ขุนคงฤทธิศึกษากร (ปาน คงฤทธิ์ศึกษากร)
ขุนคงฤทธิศึกษากร (ปาน คงฤทธิ์ศึกษากร) | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่หนึ่ง | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2498 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 | |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย คนที่สอง | |
ดำรงตำแหน่ง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2498 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
ดำรงตำแหน่ง 31 มีนาคม – 16 กันยายน พ.ศ. 2500 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 มกราคม พ.ศ. 2442 |
เสียชีวิต | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 (70 ปี) |
คู่สมรส | เที่ยง คงฤทธิศึกษากร |
บุตร | 4 คน |
ว่าที่รองอำมาตย์ตรี[1] ขุนคงฤทธิศึกษากร[2][3][4][5] นามเดิม ปาน ณรงค์ฤทธิ์[6] เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 6 สมัย
ประวัติ
[แก้]ขุนคงฤทธิศึกษากร นามเดิม ปาน ณรงค์ฤทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2442 เป็นชาวอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรชายคนเดียวของ หลวงฤทธิณรงค์ (สง ณรงค์ฤทธิ์) กับ นางฤทธิณรงค์ (น้อย ณรงค์ฤทธิ์)[7]
ขุนคงฤทธิศึกษากร สมรสกับ นางคงฤทธิศึกษากร (เที่ยง คงฤทธิศึกษากร) มีบุตร 3 คน
การทำงาน
[แก้]ขุนคงฤทธิศึกษากร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา สมัยแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2491 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี[8][9] ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2495 และได้รับเลือกเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างปี พ.ศ. 2497 ถึงปี พ.ศ. 2500
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ได้รับเลือกตั้ง[10]ในสังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[11][12] ในรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และได้รับเลือกตั้งอีกในการเลือกตั้งปีเดียวกัน[13] และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในขณะดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2513 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2506 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
- พ.ศ. 2499 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[16]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[17]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[18]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[19]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
- พ.ศ. 2507 – เหรียญกาชาดสรรเสริญ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศพลเรือน, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๐๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ออกประทวนบรรดาศักดิ์ตั้งข้าราชการ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๖๙, ๑๖ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๑๙ ง หน้า ๕๘๐, ๒๔ มีนาคม ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกลับมีบรรดาศักดิ์, เล่ม ๖๒ ตอนที่ ๑๖ ง หน้า ๔๐๔, ๒๐ มีนาคม ๒๔๘๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๙๖๒, ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศเสือป่า, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๗๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๖๗
- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนคงฤทธิศึกษากร ม.ป.ช. ป.ม. อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ๑๖ มีนาคม 2513
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ "คณะที่ 22 - The Secretariat of the Cabinet, THAILAND". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-14. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๑๒, ๑๗ พฤษภาคม ๒๔๗๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำตักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๖๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๖๐ ง หน้า ๑๘๙๒, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๐, ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๑๗๐๒, ๒ กรกฎาคม ๒๕๐๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2442
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2512
- บุคคลจากอำเภอสีคิ้ว
- บรรดาศักดิ์ชั้นขุน
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคเสรีมนังคศิลา
- พรรคสหประชาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- สมาชิกกองเสือป่า
- ผู้ได้รับเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