ข้ามไปเนื้อหา

กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2
เจ้าภาพจังหวัดบุรีรัมย์
คำขวัญมิตรภาพยิ่งใหญ่เหนือชัยชนะ
จังหวัดเข้าร่วม77
นักกีฬาเข้าร่วม3,370
กีฬา14
พิธีเปิด25 สิงหาคม พ.ศ. 2562
พิธีปิด31 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ประธานพิธีพิธีเปิด: นภินทร ศรีสรรพางค์, ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
พิธีปิด: พิพัฒน์ รัชกิจประการ​, รัฐมนตรีว่าการกระทวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ผู้จุดคบเพลิงบุญถึง ศรีสังข์
สนามกีฬาหลักบีอาร์ยู โดม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
เว็บไซต์ทางการhttp://www.romburigames.com/
← กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 1

กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2 (อังกฤษ: 2nd Thailand National Senior Games) หรือเป็นที่รู้จักในนาม รมย์บุรีเกมส์ เป็นมหกรรมกีฬาระดับชาติสำหรับผู้สูงอายุทั่วไป ควบคุมโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้น ณ จังหวัดบุรีรัมย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562[1] โดยตอนแรกมีกำหนดการเดิมจะจัดขึ้นวันที่ 1 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562 แต่เลื่อนกำหนดการเนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[2][3]

ในครั้งนี้มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันรวมทั้งสิ้น 3,370 คน จาก 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีกีฬาที่แข่งขันทั้งหมด 14 ชนิดกีฬา ซึ่งครั้งนี้ได้จัดการแข่งขันภายใน 12 สนาม ในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีสนามแข่งขันจังหวัดนครราชสีมา 2 สนาม[4]

จังหวัดบุรีรัมย์ได้เป็นเจ้าภาพกีฬาอาวุโส ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2561 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของจังหวัดบุรีรัมย์ที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ

การคัดเลือกเจ้าภาพ

[แก้]

ในการประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้มีมติให้จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเจ้าภาพกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 และกีฬาผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ตามธรรมเนียม ซึ่งในครั้งนี้มีการเสนอขอรับเป็นเจ้าภาพ จำนวน 3 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี, จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดเพชรบูรณ์

มติการประชุมคณะกรรมการ กกท. ครั้งที่ 1/2561
10 มกราคม พ.ศ. 2561[5]
จังหวัด ผลเจ้าภาพ เจ้าภาพ
บุรีรัมย์  สำเร็จ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35
อุดรธานี  ไม่สำเร็จ
เพชรบุรี  ไม่สำเร็จ

พิธีการ

[แก้]

การอัญเชิญไฟพระฤกษ์

[แก้]

มีการอัญเชิญไฟพระฤกษ์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562 โดยอัญเชิญจากกรุงเทพมหานครมายังจังหวัดบุรีรัมย์ โดยการนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นผู้พระราชทานเชิญไฟพระฤกษ์แทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเชิญไปจุดในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 35 และพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ตามลำดับขั้นตอน ในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ก่อนจะเริ่มพิธีเปิดการแข่งขัน ได้มีการวิ่งคบเพลิงไฟพระฤกษ์ โดยเริ่มจากศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์หลังเดิม ถึงสนามช้างอารีน่า (นักกีฬา: ไอรดา ลิม, ธีรศักดิ์ เล็งไธสง) ระยะที่ 2 จากสนามช้างอารีน่า ถึงบริเวณหน้าแขวงทางหลวงบุรีรัมย์ (นักกีฬา: บวรนันท์ ชันรัมย์, ธรรศกร โพธิ์ทอง) และระยะที่ 3 จากหน้าแขวงทางหลวง ถึงสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ (นักกีฬา: กรรชัย แถบทอง, ปรีชาพร ปลื้มพันธ์)[6]

พิธีเปิด

[แก้]

พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2 หรือ รมย์บุรีเกมส์ เริ่มชึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 18.00 นาฬิกา โดยเริ่มการแสดงชุดแรกที่มีชื่อว่า ร้อยล้านความสุข สู่ความสนุกที่รมย์บุรีเกมส์[7] ซึ่งเป็นการรังสรรค์ของชาวบุรีรัมย์ ตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน เมื่อเสร็จสิ้นการแสดงแล้ว ได้มีการเชิญธงชาติ, ธงกีฬาอาวุโสแห่งชาติ, ธงการกีฬาแห่งประเทศไทย และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ โดยวงโยธวาทิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พร้อมกับเชิญคณะนักกีฬาผู้สูงอายุ โดยแบ่งตามภาคเข้าสู่สนาม มีการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยกล่าวยรายงานต่อประธาน ประธานกดปุ่มไฟฟ้าเปิดงาน มีการขักธงกีฬาอาวุโสแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ขึ้นสู่ยอดเสา สุดท้ายได้เริ่มการแสดงชุดที่สอง แสงจรัสรัศมี รมย์บุรีเกริกฟ้า เกรียงไกร เป็นการแสดงที่นำไปสู่การจุดไฟในกระถางคบเพลิง[8][9]

พิธีปิด

[แก้]

พิธีปิดการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2 หรือ รมย์บุรีเกมส์ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 16.30 นาฬิกา โดยเริ่มการฉายภาพวิดีทัศน์ประมวลผลภาพตั้งแต่ระยะเริ่มการแข่งขันจวบจนสุดท้ายของการปิดการแข่งขัน เสร็จแล้ว ได้เริ่มการแสดงชุดแรกที่มีชื่อว่า นกกระเรียนไทย สะท้านฟ้า ปักษาบุรีรัมย์ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของนกกระเรียนไทย ซึ่งส่วนมากมักตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดบุรีรัมย์ และความพร้อมที่จะรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของจังหวัดบุรีรัมย์ ต่อมา วงโยธวาทิตโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ได้นำขบวนธงชาติไทย, ธงกีฬาอาวุโสแห่งชาติ, ธงการกีฬาแห่งประเทศไทย และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์เข้าสู่สนาม พร้อมกับคณะนักกีฬาแต่ละชนิดกีฬา และคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ประธานกล่าวปิดงาน มีการชักธงชาติไทยลงจากยอดเสา ต่อด้วยธงกีฬาอาวุโสแห่งชาติ และธงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ลงจากยอดเสา จังหวัดบุรีรัมย์มอบธงกีฬาอาวุโสแห่งชาติให้กับจังหวัดตราด จังหวัดเจ้าภาพครั้งถัดไปได้จัดชุดการแสดงที่มีชื่อว่า ระบำงอก ศรีเมืองตราด เสร็จแล้วได้เริ่มการแสดงชุดที่สองที่มีชื่อว่า นาคะภิรมย์ ซึ่งเป็นการแสดงดับเพลิงในกระถางคบเพลิงอีกด้วย โดยได้ใช้พญานาคเป็นผู้ดับเพลิงในกระถางคบเพลิง เพื่อความสวัสดีมีชัยตามความเชื่อ[10]

การแข่งขัน

[แก้]

ชนิดกีฬา

[แก้]

สนามแข่งขัน

[แก้]
สนามแข่งขัน กีฬา สถานที่
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พิธีการ, กรีฑา, บาสเกตบอล และเทเบิลเทนนิส เมืองบุรีรัมย์
สนามพอนารามม่า กอล์ฟ แอนด์ คันทรี คลับ กอล์ฟ สีคิ้ว, จังหวัดนครราชสีมา
โรงพยาบาลบุรีรัมย์ แบดมินตัน เมืองบุรีรัมย์
โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม เกทบอล เมืองบุรีรัมย์
โรงเรียนภัทรบพิตร เซปักตะกร้อ เมืองบุรีรัมย์
สนามเทนนิสจังหวัดบุรีรัมย์ เทนนิส เมืองบุรีรัมย์
ห้างสรรพสินค้าโรบินสันบุรีรัมย์ เพาะกาย เมืองบุรีรัมย์
สนามกีฬากลางองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ ฟุตบอล เมืองบุรีรัมย์
แขวงทางหลวงบุรีรัมย์ เปตอง เมืองบุรีรัมย์
โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ ลีลาศ เมืองบุรีรัมย์
สนามกีฬา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ว่ายน้ำ จังหวัดนครราชสีมา
กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 23 วู้ดบอล เมืองบุรีรัมย์

