คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University | |
สถาปนา | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 |
---|---|
คณบดี | อาจารย์ ดร. ธนาทร เจียรกุล |
ที่อยู่ | คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เลขที่ 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เลขที่ 6 ถนนราชมรรคาใน ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000 |
วารสาร | วารสารวิชาการศิลปะและการออกแบบ |
สี | สีเสน[1] |
มาสคอต | ตราดอกจอก |
เว็บไซต์ | decorate.su.ac.th |
คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 4 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
ประวัติ
[แก้]เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะมัณฑนศิลป์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ด้วยดำริของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และดำเนินการเปิดสอนในสาขาวิชาศิลปตกแต่ง (Decorative Arts) ในปีการศึกษานั้น โดย ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) ได้บัญญัติชื่อภาษาไทยว่า "คณะมัณฑนะศิลป์" แต่ต่อมาใน พ.ศ. 2517 ได้มีการดำเนินการปรับแก้ให้ถูกต้องกับภาษาเขียนเป็น "คณะมัณฑนศิลป์" และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้จัดสร้างหลักสูตรสาขาวิชาศิลปตกแต่ง 4 ปี (อนุปริญญา 3 ปี ปริญญาตรี 4 ปี) มีศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รักษาการในตำแหน่งคณบดี และ หลวงวิเชียร แพทยาคม (อธิบดีกรม กรมศิลปากร ในเวลานั้น) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (เทียบเท่าอธิการบดีมหาวิทยาลัย)
ระหว่าง พ.ศ. 2499–2516 คณะมัณฑนศิลป์ จัดการศึกษาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาศิลปตกแต่ง แต่ในเวลานั้น เรียกชื่อว่าสาขาวิชามัณฑนศิลป์ ตามชื่อคณะวิชา โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ อนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี และระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) หรือปริญญาศิลปบัณฑิต (มัณฑนศิลป์) ตามลำดับ
ต่อมาใน พ.ศ. 2517–2544 คณะฯ ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรี ไม่มีระดับอนุปริญญา พร้อมทั้งขยายสาขาวิชาเพิ่มขึ้น
ปัจจุบัน คณะมัณฑนศิลป์ เปิดสอนเพื่อผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบภายใน สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย และเพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น คณะฯ ได้เปิดสอนระดับปริญญาโท 3 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ
หน่วยงาน
[แก้]- สำนักงานคณบดี
- ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน
- ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์
- ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
- ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา
- ภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา
- ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ
- ภาควิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย
หลักสูตร
[แก้]
หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.)
|
หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ทำเนียบคณบดี
[แก้]รายพระนามและรายนามคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ | ||
---|---|---|
ลำดับ | คณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี | พ.ศ. 2499 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2501 | |
หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร | 1 กันยายน พ.ศ. 2501 – 30 สิงหาคม พ.ศ. 2505[2] | |
ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2505 – 30 กันยายน พ.ศ. 2514 | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์พูนสวาท กฤดากร | รักษาราชการแทนคณบดี 1 ตุลาคม พ.ศ. 2514 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2515[3] รักษาราชการแทนคณบดี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 – 12 เมษายน พ.ศ. 2519[4] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสริมศักดิ์ นาคบัว | 13 เมษายน พ.ศ. 2519 – 12 เมษายน พ.ศ. 2523[5] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอนก วีรเวชชพิสัย | 13 เมษายน พ.ศ. 2523 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2525 (ลาออก)[6] | |
อาจารย์ พรรณเพ็ญ ฉายปรีชา | รักษาราชการแทนคณบดี 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 – 7 มกราคม พ.ศ. 2526[7] 8 มกราคม พ.ศ. 2530 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2531 (ลาออก)[8] | |
อาจารย์ จักร ศิริพานิช | 8 มกราคม พ.ศ. 2526 – 7 มกราคม พ.ศ. 2530[9] | |
อาจารย์ นิรันดร์ ไกรฤกษ์ | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงษ์ศักดิ์ อารยางกูร | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[10] 5 มีนาคม พ.ศ. 2544 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2548[11] รักษาราชการแทนคณบดี 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2548[12] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีระ ปาลเปรม | 5 มีนาคม พ.ศ. 2540 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2544[13] | |
อาจารย์ วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน | 110 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551[14] รักษาการ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551[15] | |
รองศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555[16] | |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เอกพงษ์ ตรีตรง | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559[17] | |
อาจารย์ ดร. ธนาทร เจียรกุล | 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน[18] |
- หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น
ศิษย์เก่า
[แก้]- กรกต อารมย์ดี ศิลปินและนักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ KORAKOT INTERNATIONAL LIMITED PARTNERSHIP.
