ข้ามไปเนื้อหา

กิจกรรมทางเพศของเกย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รูปภาพในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่แสดงถึงพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายทั้งจักรพรรดิฮาดริอานุส และอันติโนอุส วาดโดยพอล แอวริล

กิจกรรมทางเพศของเกย์ คือกิจกรรมทางเพศที่เกี่ยวข้องกับผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย โดยไม่คำนึงถึงรสนิยมทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศ[1] กิจกรรมเหล่านี้อาจรวมถึงการร่วมเพศทางทวารหนัก การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่ และการร่วมเพศทางปาก จากหลักฐานแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายได้รับการรายงานจากการสำรวจน้อยอย่างมีนัยยะสำคัญ[2][3]

ลักษณะ

[แก้]

จากท่วงท่าทางเพศต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย พบว่าหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายไม่ได้รับการรายงานที่มากเพียงพอจากการสำรวจอันเนื่องมาจากอคติต่อความพึงพอใจในสังคม[2][3]

การร่วมเพศทางทวารหนัก

[แก้]
รูปภาพการร่วมเพศทางทวารหนักจากรูปภาพผู้ชายฝั่งซ้ายจะเป็นฝ่ายรับและผู้ชายฝั่งขวาจะเป็นฝ่ายรุก

ในอดีตการร่วมเพศทางทวารหนักถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมทางเพศที่ผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายนิยมปฏิบัติกัน แต่อย่างไรก็ตามผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายจำนวนมากไม่นิยมทำกิจกรรมดังกล่าว แต่มีความพึงพอใจที่ทำกิจกรรมอย่างอื่นแทนทั้งการร่วมเพศทางปาก, การฟรอต หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองระหว่างกันแทน[4][5][6]

ในบรรดาผู้ชายที่มีการร่วมทางเพศทางทวารหนัก ฝ่ายที่สอดใส่จะถูกนิยามว่ารุก ขณะที่ฝ่ายที่ถูกสอดใส่จะถูกนิยามว่ารับ ส่วนฝ่ายที่มีความพึงพอใจกับทั้ง 2 บทบาทจะถูกนิยามว่าโบท[7] และเมื่อหากมีการทำกิจกรรมแบบไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยพฤติกรรมดังกล่าวจะถูกนิยามว่าแบร์แบ็ก การรับรู้ถึงความสุข และความเจ็บปวดอาจจะมาพร้อมกันในระหว่างที่ร่วมเพศทางทวารหนัก แม้ว่าปลายเส้นประสาทของทวารหนักจะทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจแต่ที่จะทำให้อีกฝ่ายเกิดความเสียวสุดยอดทางเพศระหว่างทำกิจกรรมนั้นสามารถทำได้โดยการไปกระตุ้นจุดของต่อมลูกหมากซึ่งอยู่ภายในทวารหนักของผู้ชาย[8][9] จากการศึกษาของ National Survey of Sexual Health and Behavior (NSSHB) พบว่าผู้ชายที่เป็นฝ่ายถูกสอดใส่มีแนวโน้มจะถึงจุดสุดยอดในช่วงสุดท้ายของการทำกิจกรรมเท่ากับผู้ชายที่เป็นฝ่ายที่สอดใส่[10] และจากการศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่างคนโสดในสหรัฐพบว่าอัตราการถึงจุดสุดยอดของผู้ชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันถึงแม้ว่าจะมีรสนิยมที่แตกต่างกัน[11] สำหรับความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่พึงพอใจระหว่างร่วมเพศทางทวารหนัก[12] จากผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 24 ถึงร้อยละ 61 ของชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศมีความรู้สึกเจ็บในการทำกิจกรรมดังกล่าวและมันได้กลายเป็นปัญหาทางเพศที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน[12]

จากผลสำรวจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความถี่ของการร่วมเพศทางทวารหนักกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายพบว่ามีความแตกต่างกันเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งก็มีบางช่วงที่มีร้อยละสูงกว่าช่วงอื่นๆ[7][13][14][15] จากรายงานพบว่าชายรักร่วมเพศ และชายรักร่วมสองเพศจำนวนมากพบว่าตนเองเคยมีส่วนร่วมในการร่วมเพศทางทวารหนักมาทั้งชีวิต[7] และจากการศึกษาในกลุ่มชายรักร่วมเพศพบว่าผู้ชายที่ชอบสอดใส่กับผู้ชายที่ชอบถูกสอดใส่มีร้อยละที่ใกล้เคียงกัน[7][16] ซึ่งอย่างไรก็ตามผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายขณะที่เป็นฝ่ายถูกสอดใส่มักจะมีคำถามเกี่ยวกับความเป็นชายในระหว่างทำกิจกรรม[17][18]

การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง

[แก้]
รูปภาพผู้ชายสองคนขณะกำลังฟรอตผ่านการเสียดสีอวัยวะเพศ

ในการร่วมเพศแบบไม่สอดใส่นั้นสามารถทำได้หลายวิธีอาทิ การฟรอต คือกิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายโดยการเอาอวัยวะเพศของทั้งสองฝ่ายมาเสียดสีกัน[19] ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการฟรอตเทจ วิธีการดังกล่าวสามารถสร้างความพึงพอใจได้มากกว่าเนื่องจากอวัยวะเพศของทั้งสองฝ่ายถูกกระตุ้นในเวลาที่พร้อมกัน ซึ่งทั้งคู่สามารถที่จะสร้างน่าพึงพอใจจากการเสียดสีพร้อมกันจากเส้นประสาทของเส้นสองสลึงที่อยู่ตรงใต้ช่องปัสสาวะซึ่งอยู่บริเวณหัวองคชาตของอวัยวะเพศชายของแต่ละคน

การร่วมเพศแบบไม่สอดใส่โดยการเสียดสีบริเวณทวารหนัก หรือการด็อกกิง (หมายถึงการเอาอวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปในหนังหุ้มปลายของอีกฝ่าย) ก็ถือเป็นกิจกรรมทางเพศแบบไม่สอดใส่อีกรูปแบบหนึ่งระหว่างผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย

การทำกิจกรรมทางเพศโดยใช้มือก็ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมทางเพศแบบไม่สอดใส่ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย โดยมีทั้งแฮนด์จ็อบซึ่งก็คือการใช้มือเพื่อกระตุ้นอวัยวะเพศชายหรือถุงอัณฑะของอีกฝ่าย และการฟิงเกอร์ริงซึ่งก็คือการใช้นิ้วสวนเข้าไปทางทวารหนักของคู่ตนเอง

ซึ่งผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายสามารถใช้เซ็กซ์ทอยประกอบได้ โดยอิงจากการสำรวจทางออนไลน์ของชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศจำนวน 25,294 คน พบว่าร้อยละ 49.8 ได้เคยใช้ไวเบรเตอร์ โดยผู้ชายส่วนมากที่ใช้ไวเบรเตอร์ในขณะสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองร้อยละ 86.2 ในขณะผู้ชายบางส่วนใช้กับคู่ของตนเองกันพบว่า ร้อยละ 65.6 ได้ใช้ไวเบรเตอร์โดยไม่มีการสอดใส่ ขณะที่ร้อยละ 59.4 พบว่ามีการใช้ตลอดการมีกิจกรรมทางเพศ[20]

