. Nielsen, Jakob (4 January 2012). "Usability 101: Introduction to Usability". Nielsen Norman Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2016. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.