กระเจี๊ยบเปรี้ยว
กระเจี๊ยบเปรี้ยว | |
---|---|
กระเจี๊ยบเปรี้ยว | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae |
สกุล: | Hibiscus |
สปีชีส์: | H. sabdariffa |
ชื่อทวินาม | |
Hibiscus sabdariffa L. |
กระเจี๊ยบเปรี้ยว[1] หรือ กระเจี๊ยบแดง[1] (ภาคเหนือเรียก มะเขือหมี่น, ไทใหญ่แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู, จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง) เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน
การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
การใช้ประโยชน์
[แก้]กระเจี๊ยบเปรี้ยวสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายได้ นอกจากนี้น้ำกระเจี๊ยบเปรี้ยวสามารถใช้ทดสอบสารอาหารที่มีโปรตีนได้ โดยอัตราส่วน 1:2 ซึ่งสีแดงของน้ำกระเจี๊ยบเปรี้ยวจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีอื่น
ชาวแอฟริกาตะวันออกนำทั้งใบและผลไปต้มดื่มแก้อาการไอ ชาวอียิปต์ใช้กลีบเลี้ยงสีแดงต้มน้ำดื่มแก้ความดันโลหิตสูง ชาวมอญและพม่านิยมนำผลและใบกระเจี๊ยบเปรี้ยวไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง ใบนำไปยำ หั่นใส่ข้าวยำหรือกินแนมกับอาหารรสจัด ต้ม แกงส้ม ผัด และจิ้มน้ำพริก[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 25.
- ↑ นิดดา หงษ์วิวัฒน์. กระเจี๊ยบแดง สีก็สวยแถมยังรวยคุณค่าทางอาหารอีก.ครัว. ปีที่ 19 ฉบับที่ 223 มกราคม 2556 หน้า16 - 22
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Hibiscus sabdariffa ที่วิกิสปีชีส์