กำแพงหมากฝรั่ง
กำแพงหมากฝรั่งโรงละครมาร์เกต หรือ กำแพงหมากฝรั่ง (อังกฤษ: Market Theatre Gum Wall หรือ Gum Wall) เป็นกำแพงอิฐของโรงละครมาร์เกตที่ปกคลุมด้วยหมากฝรั่งที่ใช้แล้ว โรงละครนี้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารตลาดไพก์เพลส (Pike Place Market) ตั้งอยู่ที่ซอยโพสต์ใกล้บนถนนไพก์ (Pike Street) ทางใต้ของบริเวณทางเข้าหลักของตลาด ซึ่งอยู่ในย่านใจกลางเมืองซีแอตเทิล หลายส่วนของกำแพงที่มีหมากฝรั่งแปะมีความหนาหลายนิ้ว และติดขึ้นไปสูงถึง 4.6 เมตร (15 ฟุต) ตลอดแนวยาว 15 เมตร (50 ฟุต)[1] ทำให้กำแพงหมากฝรั่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญของเมือง นับตั้งแต่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจในคริสต์ทศวรรษ 1990
ประวัติ
[แก้]กำแพงหมากฝรั่งตั้งอยู่ในซอยโพสต์ (Post Alley) ติดกับห้องจำหน่ายตั๋วของโรงละครมาร์เก็ต ซึ่งเป็นโรงละครสำหรับการแสดงละครด้นสด[2] การแสดงตลก และการแสดงขนาดเล็กอื่น ๆ ภายหลังจากที่โรงละครนี้เป็นสถานที่จัด การแข่งขันการแสดงละครด้นสด (Unexpected Productions' Theatresports) ในปี 1991 กำแพงและทางเดินแถบใกล้ ๆ โรงละครเริ่มแปรสภาพเป็นแหล่งสะสมหมากฝรั่งใช้แล้วจำนวนมาก และมักมีเหรียญแปะอยู่บนหมากฝรั่งเหล่านี้ ต่อมาแม้ว่ามีคำสั่งของหน่วยงานอนุรักษ์และพัฒนาตลาดไพค์เพลสให้ทำความสะอาดกำแพงบ่อยครั้งก็ตาม ซึ่งทำได้เพียงนำเหรียญทั้งหมดออกไป แต่ซากหมากฝรั่งจำนวนมหาศาลยังคงติดแน่นบนกำแพงและสะสมเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ [3][4] จนกระทั่งผู้บริหารตลาดฯ ได้กลับแนวทางนโยบายและปล่อยให้หมากฝรั่งคงอยู่อย่างนั้น และได้รับการยอมรับให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปี 1999[3][1]
ปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 กำแพงหมากฝรั่งขยายตัวออกไปจนมีความยาว 15 เมตร (50 ฟุต) และสูงถึง 6.1 เมตร (20 ฟุต)[3][1] ในจำนวนผู้ร่วมสร้างกำแพงหมากฝรั่งเหล่านี้บางคนได้สร้างสรรค์ผลงานเชิงศิลป์โดยจัดเรียงชิ้นส่วนหมากฝรั่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ [5]
ในภาวะปกติที่ไม่มีการทำความสะอาดกำแพง การสลายตัวของหมากฝรั่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ช้ามาก สามารถคงสภาพเดิมได้นานเป็นเวลาหลายปีแม้ภายใต้ภูมิอากาศที่หนาวเย็น แต่ในบางครั้งภายใต้ภูมิอากาศที่ร้อนและแสงแดดจัดอาจทำให้หมากฝรั่งเริ่มอ่อนตัวและย้อยลงมาจากพื้นผิวที่เกาะอยู่ได้[6]
การยอมรับ
[แก้]กำแพงหมากฝรั่งได้รับการระบุให้เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคมากที่สุดในโลก 5 อันดับแรกในปี 2009 เป็นรองเพียงบลาร์นีย์สโตน[1][7][8] เจย์ อินสลี (Jay Inslee) ผู้ว่าการรัฐวอชิงตันกล่าวว่า กำแพงนี้เป็น "สิ่งที่เขาโปรดปรานในซีแอตเทิลที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว"[9] กำแพงหมากฝรั่งได้รับการระบุให้เป็นจุดเริ่มต้นของทัวร์ผี[10][11] และยังเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับช่างภาพงานแต่งงานอีกด้วย[3] บ่อยครั้งผู้เยี่ยมชมแสดงคำมั่นสัญญาในความรักต่อกันด้วยหมากฝรั่ง[12] และเปรียบเทียบกำแพงหมากฝรั่งนี้กับจุดโรแมนติกอื่น ๆ เช่น ปงเดซาร์ในปารีส
การทำความสะอาด
[แก้]เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 หน่วยงานอนุรักษ์และพัฒนาตลาดไพค์เพลสได้ประกาศไว้ว่า เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่แหล่งดึงดูดการท่องเที่ยวกำแพงหมากฝรั่งนี้จะได้รับการทำความสะอาดทั้งหมดด้วยการขัดออกและขจัดคราบด้วยไอน้ำเพื่อการบำรุงรักษาและป้องกันการสึกกร่อนของอิฐบนกำแพงจากน้ำตาลในหมากฝรั่ง[13][14][15] ซึ่งก่อนหน้านี้กำแพงนี้เคยได้รับการทำความสะอาดเพียงเฉพาะจุดในบริเวณที่มีการแปะหมากฝรั่งในพื้นที่ต้องห้ามเท่านั้น[16]