การร่วมเพศทางปาก

[แก้]
รูปภาพผู้ชายสองคนขณะทำเฟอเลชิโอ ในท่วงท่า 69

ลักษณะของการร่วมเพศทางปากระหว่างผู้ชายกับผู้ชายอาจจะมีความแตกต่างกันไปทั้งการกระตุ้นผ่านทางอวัยวะเพศ (เฟอเลชิโอ), ถุงอัณฑะ (ทีแบ็กกิง) หรือรูทวารหนัก (เอนิลิงกัส) เวลลิงส์และคณะได้ทำการรายงานผลของ "ความสมดุลระหว่าง 'รักร่วมเพศ' กับ การร่วมเพศทาง'ทวารหนัก' ในกลุ่มผู้ชายเป็นเรื่องปกติทั้งในกลุ่มบุคคลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ" ซึ่งจากการสำรวจแบบออนไลน์ของกลุ่มชายรักร่วมเพศจำนวน 18,000 คนในทวีปยุโรปพบว่า "การร่วมเพศทางปากเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด ตามมาด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองร่วมกัน ขณะที่การร่วมเพศทางทวารหนักอยู่ในอันดับที่สาม"[4] และจากผลการสำรวจในปีค.ศ. 2011 โดย The Journal of Sexual Medicine พบว่าผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มผู้ชายที่เป็นคนรักร่วมเพศและรักร่วมสองเพศในสหรัฐ ผลสำรวจในลักษณะพฤติกรรมพบว่า การจูบอีกฝ่ายทางปากร้อยละ 74.5 ตามมาด้วยการร่วมเพศทางปากร้อยละ 72.7 และการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองระหว่างกันร้อยละ 68.4 ซึ่งทั้งสามพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพฤติกรรมที่พบบ่อยที่สุดจากการสำรวจตามลำดับ โดยร้อยละ 63.2 ของกลุ่มตัวอย่างได้รายงานเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของตนเองที่แตกต่างกัน 5 ถึง 9 พฤติกรรมในช่วงของการมีกิจกรรมครั้งสุดท้าย[21]

ความเสี่ยงสุขภาพ

[แก้]
ใบปิดรณรงค์กิจกรรมทางเพศของเกย์อย่างปลอดภัยในประเทศเวียดนาม

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) หลายชนิดอาจเป็นผลมาจากกิจกรรมทางเพศ จากการศึกษาปีค.ศ. 2007 ได้รายงานว่ามีการสำรวจประชากรครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งซึ่งก็ได้ข้อสรุปว่า "ชายรักร่วมเพศโดยส่วนใหญ่มีจำนวนคู่นอนที่ไม่มีการป้องกันในแต่ละปีใกล้เคียงกับจำนวนของคู่ชายและหญิงรักต่างเพศ"[22][23]

เอดส์เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่เกิดจากเชื้อเอชไอวี[24][25][26] จากผลสำรวจของทั่วโลกพบว่าประมาณร้อยละ 5 ถึง 10 ของการติดเชื้อมาจากผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย[27] โดยอย่างไรก็ตามปีค.ศ. 2009 ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก และยุโรปกลาง พบว่าการติดเชื้อเอชไอวีติดต่อโดยผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายมากกว่าช่องทางการติดต่ออื่นๆ[28] ในสหรัฐจากผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีรายใหม่จำนวน 38,739 รายพบว่าเป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศในร้อยละ 70 ของกลุ่มผู้ติดเชื้อทั้งหมด[29] จากจำนวนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อเอชไอวีในสหราชอาณาจักรจำนวน 5,164 ราย ในปีค.ศ. 2016 นั้นพบว่าร้อยละ 54 เป็นชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศ[30] ซึ่งในปีค.ศ. 2017 สถิตินี้มีตัวเลขที่ลดลงในลอนดอนตามที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอังกฤษประจำปีค.ศ. 2017[31][32] ความเกี่ยวโยงของเชื้อเอชไอวีกับกลุ่มชายรักร่วมเพศและผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายอาจเห็นชัดได้จากบทบาททางเพศที่มองผู้ชายว่าต้องมีลักษณะที่เข้มแข็งและอดทน จากทั้งหมดทำให้ผู้ชายบางส่วนได้เข้าถึงการรักษาที่ค่อนข้างช้า[33] ในด้านการครอบคลุมของการให้บริการเพื่อป้องกันเชื้อเอชไอวียังมีอัตราที่ต่ำสำหรับชายรักร่วมเพศและผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังมีให้เห็นแม้กระทั่งในประเทศที่มีรายได้ทางเศรษฐกิจสูง[33]

