กรมแพทย์ทหารเรือ
กรมแพทย์ทหารเรือ | |
---|---|
กรมแพทย์ทหารเรือ | |
ประเทศ | ไทย |
บทบาท | กิจการแพทย์และพยาบาลกองทัพเรือ:[1] • การรักษาพยาบาล[1] • การสุขาภิบาล[1] • อนามัย[1] ฝึกเหล่าทหารแพทย์[1] |
กองบัญชาการ | 504/54 ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 |
วันสถาปนา | 1 เมษายน พ.ศ. 2433[2] |
ปฏิบัติการสำคัญ | ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้[3][4] ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[5] แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในเกาะซูลาเวซี พ.ศ. 2561[6] การระบาดทั่วของโควิด-19[7] • การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย[8] |
ผู้บังคับบัญชา | |
เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ | พลเรือโท ประทีป ตังติสานนท์[9] |
ผบ. สำคัญ | พลเรือโท นายแพทย์ ยงยุทธ หรัญโต[2] พลเรือโท สุชีพ ช้างเสวก[10] |
กรมแพทย์ทหารเรือ (อักษรย่อ: พร.[11][12]; อังกฤษ: Naval Medical Department) เป็นหน่วยงานราชการของกองทัพเรือไทย ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์และการพยาบาล[13][14][15][16] ซึ่งมีเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือคนปัจจุบันคือ พลเรือโท ประทีป ตังติสานนท์ [17]ส่วนรองเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือประกอบด้วย พลเรือตรี เรวัตร กิจณรงค์ [18]และ พลเรือตรี กิตตินันท์ งามศิลป์[19]
นอกจากนี้ กรมแพทย์ทหารเรือ ได้ส่งทีมเข้าช่วยเหลือในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ร่วมกับหน่วยซีล ที่ซึ่งประสบความสำเร็จ[20]
ประวัติ
[แก้]กรมแพทย์ทหารเรือได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2433 ตามพระราชบัญญัติจัดการกรมยุทธนาธิการ โดยมีชื่อหน่วยคือ "โรงพยาบาลทหารเรือ" ครั้นวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะหน่วยเป็น "กรมแพทย์พยาบาลทหารเรือ" ซึ่งฐานะและนามของหน่วยได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมตามยุคสมัย กระทั่งปี พ.ศ. 2493 ได้รับการยกฐานะเป็น "กรมแพทย์ทหารเรือ" สังกัดกองทัพเรือ เรื่อยมาถึงปัจจุบัน[1]
พ.ศ. 2561 พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ทำหน้าที่เป็นประธานทอดผ้าป่ามหากุศล เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ[21]
ปี พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงิน 2,407,144,487.59 บาท ช่วยโรงพบาบาล 27 แห่ง ซึ่งรวมถึงโรงพยาบาลในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์[22]
หน่วยขึ้นตรงกรมแพทย์ทหารเรือ
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
- กองบังคับการ พร.
- แผนกธุรการ กองบังคับการ พร.
- กองกำลังพล กองบังคับการ พร.
- กองแผน กองบังคับการ พร.
- กองโครงการและงบประมาณ กองบังคับการ พร.
- กองส่งกำลังบำรุง กองบังคับการ พร.
- ศูนย์พัฒนาขีดสมรรรถนะ พร.
- สำนักงานจริยธรรมการวิจัย กรมแพทย์ทหารเรือ
- กองการเงิน พร.
- กองสวัสดิการสุขภาพ พร.
- กองเวชสารสนเทศ พร.
- กองเวชกรรมป้องกัน พร.
- กองเวชศาสตร์ใต้น้ำและการบิน พร.
- กองส่งกำลังสายแพทย์ พร.
- กองสนับสนุน พร.
- ศูนย์ทันตกรรม พร.
- ศูนย์วิทยาการ พร.
- กองวิทยาการ
- วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
- โรงเรียนนาวิกเวชกิจ
- โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.
- โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร.
- โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพ พร.
หน่วยที่กรมแพทย์ทหารเรือคุมด้านเทคนิค
[แก้]- โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐท.สส.
- โรงพยาบาลฐานทัพเรือสงขลา ทรภ.๒
- โรงพยาบาลฐานทัพเรือพังงา ทรภ.๓
- โรงพยาบาลโรงเรียนนายเรือ
- โรงพยาบาลป้อมพระจุลจอมเกล้า ฐท.กท.
- แผนกแพทย์โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ยศ.ทร.
- แผนกแพทย์สถานีการบิน กองการบินทหารเรือ กร.
- กองพันพยาบาล กรมสนับสนุน กองพลนาวิกโยธน นย.
- กองพันพยาบาล กรมสนับสนุน สอ.รฝ.
