คนไร้ความสามารถ
มีการเสนอให้ย้ายบทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังวิกิตำรา หากบทความนี้สามารถปรับแก้ให้เป็นเนื้อหาสารานุกรมได้ แทนที่จะเป็นเพียงสำเนาของเอกสารต้นฉบับ
คุณก็สามารถช่วยปรับแก้ได้ ด้วยการกดที่ปุ่ม "แก้ไข" และนำป้ายข้อความนี้ออกเมื่อปรับแก้เสร็จแล้ว
กรณีไม่อาจทำให้เป็นสารานุกรมได้ คุณอาจช่วยจัดรูปแบบหน้านี้ให้เหมาะกับวิกิตำรา แล้วย้ายไปที่นั่นก็ได้ |
อักษรย่อ | คำเต็ม |
---|---|
ฎ. | คำพิพากษาศาลฎีกา (คลิก เก็บถาวร 2010-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) |
ป.พ.พ. | ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ของไทย (คลิก เก็บถาวร 2003-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) |
พ.ร.บ. | พระราชบัญญัติ (คลิก เก็บถาวร 2004-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) |
ม. | มาตรา |
รก. | ราชกิจจานุเบกษา (คลิก) |
ว. | วรรค |
การใช้อักษรย่อในนี้เพื่อมิให้บทความเยิ่นเย้อเท่านั้น แต่โดยปรกติแล้วควรเขียนด้วยคำเต็มไม่ควรย่อ เช่น "พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544" ควรเขียนว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544" มากกว่า |
คนไร้ความสามารถ (อังกฤษ: incompetent person) คือ คนวิกลจริตถึงขนาดที่ไม่มีทางดูแลตัวเองหรือผลประโยชน์ของตัวเองได้เลย ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามคำร้องขอของ คู่สมรส, บุพการี, ผู้สืบสันดาน, ผู้ปกครอง, ผู้พิทักษ์, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป หรือพนักงานอัยการ ซึ่งการเป็นคนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป
การเป็นคนไร้ความสามารถ
[แก้]คนวิกลจริตถึงขนาดที่ไม่มีทางดูแลตัวเองหรือผลประโยชน์ของตัวเองได้เลย ซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามคำร้องขอของ คู่สมรส, บุพการี, ผู้สืบสันดาน, ผู้ปกครอง, ผู้พิทักษ์, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป หรือพนักงานอัยการ ซึ่งการเป็นคนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป
คนไร้ความสามารถนั้นกฎหมายจำกัดสิทธิไว้มิให้ทำนิติกรรมได้โดยลำพังเลย นิติกรรมทั้งปวงที่คนไร้ความสามารถทำตกเป็นโมฆียะ ซึ่งรวมถึงพินัยกรรมด้วย หากคนไร้ความสามารถต้องการทำนิติกรรมแล้ว บุคคลที่เรียกว่า "ผู้อนุบาล" จะทำแทนเขาเอง
นอกจากนี้ ตามกฎหมายไทยแล้ว คนไร้ความสามารถที่กระทำความผิดอาญาก็ให้พ้นจากความรับผิดในการกระทำนั้น แต่ความรับผิดทางแพ่งมิได้สิ้นสุดลงไปด้วย โดยในทางแพ่ง บิดา มารดา หรือผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถต้องร่วมรับผิดในการกระทำอันเป็นละเมิดของคนไร้ความสามารถไปด้วย เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ดูแลรักษาบุคคลนั้นอย่างระมัดระวังเต็มที่แล้ว
บุคคลจะพ้นจากความเป็นคนไร้ความสามารถเมื่อศาลสั่งตามร้องขอของคู่สมรส, บุพการี, ผู้สืบสันดาน, ผู้ปกครอง, ผู้พิทักษ์, ผู้ดูแลรักษาทั่วไป, พนักงานอัยการ หรือตัวคนไร้ความสามารถเอง การพ้นจากความเป็นคนไร้ความสามารถจะมีผลนับแต่ศาลมีคำสั่งเป็นต้นไป
คำสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถหรือพ้นจากความเป็นคนไร้ความสามารถต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย
ผู้อนุบาล
[แก้]ผู้อนุบาล (อังกฤษ: guardian) เป็นบุคคลที่ศาลแต่งตั้งให้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถ ซึ่งตามกฎหมายไทยแล้วกำหนดกรณีดังต่อไปนี้[1]
1.บุคคลใดจะบรรลุนิติภาวะหรือไม่ก็ตาม ถ้ายังมิได้สมรสและศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ให้ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดามารดาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในกรณีที่อีกฝ่ายไม่มีอำนาจปกครองแล้ว หรือผู้ปกครอง เป็นผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถผู้นั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอื่น
2. ในกรณีที่ศาลสั่งให้บุคคลที่มีคู่สมรสเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้คู่สมรสอีกฝ่ายเป็นผู้อนุบาล เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอื่นตามที่ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือในกรณีมีเหตุอันควร
ผู้อนุบาลนั้นมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของคนไร้ความสามารถ ทำนิติกรรมแทนคนไร้ความสามารถ บอกล้างโฆยีกรรมของคนไร้ความสามารถที่พิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเป็นการเสียเปรียบของคนไร้ความสามารถที่ตนอนุบาลอยู่ และให้สัตยาบันในโมฆียกรรมของคนไร้ความสามารถที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีแต่ได้กับได้
นอกจากนี้ ผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิดทางแพ่งในการกระทำอันเป็นละเมิดที่คนไร้ความสามารถในความอนุบาลของตนได้กระทำลงไป เว้นแต่เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ดูแลรักษาบุคคลนั้นอย่างระมัดระวังเต็มที่แล้ว
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ อรพินท์ ขจรอำไพสุข, 2551 : 201.
อ้างอิง
[แก้]- กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2552). เอกสารประกอบการศึกษาวิชากฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา (น. 101). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก[ลิงก์เสีย]>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 กรกฎาคม 2552).
- ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549, มีนาคม). พจนานุกรมกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
- ราชบัณฑิตยสถาน.
- (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. (2551). คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา. (พิมพ์ครั้งที่ 13, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
- ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2010-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน> (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551, 10 มีนาคม). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2003-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน> (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).
- อรพินท์ ขจรอำไพสุข. (2551). "ผู้ทรงสิทธิ." ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย. มานิตย์ จุมปา, บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.