ซิฟิลิสเป็นโรคที่แพร่จากคนสู่คนผ่านการสัมผัสโดยตรงกับบริเวณที่เกิดซิฟิลิส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่อวัยวะเพศภายนอก, ช่องคลอด หรือทวารหนัก[34] ในปีค.ศ. 2006 จากเคสของผู้ป่วยโรคซิฟิลิสในสหรัฐทั้งหมดพบว่าเป็นผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายในร้อยละ 64[34] ผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายมีอัตราการติดโรคซิฟิลิสมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งการติดโรคซิฟิลิสกลับมีอัตราที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการติดเชื้อเอชไอวี[35] แต่ในทางกลับกันจากการสำรวจในสหรัฐพบว่าในกลุ่มชายผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายครึ่งหนึ่งในกลุ่มตัวอย่างมีอัตราการติดโรคซิฟิลิสก็มีเชื้อเอชไอวีเช่นเดียวกัน จากผลการศึกษาบางชิ้นโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวกได้ข้อสรุปผลของการเพิ่มขึ้นของโรคดังกล่าวมาจากสาเหตุมาจากการที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัยที่มากขึ้นในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย[36] แม้ว่าจะมีผลการศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนระดับประเทศซึ่งบทสรุปพบว่าอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายเพิ่มขึ้นและไม่ลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และความถี่ของการร่วมเพศทางทวารหนักในมีกิจกรรมทางเพศครั้งสุดท้ายของกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชายก็ลดลงเป็นอย่างมาก[37]

จากผลการสำรวจของสหรัฐพบว่าเอชไอวี, ซิฟิลิส และหูดที่ทวารหนักพบได้บ่อยในผู้ชายที่เพิ่งร่วมเพศกับผู้ชาย (MSM) มากกว่าผู้ชายที่เพิ่งร่วมเพศกับผู้หญิงเท่านั้น (MSW) ในทางกลับกันเริมที่อวัยวะเพศชายกลับพบได้น้อยในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้ชาย แต่กลับพบได้มากในกลุ่มผู้ชายที่ร่วมเพศกับผู้หญิง ในส่วนของคลามิเดีย, ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส (HPV), หนองในแท้ และเหา พบว่าไม่มีความแตกต่างมากนักกับกลุ่มผู้ชายทั้งสองกลุ่ม[38]

สิทธิตามกฎหมาย

[แก้]

การกระทำบางอย่างหรือทั้งหมดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชาย ยังถูกจัดว่าเป็นอาชญากรรมในเขตอำนาจการปกครองของบางประเทศทั้งในปัจจุบันและในอดีต จากรายงานประจำเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ของ International Lesbian, Gay, Bisexual, Trans and Intersex Association (ILGA) พบว่ากิจกรรมทางเพศอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผู้ชายกับผู้ชายถือเป็นความผิดทางอาญาใน 67 ประเทศจาก 193 ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ และอีก 1 เขตอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นอิสระคือหมู่เกาะคุก ในขณะที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 2 ประเทศ คือประเทศอิรักและประเทศอียิปต์ถือการกระทำดังกล่าวเป็นอาชญากรรมโดยพฤตินัยแต่ไม่ได้ระบุในกฎหมาย[39] ในประเทศอียิปต์นั้นไม่มีกฎหมายต่อต้านการรักร่วมเพศ แต่ชายรักร่วมเพศและชายรักร่วมสองเพศจะถูกดำเนินคดีภายใต้กฎหมายอื่น อาทิเหตุการณ์ไคโร 52[40][41] ที่เป็นเหตุการณ์ที่โด่งดัง ในประเทศสมาชิกสหประชาชาติอย่างน้อย 6 ประเทศได้แก่ ประเทศบรูไน, ประเทศอิหร่าน, ประเทศมอริเตเนีย, ประเทศไนจีเรีย (เฉพาะไนจีเรียตอนเหนือ), ประเทศซาอุดีอาระเบีย และประเทศเยเมน กิจกรรมทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายมีโทษประหารชีวิต[39] ในปี ค.ศ. 2007 พบว่ามี 5 ประเทศประหารชีวิตบุคคลหนึ่งที่มีโทษฐานกระทำพฤติกรรมรักร่วมเพศ[39] ในปีค.ศ. 2020 ILGA ได้กำหนดให้ประเทศอิหร่านและประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีรายงานว่ามีการประหารชีวิตบุคคลรักร่วมเพศ[39] ในประเทศอื่นเช่นประเทศเยเมนและประเทศอิรักได้มีการวิสามัญฆาตกรรมกลุ่มคนรักร่วมเพศซึ่งดำเนินการโดยกองกำลังติดอาวุธ อาทิ รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์หรืออัลกออิดะฮ์[39] แต่ทั้งนี้ประเทศอื่นหลายประเทศได้เคยมีกฎหมายดังกล่าวในอดีตแต่ถูกยกเลิกไปโดยเฉพาะตั้งแต่ปีค.ศ. 1945[42][43] ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นเรื่องยากที่จะบังคับใช้[44] และบ่อยกว่านั้นไม่ได้บังคับใช้ในเหตุการณ์ทั่วไป[43]