การประกาศทำความสะอาดนี้ทำให้เกิดความวุ่นวายอย่างมากในหมู่ชาวซีแอตเทิลและแฟน ๆ ของสถานที่ท่องเที่ยวนี้ เจ้าหน้าที่ของตลาดไพค์เพลสจึงได้จัดการประกวดภาพถ่ายโดยกระตุ้นให้แฟน ๆ แบ่งปันภาพถ่ายและความทรงจำของตนเองกับกำแพงทางออนไลน์[17]
เริ่มงานเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน และใช้เวลา 130 ชั่วโมงจึงแล้วเสร็จ[18] โดยแกะและกำจัดหมากฝรั่งได้มากกว่า 1,070 กิโลกรัม ออกไป[19][20] ซึ่งจัดการโดยบริษัทท้องถิ่น ซึ่งใช้งบประมาณ 4,000 เหรียญสหรัฐ[21] อุณหภูมิของเครื่องอบไอน้ำสูงถึง 280 องศาฟาเรนไฮต์ (137 องศาเซลเซียส) ทำให้หมากฝรั่งแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และแรงดันที่ต่ำจะไม่ทำอันตรายต่อวัสดุอิฐ[22][23] หมากฝรั่งที่แกะออกถูกทิ้งในถังขยะตามปกติ[24]
แม้ว่ามีการทำความสะอาดที่สมบูรณ์แล้ว แต่หมากฝรั่งใช้แล้วได้ถูกแปะลงไปใหม่บนกำแพงแทบจะในทันที เนื่องจากไม่มีมาตรการป้องกันในการห้ามแปะหมากฝรั่งกับกำแพงที่เพิ่งทำความสะอาดใหม่[25] การเพิ่มเติมใหม่บางส่วนเป็นการรำลึกถึงเหตุโจมตีในกรุงปารีส เดือนพฤศจิกายน 2015[26]
การโต้แย้ง
[แก้]บางคนโต้แย้งว่ากำแพงหมากฝรั่งส่งเสริมการเพิ่มขยะ[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากผู้มาเยี่ยมมักจะติดสิ่งของต่าง ๆ เช่น ก้นบุหรี่หรือกระดาษห่อหมากฝรั่งไว้ตามกำแพงด้วย[27] มีการร้องเรียนก่อนหน้านี้ว่าหมากฝรั่งติดไปตามเสื้อผ้าและรองเท้าของผู้ทำธุรกิจใกล้เคียงพื้นที่กำแพง[28] และหมากฝรั่งเหล่านี้เป็นที่ดึงดูดหนูในซอย บาร์และร้านอาหารที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของสถานที่ท่องเที่ยวพยายามกันไม้ให้หมากฝรั่งเหล่านี้ออกจากบริเวณใกล้เคียงร้าน โดยติดป้ายว่า "ห้ามแปะหมากฝรั่ง" อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ[29]
ในฐานะเป็นงานศิลปะ
[แก้]กำแพงหมากฝรั่งเป็นตัวอย่างของงานศิลปะแบบมีส่วนร่วม และศิลปะแนวความคิด[ต้องการอ้างอิง]
แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของตลาดไพค์เพลสจะระบุถึงความกังวลเกี่ยวกับหมากฝรั่งที่ส่งผลต่อกำแพงอิฐ แต่บางคนอาจมองว่าการมีส่วนร่วมในการแปะหมากฝรั่งนั้นเป็นผลมาจากการร่วมมือกัน[30] หลายคนอาจจัดสถานที่ดังกล่าวว่าเป็น 'งานศิลปะส่วนรวม' ซึ่งทำให้การแปะหมากฝรั่งใช้แล้วที่ดูเลวร้ายกลายเป็นงานศิลปะ[31]
กำแพงหมากฝรั่งมักได้รับประดับติดด้วยสำเนางานของศิลปินบางชิ้น[32] และเนื่องจากกำแพงไม่ค่อยได้รับการทำความสะอาด หลายคนจึงใช้กำแพงเป็นที่ฝึกศิลปะกราฟฟิตี้บนตำแหน่งที่มีหมากฝรั่งไม่มาก[6]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ปี 2011
-
ปี 2011
-
ปี 2011
-
ปี 2011
-
ปี 2019
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Chen, Stephanie (July 20, 2009). "Kissing, chewing -- the 'germiest ' tourist attractions". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-31. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ อุ่นใจ, ดร ป๋วย (2022-03-03). "หมากฝรั่งของโลลา กับปริศนายุคหิน 5,700 ปี/ทะลุกรอบ ป๋วย อุ่นใจ". มติชนสุดสัปดาห์.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 Eskenazi, Stuart (June 6, 2008). "Market lost & found". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Unexpected Productions. "The Gum Wall". Unexpected Productions. สืบค้นเมื่อ January 22, 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Carter, Chelsea J. (June 30, 2006). "Gumming it: Messages designed to stick on Seattle's Gum Wall". The Spokesman-Review. Associated Press. สืบค้นเมื่อ June 8, 2012.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 "Stuck On You: Seattle's Gum Wall Is Pretty, Gross". WebUrbanist (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2010-08-29. สืบค้นเมื่อ 2022-02-11.