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

[แก้]
เปิด พิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขันรอบทั่วไป การแข่งขันชิงเหรียญทอง ปิด พิธีปิดการแข่งขัน
สิงหาคม พ.ศ. 2562 25
อา.
26
จ.
27
อ.
28
พ.
29
พฤ.
30
ศ.
31
ส.
 พิธีการ เปิด ปิด
กรีฑา
กอล์ฟ
เกทบอล
เซปักตะกร้อ
เทเบิลเทนนิส
เทนนิส
เพาะกาย
ฟุตบอล
บาสเกตบอล
แบดมินตัน
เปตอง
ลีลาศ
ว่ายน้ำ
วู้ดบอล
สิงหาคม พ.ศ. 2562 25
อา.
26
จ.
27
อ.
28
พ.
29
พฤ.
30
ศ.
31
ส.

จังหวัดที่เข้าร่วม

[แก้]
จังหวัดที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2

สรุปเหรียญรางวัล

[แก้]
      บุรีรัมย์ (เจ้าภาพ)
อันดับที่ จังหวัด ทอง เงิน ทองแดง รวม
1 กรุงเทพมหานคร 39 32 27 98
2 สงขลา 29 19 25 73
3 นครราชสีมา 22 16 24 62
4 นนทบุรี 18 6 4 28
5 อุดรธานี 15 19 13 47
6 เชียงใหม่ 12 19 14 45
7 ภูเก็ต 12 16 14 42
8 ชลบุรี 12 12 16 40
9 นครศรีธรรมราช 12 7 7 26
10 ปทุมธานี 10 7 16 33
รวม 306 306 375 987

การตลาด

[แก้]

สัญลักษณ์

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำการแข่งขันกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2 เป็นรูปปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นปราสาทที่เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ โดยในส่วนของปราสาทประธานแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของการแข่งขันที่จัดขึ้นในจังหวัดบุรีรัมย์ สัญลักษณ์ตัวแทนคนมีความหมายว่าผู้คนจากทั่วประเทศที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน จะได้รับความประทับใจ มิตรภาพที่เกิดใหม่ ได้เยี่ยมชมโบราณสถานและวัฒนธรรมตลอดจนวิถีชีวิตชาวบุรีรัมย์ มีตราสัญลักษณ์กีฬาแห่งชาติประดับอยู่กลางประสาทประธานเปรียมเสมือนดวงอาทิตย์ที่ขึ้นตรงกับประตูของปราสาท[11]

มาสคอต

[แก้]

ในการแข่งขันครั้งนี้ไม่มีมาสคอต

อ้างอิง

[แก้]
  1. "บุรีรัมย์เกมส์"กำหนดวันแข่งใหม่ 10-20 พ.ค.
  2. ‘บุรีรัมย์เกมส์’ส่อเลื่อน หลังรัฐบาลเลื่อนเลือกตั้ง
  3. เลื่อน!! "บุรีรัมย์เกมส์" หลีกทางเลือกตั้ง
  4. “บุรีรัมย์” พร้อมเต็มร้อย จัดกีฬาอาวุโสแห่งชาติ
  5. ประชุมคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่1/2561
  6. "อัญเชิญไฟพระฤกษ์พระราชทานบุรีรัมย์เกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-11. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  7. ไปดู กีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่ 2 รมย์บุรีเกมส์
  8. พิธีเปิดกีฬาอาวุโสแห่งชาติ ครั้งที่2 “รมย์บุรีเกมส์”[ลิงก์เสีย]
  9. "กำหนดการพิธีเปิดรมย์บุรีเกมส์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-26. สืบค้นเมื่อ 2019-08-26.
  10. "กำหนดการพิธีปิดรมย์บุรีเกมส์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-31. สืบค้นเมื่อ 2019-08-31.
  11. สัญลักษณ์การแข่งขัน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]