  เป็นอาชญากรรม
  ได้รับการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในช่วงปี 1791–1850
  ได้รับการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในช่วงปี 1850–1945
  ได้รับการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในช่วงปี 1946–1989
  ได้รับการลดทอนความเป็นอาชญากรรมในช่วงปี 1990–ปัจจุบัน
  ไม่สามารถรับรู้ถึงสิทธิตามกฎหมาย
  ได้รับสิทธิโดยชอบธรรมตั้งแต่แรก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eaton, A.D.; Scheadler, T.R.; Bradley, C.; McInroy, L.B. (September 2023). "Identity development, attraction, and behaviour of heterosexually identified men who have sex with men: scoping review protocol". Systematic Reviews. Springer Nature. 12 (184). doi:10.1186/s13643-023-02355-6. ISSN 2046-4053. PMC 10542689. PMID 37777815. S2CID 263231942.
  2. 2.0 2.1 Turner CF, Ku L, Rogers SM, Lindberg LD, Pleck JH, Sonenstein FL (May 1998). "Adolescent sexual behavior, drug use, and violence: increased reporting with computer survey technology". Science. 280 (5365): 867–73. Bibcode:1998Sci...280..867T. doi:10.1126/science.280.5365.867. PMID 9572724.
  3. 3.0 3.1 Coffman, Katherine B.; Coffman, Lucas C.; Ericson, Keith M. Marzilli (2013). "The Size of the LGBT Population and the Magnitude of Anti-Gay Sentiment are Substantially Underestimated". Management Science. 63 (10): 3168–3186. doi:10.1287/mnsc.2016.2503. S2CID 35207796.
  4. 4.0 4.1 Kaye Wellings; Kirstin Mitchell; Martine Collumbien (2012). Sexual Health: A Public Health Perspective. McGraw-Hill International. p. 91. ISBN 978-0335244812. สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
  5. Goldstone, Stephen E.; Welton, Mark L. (2004). "Sexually Transmitted Diseases of the Colon, Rectum, and Anus". Clin Colon Rectal Surg. 17 (4): 235–239. doi:10.1055/s-2004-836944. PMC 2780055. PMID 20011265.
  6. Edwin Clark Johnson, Toby Johnson (2008). Gay Perspective: Things Our Homosexuality Tells Us about the Nature of God & the Universe. Lethe Press. p. 139. ISBN 978-1-59021-015-4. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Steven Gregory Underwood (2003). Gay Men and Anal Eroticism: Tops, Bottoms, and Versatiles. Harrington Park Press. ISBN 978-1-56023-375-6. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  8. Rosenthal, Martha (2012). Human Sexuality: From Cells to Society. Cengage Learning. pp. 133–135. ISBN 978-0618755714. สืบค้นเมื่อ September 17, 2012.
  9. Komisaruk, Barry R.; Whipple, Beverly; Nasserzadeh, Sara; Beyer-Flores, Carlos (2009). The Orgasm Answer Guide. JHU Press. pp. 108–109. ISBN 978-0-8018-9396-4. สืบค้นเมื่อ November 6, 2011.
  10. Mona Chalabi (20 August 2015). "The Gender Orgasm Gap". FiveThirtyEight.
  11. Garcia Justin R (2014). "Variation in Orgasm Occurrence by Sexual Orientation in a Sample of U.S. Singles". The Journal of Sexual Medicine. 11 (11): 2645–2652. doi:10.1111/jsm.12669. PMC 6035747. PMID 25131299.
  12. 12.0 12.1 Joel J. Heidelbaugh (2007). Clinical men's health: evidence in practice. Elsevier Health Sciences. p. 273. ISBN 978-1-4160-3000-3. สืบค้นเมื่อ October 14, 2011.