- กองร้อยพยาบาล กองสนับสนุนการช่วยรบ กองบัญชาการปัองกันชายแดนจันทบุรี-ตราด
- หมวดพยาบาล หน่วยส่งกำลังบำรุง ส่วนสนับสนุน หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธินภาคใต้
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]พ.ศ. 2556 กรมแพทย์ทหารเรือ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อทำการติดตามผู้สัมผัสสารเบนซีนที่จังหวัดระยอง มารับการตรวจสุขภาพตามมาตรฐานติดต่อกัน 5 ปี หลังพบพนักงานเก็บคราบน้ำมันมีค่าสารดังกล่าวสูง[23]
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ชุดเวชศาสตร์ใต้น้ำ กรมแพทย์ทหารเรือ เป็นหนึ่งในทีมที่เข้าช่วยเหลือเด็ก ๆ และผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ออกจากปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ร่วมกับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (หน่วยซีล)[24] จากนั้น ในเดือนตุลาคม กรมแพทย์ทหารเรือได้เป็นหนึ่งในกองกำลังที่เข้าร่วมภารกิจให้การช่วยเหลือ ต่อผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในเกาะซูลาเวซี พ.ศ. 2561[6]
ครั้นในเดือนพฤศจิกายน ของปีเดียวกัน ทางกองทัพเรือไทย ได้จัดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำเนื่องในวันลอยกระทง ประจำปี 2561 โดยศูนย์ดังกล่าวได้จัดส่งกำลังพลและยุทโธปกรณ์จากกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ และชุดแพทย์เคลื่อนที่จากกรมแพทย์ทหารเรือ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยใน 3 พื้นที่[25] รวมถึงในเดือนเดียวกันนี้ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้จัดงานวิ่งการกุศล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ ที่ขาดแคลนค่าใช้จ่ายส่วนเกินในการผ่าตัด และเพื่อระดมทุนซื้ออุปกรณ์เครื่องมือแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด[26]
สำหรับเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ได้มีนักไตรกีฬาหญิง ซึ่งเป็นตัวแทนโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ ให้การช่วยเหลือข้าราชการอาวุโสที่หัวใจหยุดเต้น ด้วยการนวดหัวใจ แล้วนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย ก่อนที่เธอจะทำการลงแข่งขัน[27][28]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2558 : ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากหุ่นช่วยฝึกทำคลอดเสมือนจริงเคลื่อนย้ายได้ โดยโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ในงานนาวีวิจัย 2015[29]
- พ.ศ. 2560 : ผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากการพัฒนาหุ่นช่วยฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ในงานนาวีวิจัย 2017[30][31]
- พ.ศ. 2560 : รางวัลชมเชยด้านสิ่งประดิษฐ์ – จากไอซีดีปลอดภัยห่างไกลอุบัติการณ์ ในงานนาวีวิจัย 2017[30][31]
- พ.ศ. 2560 : รางวัลชมเชยด้านสิ่งประดิษฐ์ – จากเครื่องดูดเสมหะขนาดพกพา ในงานนาวีวิจัย 2017[30][31]
- พ.ศ. 2560 : รางวัลชมเชยด้านหลักการ – จากสื่อพัฒนาการคิดและการตัดสินใจ ในงานนาวีวิจัย 2017[30][31]
- พ.ศ. 2562 : รางวัลชมเชยด้านสิ่งประดิษฐ์ – จากเครื่องฝึกหัดการช่วยฟื้นคืนชีพและเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ไทยแลนด์ 4.0 ในงานนาวีวิจัย 2019[32]
- พ.ศ. 2562 : รางวัลชมเชยด้านการวิจัยและพัฒนาการทางทหารด้านหลัก – จากมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา : การส่งเสริมการเรียนรู้ทางการพยาบาลในศตวรรษที่ 21 ในงานนาวีวิจัย 2019[32]
สิ่งสืบทอด
[แก้]ตามโรงพยาบาลในสังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ ได้มีการปลูกต้นไม้ให้ร่มเงาและความสวยงาม อาทิ ประดู่แดง, ประดู่เหลือง, นนทรี, ปีบ และชมพูพันธุ์ทิพย์ ซึ่งหลายคนให้ความสำคัญต่อกรณีการตัดไม้หวงห้าม[33][34][35][36]
ทำเนียบเจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
- นาวาเอก โทมัส เฮเวิด เฮส์ (22 กันยายน พ.ศ. 2444 – 20 ธันวาคม พ.ศ. 2452)
- นาวาโท เบอร์เมอร์ (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457)
- นาวาตรี หลวงวารีโยธารักษ์ (ชื่น อมรเวช) (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457)
- พลเรือตรี หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์ (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 – 1 มกราคม พ.ศ. 2474)
- นาวาโท พระชัยสิทธิเวช (เชย ชัยสิทธิเวช) (1 มกราคม พ.ศ. 2474 – หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)
- นาวาเอก หลวงจงเวชศาสตร์ (หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2476)
- พลเรือตรี เล็ก สุมิตร (14 ธันวาคม พ.ศ. 2476 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2489)
- พลเรือตรี สงวน รุจิราภา (16 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2494)
- พลเรือจัตวา หลวงเรืองไวทยวิทยา (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496)
- พลเรือตรี หลวงสุวิชานแพทย์ (1 มกราคม พ.ศ. 2498 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2500)
- พลเรือตรี กมล ชัมพุนท์พงศ์ (1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2502)
