กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมป์ตัน
หอดูดาวรังสีแกมมาคอมป์ตัน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
CGRO deployed in 1991 | |||||||||||
ประเภทภารกิจ | ดาราศาสตร์ | ||||||||||
ผู้ดำเนินการ | นาซา | ||||||||||
COSPAR ID | 1991-027B | ||||||||||
SATCAT no. | 21225 | ||||||||||
เว็บไซต์ | cossc | ||||||||||
ระยะภารกิจ | 9 ปี, 2 เดือน | ||||||||||
ข้อมูลยานอวกาศ | |||||||||||
ผู้ผลิต | ทีอาร์ดับเบิลยู ออโตโมทีฟ | ||||||||||
มวลขณะส่งยาน | 17,000 กิโลกรัม (37,000 ปอนด์) | ||||||||||
กำลังไฟฟ้า | 2000.0 วัตต์[1] | ||||||||||
เริ่มต้นภารกิจ | |||||||||||
วันที่ส่งขึ้น | 5 เมษายน 1991, 14:22:45 UTC | ||||||||||
จรวดนำส่ง | กระสวยอวกาศ แอตแลนติส STS-37 | ||||||||||
ฐานส่ง | เคนเนดี LC-39B | ||||||||||
สิ้นสุดภารกิจ | |||||||||||
เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ | 4 มิถุนายน 2000, 23:29:55 UTC | ||||||||||
ลักษณะวงโคจร | |||||||||||
ระบบอ้างอิง | วงโคจรค้างฟ้า | ||||||||||
ระบบวงโคจร | วงโคจรต่ำของโลก | ||||||||||
ความเยื้อง | 0.006998 | ||||||||||
ระยะใกล้สุด | 362 กิโลเมตร (225 ไมล์) | ||||||||||
ระยะไกลสุด | 457 กิโลเมตร (284 ไมล์) | ||||||||||
ความเอียง | 28.4610 องศา | ||||||||||
คาบการโคจร | 91.59 นาที | ||||||||||
ลองจิจูดของจุดโหนดขึ้น | 68.6827 องศา | ||||||||||
วันที่ใช้อ้างอิง | 7 เมษายน 1991, 18:37:00 UTC [2] | ||||||||||
กล้องโทรทรรศน์ (สี่)หลัก | |||||||||||
ชนิด | หัววัดซินทิลเลชัน | ||||||||||
ระยะโฟกัส | เครื่องมือหลากหลาย | ||||||||||
พื่นที่รับแสง | เครื่องมือหลากหลาย | ||||||||||
ความยาวคลื่น | รังสีเอกซ์ ถึง รังสีแกมมา, 20 keV – 30 GeV (40 pm – 60 am) | ||||||||||
| |||||||||||
กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมป์ตัน หรือ หอดูดาวรังสีแกมมาคอมป์ตัน (อังกฤษ: Compton Gamma-ray Observatory) เป็นหอสังเกตการณ์ดวงที่สองของนาซาในโครงการหอดูดาวเอกที่ส่งขึ้นสู่อวกาศ หลังจากที่ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นไปก่อนหน้านั้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมป์ตันตั้งชื่อตาม อาร์เทอร์ คอมป์ตัน นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลที่สร้างผลงานโดดเด่นด้านฟิสิกส์รังสีแกมมา กล้องคอมป์ตันสร้างโดยสถาบัน TRW (ปัจจุบันคือสถาบันเทคโนโลยีอวกาศนอร์ทธรอป กรัมแมน) ในแคลิฟอร์เนีย ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น 14 ปี ขึ้นสู่อวกาศโดยกระสวยอวกาศแอตแลนติส เที่ยวบิน STS-37 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1991 และได้ทำงานจนกระทั่งปลดระวางในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 2000[3] กล้องคอมป์ตันโคจรอยู่ในวงโคจรต่ำของโลกที่ระดับความสูงประมาณ 450 กิโลเมตร เพื่อหลบหลีกผลกระทบจากแถบรังสีแวนอัลเลน นับเป็นเครื่องมือทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดเท่าที่เคยส่งขึ้นสู่อวกาศ ด้วยน้ำหนักถึง 17,000 กิโลกรัม
กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมป์ตัน เป็นหนึ่งในสี่หอดูดาวขนาดใหญ่ในโครงการหอดูดาวเอกของนาซา ร่วมกับหอดูดาวอื่น ๆ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องรังสีเอ็กซ์จันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NASA – NSSDCA – Spacecraft – Details". nssdc.gsfc.nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
- ↑ "NASA – NSSDCA – Spacecraft – Trajectory Details". nssdc.gsfc.nasa.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
- ↑ 3.0 3.1 "Gamma-Ray Astronomy in the Compton Era: The Instruments". Gamma-Ray Astronomy in the Compton Era. NASA/ GSFC. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-12-07.