  13. "Increases in Unsafe Sex and Rectal Gonorrhea Among Men Who Have Sex With Men – San Francisco, California, 1994–1997". Center for Disease Control. January 29, 1999. สืบค้นเมื่อ May 1, 2021.
  14. Laumann, E., Gagnon, J.H., Michael, R.T., and Michaels, S. The Social Organization of Sexuality: Sexual Practices in the United States. 1994. Chicago: University of Chicago Press (Also reported in the companion volume, Michael et al., Sex in America: A Definitive Survey, 1994).
  15. "Anal Sex Safety and Health Concerns". WebMD. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
  16. Breyer, Benjamin N.; Smith, James F.; Eisenberg, Michael L.; Ando, Kathryn A.; Rowen, Tami S.; Shindel, Alan W. (July 2010). "The Impact of Sexual Orientation on Sexuality and Sexual Practices in North American Medical Students". The Journal of Sexual Medicine. 7 (7): 2391–2400. doi:10.1111/j.1743-6109.2010.01794.x. PMC 3607668. PMID 20384941.
  17. John H. Harvey; Amy Wenzel; Susan Sprecher (2004). The handbook of sexuality in close relationships. Routledge. pp. 355–356. ISBN 978-0805845488. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  18. Odets, Walt (1995). In the Shadow of the Epidemic: Being Hiv-negative in the Age of AIDS. Duke University Press. pp. 191–192. ISBN 978-0822316381. สืบค้นเมื่อ July 6, 2013.
  19. "The New Sex Police". The Advocate. Here. 2005-04-12. pp. 39–40, 42. สืบค้นเมื่อ February 12, 2011.
  20. Reece M; Rosenberger JG; Schick V; Herbenick D; Dodge B; Novak DS (2010). "Characteristics of vibrator use by gay and bisexually identified men in the United States". The Journal of Sexual Medicine. 7 (10): 3467–76. doi:10.1111/j.1743-6109.2010.01873.x. PMID 20561168.
  21. Rosenberger Joshua G (2011). "Sexual Behaviors and Situational Characteristics of Most Recent Male‐Partnered Sexual Event among Gay and Bisexually Identified Men in the United States". The Journal of Sexual Medicine. 8 (11): 3040–3050. doi:10.1111/j.1743-6109.2011.02438.x. PMID 21883941.
  22. "Sexual Behavior Does Not Explain Varying HIV Rates Among Gay And Straight Men - Medical News Today". medicalnewstoday.com. 13 September 2007. สืบค้นเมื่อ February 10, 2015.
  23. Goodreau SM, Golden MR (October 2007). "Biological and demographic causes of high HIV and sexually transmitted disease prevalence in men who have sex with men". Sex Transm Infect. 83 (6): 458–462. doi:10.1136/sti.2007.025627. PMC 2598698. PMID 17855487.
  24. Sepkowitz KA (June 2001). "AIDS—the first 20 years". N. Engl. J. Med. 344 (23): 1764–1772. doi:10.1056/NEJM200106073442306. PMID 11396444.
  25. Weiss RA (May 1993). "How does HIV cause AIDS?". Science. 260 (5112): 1273–1279. Bibcode:1993Sci...260.1273W. doi:10.1126/science.8493571. PMID 8493571.
  26. Cecil, Russell (1988). Textbook of Medicine. Philadelphia: Saunders. pp. 1523, 1799. ISBN 978-0-7216-1848-7.
  27. "Men who have sex with men (MSM) and HIV/AIDS | AVERT". avert.org. สืบค้นเมื่อ February 10, 2015.
  28. "2009 AIDS epidemic update". Joint United Nations Programme on HIV/AIDS and World Health Organization. November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 28, 2011. สืบค้นเมื่อ September 28, 2011.