- ↑ "Ewww! Seattle gum wall a top germy attraction". Komo News. June 13, 2009. สืบค้นเมื่อ July 21, 2016.
- ↑ Griswold, Jamie (June 11, 2009). "Seattle Gum Wall ranks in top 5 "Germiest Attractions"". MyNorthWest.com. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ Sean Nelson with Jay Inslee (May 23, 2018), "Seattle's Most Noteworthy Marvels, Landmarks and Diversions", The Stranger's Know-it-all Guide to Seattle, โดย Stranger Staff, Leilani Polk (managing editor) (บ.ก.), The Stranger, pp. 9–10
{{citation}}
:|editor=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Post Alley - Gum Wall". The News Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 17, 2011. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 14, 2009.
- ↑ "The Pike Place Market Ghost Tours". SPI blog. Seattle Post-Intelligencer. September 28, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-10. สืบค้นเมื่อ August 14, 2009.
- ↑ "The Sticky Story Behind Seattle's Famous Gum Wall". Secret Seattle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
- ↑ Crawford, Emily (November 3, 2015). "Pike Place Market's Famous Gum Wall Receives Complete Cleaning" (PDF) (Press release). Pike Place Market Preservation & Development Authority. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-19. สืบค้นเมื่อ November 18, 2015.
- ↑ O'Brien, Kirsten. "Cleaning up Seattle's gum wall". Seattle Post-Intelligencer. สืบค้นเมื่อ November 3, 2015.
- ↑ "Seattle's Gum Wall getting a scrub down". KING-TV. November 3, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2015. สืบค้นเมื่อ November 18, 2015.
- ↑ "Seattle's Gum Wall Is Getting Scrubbed, Making Room for a 'Clean Canvas'". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-06.
- ↑ "Seattle gum wall: steam-cleaners at work to clear 'germiest place on Earth'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2015-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
- ↑ DeMay, Daniel (November 16, 2015). "Gum wall not clean for long". Seattle Post-Intelligencer. สืบค้นเมื่อ November 18, 2015.
- ↑ Bush, Evan (November 10, 2015). "Gum wall gets naked in early-morning steam cleaning". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ November 18, 2015.
- ↑ Bush, Evan (November 16, 2015). "Seattle gum-wall time-lapse: Watch ton of gum disappear in a minute". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ November 18, 2015.
- ↑ Marnie Hunter. "Pike Place Market's gum wall getting a deep cleaning". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
- ↑ Sticky situation: Cleaning up Seattle 'gum wall' (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2022-02-04
- ↑ Parkland College; Barnes, Scott; Floess, Peter; Webb, Brittany; Moss, Matthew; Trueblood, Zach; Benson, Sierra; Kenter, Jacob; Vilmin, Adam (2015-11-11). "Prospectus, November 11, 2015". Prospectus 2015.
- ↑ "Seattle gum wall: Where will all the discarded gum go?". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-11-04. สืบค้นเมื่อ 2022-02-09.
- ↑ Taylor, Alan. "Scrape It Off, Scrape It Off—Seattle Removes 20 Years Worth of Gum From Historic Wall - The Atlantic". www.theatlantic.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-02-06.
- ↑ Frohne, Lauren (November 15, 2015). ""Re-gumming" the gum wall — for Paris". The Seattle Times. สืบค้นเมื่อ November 18, 2015.
- ↑ "The Sticky Story Behind Seattle's Famous Gum Wall". Secret Seattle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-04-26. สืบค้นเมื่อ 2022-02-05.
- ↑ "Seattle Says Goodbye To A Disgusting Tourist Attraction: The Gum Wall". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-01-22.
- ↑ Sailor, Craig (April 15, 2018). "Popular gum wall poses sticky situation in Seattle; Social media has turned this sticky alley into one of Seattle's top tourist destinations". Richmond Times Dispatch.
- ↑ Joung, Joo Yeoun (2020). "Rest Stop : a design exploration inspired by micro moment of food" (ภาษาอังกฤษ). doi:10.14288/1.0388507.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Leob, J. (2018-03-01). "Walls - Engineering in society: Good, Bad or Ugly? - Ten significant wall". Engineering & Technology (ภาษาอังกฤษ). 13 (2): 30–33. doi:10.1049/et.2018.0220. ISSN 1750-9637.
- ↑ "Market Theater Gum Wall: The Sticky Story of a Wall Decorated in Chewing Gum" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-09-05. สืบค้นเมื่อ 2022-02-06.