ข้ามไปเนื้อหา

คลองรอบกรุง

พิกัด: 13°44′45″N 100°30′13″E / 13.745858°N 100.503702°E / 13.745858; 100.503702
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลองรอบกรุง
คลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน
ตำแหน่งกรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
ข้อมูลจำเพาะ
ความยาว3.426 km (2.129 ไมล์)
ประตูกั้นน้ำ2
ประวัติ
วันที่อนุมัติพ.ศ. 2396
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2396
ข้อมูลภูมิศาสตร์
ทิศตะวันตกเฉียงใต้
จุดเริ่มต้นแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงชนะสงคราม และแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร
จุดสิ้นสุดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และแขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์
สาขาคลองมหานาค
สาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา
เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนคลองรอบกรุง
ขึ้นเมื่อ29 เมษายน พ.ศ. 2519
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000016
คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ

คลองรอบกรุง (อักษรโรมัน: Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นกลาง (ชั้นที่สอง) ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณข้างป้อมพระสุเมรุ และไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณข้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า

ในครั้งนั้นพระนครฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ส่วนด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดิน ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม เริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำพู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้ บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม ยาว 85 เส้น 13 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก พระราชทานนามว่า "คลองรอบกรุง"

ประชาชนโดยมากมักเรียกชื่อคลองแตกต่างตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ช่วงต้นที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาข้างป้อมพระสุเมรุเรียก "คลองบางลำพู" ตามชื่อตำบล เมื่อผ่านสะพานหันเรียก "คลองสะพานหัน" เมื่อผ่านวัดเชิงเลน เรียก "คลองวัดเชิงเลน" และช่วงสุดท้ายก่อนออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณข้างสะพานพุทธเรียก "คลองโอ่งอ่าง" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองนี้ให้ถูกต้องว่า "คลองรอบกรุง"[1][2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ไฮไลต์ใหม่ที่คลองโอ่งอ่าง". ไทยรัฐ. 26 November 2015. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.
  2. "คลองรอบกรุง". ไทยรัฐ. 5 November 2011. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′45″N 100°30′13″E / 13.745858°N 100.503702°E / 13.745858; 100.503702