  29. Center for Disease Control (CDC) (12 November 2019). "HIV and Gay and Bisexual Men". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
  30. "HIV statistics | Terrence Higgins Trust". www.tht.org.uk (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-21. สืบค้นเมื่อ 2018-08-23.
  31. "Public Health England 2017 Report on HIV/AIDS in UK gay and bisexual men" (PDF).
  32. "HIV and AIDS in the United Kingdom (UK)". AVERT (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-21. สืบค้นเมื่อ 2018-08-23.
  33. 33.0 33.1 "UNAIDS data 2021". 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. 34.0 34.1 "Syphilis & MSM (Men Who Have Sex With Men) – CDC Fact Sheet". Centers for Disease Control and Prevention. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2017. สืบค้นเมื่อ May 1, 2021.
  35. "Reported STDs in the United States — 2014 National Data for Chlamydia, Gonorrhea, and Syphilis" (PDF). Centers for Disease Control and Prevention. 2019-01-16.
  36. M Hourihan; H Wheeler; R Houghton; B T Goh (2004). "Lessons from the syphilis outbreak in homosexual men in east London". Sex Transm Infect. 80 (6): 509–511. doi:10.1136/sti.2004.011023. PMC 1744940. PMID 15572625.
  37. Andrew E. Grulich; และคณะ (2014). "Homosexual experience and recent homosexual encounters: the Second Australian Study of Health and Relationships". Sexual Health. 11 (5): 439–50. doi:10.1071/SH14122. PMID 25376997.
  38. Thomas W. Gaither; และคณะ (2015). "The Influence of Sexual Orientation and Sexual Role on Male Grooming-Related Injuries and Infections". J Sex Med. 12 (3): 631–640. doi:10.1111/jsm.12780. PMC 4599875. PMID 25442701.
  39. 39.0 39.1 39.2 39.3 39.4 ILGA (14 December 2020). "State-Sponsored Homophobia report - 2020 global legislation overview update" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). pp. 11, 25, 38, 85, 115, 131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-15. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  40. Asal, Victor; Sommer, Udi (2016). Legal Path Dependence and the Long Arm of the Religious State: Sodomy Provisions and Gay Rights across Nations and over Time (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. pp. 19–20, 65. ISBN 978-1-4384-6325-4.
  41. Tolino, Serena (2020). "LGBTQI Rights in the Middle East and North Africa". The Oxford Handbook of the Sociology of the Middle East (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-008748-7.
  42. Hildebrandt, Achim (2014). "Routes to decriminalization: A comparative analysis of the legalization of same-sex sexual acts". Sexualities. 17 (1–2): 230–253. doi:10.1177/1363460713511105. S2CID 145575130.
  43. 43.0 43.1 Kane, Melinda D. (2015). "Decriminalizing Homosexuality: Gaining Rights through Sodomy Law Reform". The Ashgate Research Companion to Lesbian and Gay Activism. Routledge. p. 277. ISBN 978-1-315-61314-7.
  44. Dupont, Wannes (2019). "Pas de deux, out of step: Diverging chronologies of homosexuality's (de)criminalisation in the Low Countries". Tijdschrift voor Genderstudies. 22 (4): 321–338. doi:10.5117/TVGN2019.4.001.DUPO. S2CID 213698186.