ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษาออสโตรนีเซียน-เอิงเกอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาษาออสโตรนีเซียน-เอิงเกอ
(กำกวม)
ภูมิภาค:เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, แปซิฟิก และมาดาร์กัสการ์
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ตระกูลภาษาที่นำเสนอ
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:ไม่มี[1]

กลุ่มภาษาออสโตรนีเชียน-เอิงเกอ (อังกฤษ: Austronesian–Ongan languages) เป็นกลุ่มภาษาที่เสนอความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนและกลุ่มภาษาเอิงเกอ ซึ่งเสนอโดยจูเลียต เบลวินส์ (2007) โดยกลุ่มภาษาเอิงเกอเป็นกลุ่มภาษาเล็กที่มีภาษาที่ยืนยันแล้วเพียงสองภาษา ในขณะที่ออสโตรนีเชียนเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีภาษาหลายพันภาษา นักภาษาศาสตร์บางส่วนวิจารณ์และไม่ยอมรับการเชื่อมโยงที่ถูกเสนอนี้[2]

เสียงที่คล้ายกัน

[แก้]

เบลวินส์ (2007) นำเสนอเสียงปฏิภาคไปตามนี้:

พยัญชนะ
ภาษาออสโตรนีเชียนดั้งเดิม (PAN) *p *t *k *q *ku *qu *b *d *g *s, *S *c, *C *z *j *h *m *n *ny *N *l *r *R *w
ภาษาเอิงเกอดั้งเดิม (PO) *p *t *k *kw *b *d *j, *g *c *j, *y *h, *y, *∅ *m *n *ny *l, *y *l *r *l, *r *w
เสียงสระเปิดไม่มีตัวสะกด
ภาษาออสโตรนีเชียนดั้งเดิม (PAN) *i *u *a *ay#
ภาษาเอิงเกอดั้งเดิม (PO) *i *u, *o *a, *e *e *e#

คำวิจารณ์

[แก้]

นักภาษาศาสตร์ออสโตรนีเซียไม่สนับสนุนการเชื่อมโยงระหว่างออสโตรนีเซียกับเองเกอ โดยรอเบิร์ต บลัสต์ (2014) พบว่าข้อสรุปของเบลวินส์ไม่ได้สนับสนุนตามข้อมูลของเธอ: จากการประกอบใหม่ใน 25 คำแรกของเธอ ไม่มีคำไหนเลยที่ทำซ้ำได้ในวิธีการเปรียบเทียบ และบลัสต์สรุปว่าการเปรียบเทียบเชิงไวยากรณ์ไม่หนักแน่น บลัสต์ยังอ้างอิงหลักฐานที่ไม่ใช่ทางภาษาศาสตร์ (เช่นวัฒนธรรม, โบราณคดี และชีววิทยา) ไว้คัดค้านข้อสันนิษฐานของเบลวินส์[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "กลุ่มภาษาออสโตรนีเซียน-เอิงเกอ". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Blust, Robert (2014). "Some Recent Proposals Concerning the Classification of the Austronesian Languages", Oceanic Linguistics 53:2:300-391.
  3. Blust, Robert (2014). "Some Recent Proposals Concerning the Classification of the Austronesian Languages", Oceanic Linguistics 53:2:300-391.