- กฤตธีรา อินพรวิจิตร (เข็ม ตีสิบ) เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ ทำงานศิลปะ เขียนหนังสือ
- กวี ลักษณะสกุลชัย สไตลิสท์ชื่อดังจากนิตยสาร "แพรว"
- คงรัฐ สุนทรโรจน์พัฒนา มัณฑนากร และอาจารย์ประจำ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณิต เสตะรุจิ มัณฑนากร และหนึ่งในนักออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี 2004
- คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้กำกับภาพยนตร์แอนิเมชัน "ก้านกล้วย"
- คาริญญ์ยวัฒ ดุรงค์จิรกานต์ นักร้องนำวง Slot Machine
- จรูญ อังศวานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์) ประจำ พ.ศ. 2557
- จิดาภา แช่มช้อย (แพนด้า BNK48) สมาชิกวง บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) รุ่นที่ 2 เค็งกีวเซ (Kenkyūsei)
- ชัยพร พานิชรุทติวงศ์ แอะนิเมเทอร์ "ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น"
- ชัยยศ อิษฏ์วรพันธุ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปะ (ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- ชัยยุทธ์ พลายเพ็ชร นักออกแบบ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Propaganda
- ชยานนท์ เครือเอี่ยม มือกลองวง The Jukks
- ชญานิษฐ์ ชาญสง่าเวช นักแสดงค่ายนาดาวบางกอก
- ชูเกียรติ ลิขิตปัญญารัตน์ Design Director–Brandcreate นักศึกษาเก่าดีเด่นประจำปี 2554 ประเภทผู้ส่งเสริมการศึกษาวิชาการ
- เชาวเลข สร่างทุกข์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนค่ายเพลง Smallroom
- ทรงศีล ทิวสมบุญ นักเขียนการ์ตูน (ถั่วงอกและหัวไฟ)
- ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ นักเขียนการ์ตูน นักเขียนภาพประกอบ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, BANGKOK POST, นิตยสารพลอยแกมเพชร, IMAGE MAGAZINE)
- ทีปกร แย้มกสิกร มัณฑนากร
- ธนาวัฒน์ สุขัคคานนท์ มัณฑนากร และเลขาธิการสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (กรรมการผู้จัดการบริษัท INTERIOR VISION)
- ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง "Pomme Chan" นักวาดภาพประกอบแถวหน้าของอังกฤษ
- ธีรวัลย์ วรรธโนทัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- นนทรีย์ นิมิบุตร ผู้กำกับภาพยนตร์
- นันทิรัตน์ สุวรรณเกต แฟชั่นดีไซน์เนอร์ (เจ้าของแบรนด์ Koi Suwanagate) เป็น 1 ใน 10 นักออกแบบหน้าใหม่ที่น่าจับตามองประจำปี 2009 จาก CFDA
- บรรณนาท ไชยพาน มัณฑนากร และอาจารย์พิเศษ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
- บุญเสริม เปรมธาดา สถาปนิก รางวัลชนะเลิศ The ar d Awards for Emerging Architecture 2011 ของประเทศอังกฤษ จากการออกแบบ สถาบันกันตนา
- พงษ์สรวง คุณประสพ ศิษย์เก่ายอดเยี่ยม
- ไพโรจน์ ธีระประภา
- หม่อมหลวง ภาวิณี สันติสิริ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มาโนช กงกะนันทน์
- เหมือนฝัน ทรัพย์เอนก นักวาดภาพประกอบสำหรับเด็ก
- ยิ่งยง โอภากุล
- ยุทธเลิศ สิปปภาค ผู้กำกับภาพยนตร์
- ลักษมณ์ เตชะวันชัย นายกสมาคมแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกไทย (TACGA) คนแรก สองสมัย (พ.ศ. 2550 – 2554)
- วิฑูรย์ คุณาลังการ มัณฑนากร (ผู้ออกแบบโครงการโนเบิล รีมิกซ์และกลุ่มร้านเกรย์ฮาวด์)
- วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
- วิศุทธิ์ พรนิมิตร นักเขียนการ์ตูน (hesheit)
- สมชาย จงแสง มัณฑนากร (ศิลปิน รางวัลศิลปาธร ประจำปี 2552)
- สุทธิชาติ ศราภัยวานิช นักเขียนการ์ตูน (Joe the Sea–cret Agent)
- สุรเชษฐ์ เฑียรบุญเลิศรัตน์ แอะนิเมเทอร์ ปักษาวายุ
- สุวรรณ คงขุนเทียน มัณฑนากร และนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เจ้าของแบรนด์ดัง "โยธกา"
- อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC
- ศาสตราจารย์ เอกชาติ จันอุไรรัตน์ อดีตคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ ศาสตราจารย์สาขาวิชาการออกแบบภายใน
- อิษยา ฮอสุวรรณ นักแสดงสังกัด ช่อง 3 เอชดี
หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์
[แก้]หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ปรับปรุงมาจากห้องปฏิบัติงานปั้น สิ่งทอ และวิชาพื้นฐานศิลปะของคณะ ดำเนินการโดยคณะกรรมการหอศิลปะและการออกแบบ แล้วเสร็จในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2540 โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้
- จัดแสดงผลงานของอาจารย์ นักศึกษา คณะมัณฑนศิลป์
- เป็นศูนย์รวมการแสดงผลงาน และแลกเปลี่ยนทางวิชาการศิลปะและการออกแบบ
- เป็นศูนย์ข้อมูลทางศิลปะและการออกแบบ
เกร็ด
[แก้]- คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นคณะมัณฑนศิลป์แห่งเดียวในประเทศไทย
- คณะมัณฑนศิลป์ เดิมสะกดชื่อคณะว่า "คณะมัณฑนะศิลป์"
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 21/2501 ลงวันที่ 5 กันยายน 2501
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 243/2514 ลงวันที่ 8 ตุลาคม 2514
- ↑ คำสั่งกองบัญชาการคณะปฏิวัติที่ 285/2515 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2515
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 144 /2519 ลงวันที่ 21 เมษายน 2519
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 253/2523 ลงวันที่ 14 เมษายน 2523
- ↑ รายงานการประชุมสภา มศก.ครั้งที่ 5/2525 วันที่ 27 ตุลาคม 2525
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 1008/2529 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2529
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 22/2526 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 1174/2535 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2535
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 23/2544 ลงวันที่ 11 มกราคม 2544
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 301/2548 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2548
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 213/2540 ลงวันที่ 4 มีนาคม 2540
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 319/2548 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2548
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 12671/2551 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551
- ↑ คำสั่ง มศก. ที่ 1731/2551 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 1476/2555 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2555
- ↑ คำสั่ง มศก.ที่ 1354/2559 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2559