ข้ามไปเนื้อหา

ขันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขันธ์ แปลว่า ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด ในทางพุทธศาสนาหมายถึงส่วนหนึ่งๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 หรือขันธ์ทั้ง 5 ได้แก่

  1. รูป เป็นสภาพไม่รู้ มีทั้งหมด 28 รูป แบ่งเป็น อุปาทยรูป 24 รูป และมหาภูตรูป 4 รูป
  2. เวทนา เป็นความรู้สึก มีทั้งหมด 5 เวทนา คือ สุขกาย สุขใจ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ อุเบกขาทางใจ
  3. สัญญา เป็นความจำได้ ความรู้จำสิ่งที่ปรากฏได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และความรู้สึกได้ทางใจ คือ เวทนา สัญญา สังขาร
  4. สังขาร เป็นการปรุงแต่งจิตให้จิตมีอารมณ์และกิริยาหลากหลาย มีทั้งหมด 50 สังขาร
  5. วิญญาณ เป็นสภาพรับรู้ มีทั้งหมด 6 ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ในขันธ์ 5 นี้ เมื่อจัดขันธ์เข้าในปรมัตถธรรม รูปจะจัดเป็นรูปธรรม ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจะจัดเป็นนามธรรม

  • รูปขันธ์ จะจัดเข้าในรูป
  • เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ จะจัดเข้าในเจตสิก
  • วิญญาณขันธ์ จะจัดเข้าในจิต
  • การหมดเหตุปัจจัยของนามรูป จะจัดเข้าในนิพพาน
  • ขันธ์ 5 จะจัดเข้าในไตรลักษณ์[1]

อ้างอิง

[แก้]

[2]

  1. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ.
  2. ขันธ์ 5 หลักธรรมสำคัญในพุทธศาสนา องค์ประกอบทั้งห้า (press.in.th)