ข้ามไปเนื้อหา

การทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์
Byzantine Iconoclasm

กางเขนอย่างเรียบง่าย: ตัวอย่างของผลจากการต่อต้านการมีรูปเคารพในฮาเยียไอรีนในอิสตันบูล

การทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์ (กรีก: Εἰκονομαχία, อังกฤษ: Byzantine Iconoclasm) หมายถึงสมัยประวัติศาสตร์ของการทำลายรูปเคารพสองสมัยของ จักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิที่ทรงได้รับการหนุนหลังจากผู้นำที่ทรงแต่งตั้งและสภานิกายกรีกออร์โธด็อกซ์ออกประกาศห้ามการมีรูปเคารพหรือรูปสัญลักษณ์ทางศาสนา สมัยการทำลายรูปเคารพครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 730 จนถึงปี ค.ศ. 787 เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ทรงยุบเลิกการห้าม สมัยการทำลายรูปเคารพครั้งที่สองเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 814 จนถึงปี ค.ศ. 842

Iconoclasm” เป็นภาษากรีกที่แปลว่า “การทำลายรูปลักษณ์” เป็นการทำลายรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาหรือรูปสัญลักษณ์อื่นๆ หรือ อนุสาวรีย์อย่างจงใจภายในวัฒนธรรมในสังคมของผู้ทำลายเอง ทั้งนี้เนื่องมาจากวัตถุประสงค์ที่มีแรงจูงใจทางการเมืองหรือทางศาสนา ผู้ที่ร่วมการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุหรือผู้ที่สนับสนุน ลัทธินิยม ในการทำลายสัญลักษณ์ทางวัตถุเรียกกันว่า “นักทำลายรูปสัญลักษณ์” หรือ “นักทำลายรูปเคารพ” (Iconoclasts) ซึ่งความหมายแปลงมาใช้กับผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความเชื่อหรือการปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป ความหมายตรงกันข้ามของผู้ทำลายรูปเคารพ คือ ผู้ที่มีความเชื่อในการนับถือบูชาและสักการะรูปสัญลักษณ์หรือสัญลักษณ์ทางศาสนาที่เรียกว่า “นักบูชารูปเคารพ” หรือ “นักบูชารูปสัญลักษณ์” หรือ Idolators ในสมัยไบเซนไทน์เมื่อกล่าวถึง ลัทธิบูชารูปสัญลักษณ์ หรือ ลัทธิบูชารูปเคารพ ก็จะใช้คำว่า Iconodules หรือ Iconophiles

อ้างอิง

[แก้]
  • David Knowles - Dimitri Oblensky, "The Christian Centuries: Volume 2, The Middle Ages", Darton, Longman & Todd, 1969.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การทำลายรูปเคารพสมัยไบแซนไทน์