- พลเรือโท สนิท โปษะกฤษณะ (1 มกราคม พ.ศ. 2503 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514)
- พลเรือโท อรุณ รัตตะรังสี (20 ธันวาคม พ.ศ. 2514 – 30 กันยายน พ.ศ. 2515)
- พลเรือโท โกเมท เครือตราชู (1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 – 30 กันยายน พ.ศ. 2517)
- พลเรือโท ลักษณ์ บุญศิริ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519)
- พลเรือโท พิริยะ โหตรภวานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 30 กันยายน พ.ศ. 2521)
- พลเรือโท บรรยงค์ ถาวรามร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 30 กันยายน พ.ศ. 2526)
- พลเรือโท ฉายแสง ณ นคร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527)
- พลเรือโท สรวุฒิ วีรบุตร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 – 30 กันยายน พ.ศ. 2530)
- พลเรือโท พนิต ศรียาภัย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532)
- พลเรือโท ฉันท์ กลกิจโกวินท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2535)
- พลเรือโท อรุณ เอื้อไพบูลย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2536)
- พลเรือโท ดำรงศักดิ์ เสียงพิบูลย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539)
- พลเรือโท ไพบูลย์ ศรีเทพ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542)
- พลเรือโท จุติ เฉลิมเตียรณ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 30 กันยายน พ.ศ. 2544)
- พลเรือโท วีระจิตต์ ชูจินดา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546)
- พลเรือโท ยงยุทธ หรัญโต (1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2549)
- พลเรือโท สุรพล ภูยานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2551)
- พลเรือโท สุริยา ณ นคร (1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553)
- พลเรือโท สุชีพ ช้างเสวก (1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
- พลเรือโท ชุมพล เทียมชัย (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556)
- พลเรือโท กิติพัฒน์ วัฒนาวงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
- พลเรือโท พันเลิศ แกล้วทนงค์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
- พลเรือโท คณิน ชุมวรฐายี (1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560)
- พลเรือโท สมคิด ทิมสาด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2561)
- พลเรือโท พรชัย แย้มกลิ่น (1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562)
- พลเรือโท วิชัย มนัสศิริวิทยา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564)
- พลเรือโท ชลธร สุวรรณกิตติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566)
- พลเรือโท[37] ณัฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา[38] (1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน)
ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "- ประวัติกรมแพทย์ ทร. - นักเรียนจ่าพยาบาลทหารเรือ รุ่น ๕๕/๒๕๐๖". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-17. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
- ↑ 2.0 2.1 วันคล้ายวันสถาปนากรมแพทย์ทหารเรือ - RYT9
- ↑ “ผบ.นย.” คนใหม่ นักรบ Recon ลงชายแดนใต้[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทร.รับนาวิกฯ บาดเจ็บ ขึ้นเครื่องบินรักษาที่สัตหีบ
- ↑ ส่ง"หมอภาคย์" แพทย์นักรบเสริมทัพหน่วยซีลลุยถ้ำหลวง
- ↑ 6.0 6.1 "ทัพเรือ"เตรียมเรือหลวงอ่างทองช่วยสึนามิอินโดฯ: คมชัดลึกออนไลน์
- ↑ สง.ปรมน.ติดเขี้ยวเล็บ นศ.พยาบาลกองทัพเรือสู้ภัยโควิด 19
- ↑ "ทร.พร้อมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามรองรับสถานการณ์โควิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-03.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ Buraphanews.com - บูรพานิวส์
- ↑ 'ศรีสุวรรณ' จี้ รมว.กห. เอาผิดกรมแพทย์ทหารเรือโค่นต้นไม้หวงห้ามทิ้ง
- ↑ นักร้องรายวัน 'ศรีสุวรรณ' ยื่นกลาโหมสอบกรมแพทย์ทร.ตัดไม้หวงห้าม!
- ↑ รพ.สิริกิติ์มอบรางวัล พยาบาลผลงานดีเด่น วันพยาบาลแห่งชาติ
- ↑ นักวิ่งหลายพันคนร่วมกิจกรรมการกุศลเดินวิ่งมินิฮาล์ฟ มาราธอน ครั้งที่ 13[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ข่าวช่วยชายหมดสติในรถตู้นานกว่า 10 ชั่วโมง - ข่าวช่อง 7HD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
- ↑ ลุงทหารเรือขี่ จยย.ชนท้ายสิบล้อเจ็บสาหัสที่สัตหีบ กู้ภัยส่ง รพ.ยื้อชีวิต
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 37 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ เปิดบันทึกแพทย์ ทีมช่วย 13 หมูป่า ละเอียดยิบ ก่อน ‘มิชชั่นคอมพลีท’ !
- ↑ กรมแพทย์ทหารเรือ ทอดผ้าป่ามหากุศล จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
- ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน 2.4 พันล้านช่วย รพ.
- ↑ พบพนักงานเก็บคราบน้ำมัน มีค่าสารเบนซีนสูง ผู้เชี่ยวชาญเร่งตรวจ
- ↑ “Hooyah” คำประกาศชัยชนะหน่วยซีล
- ↑ "กองทัพเรือ" จัด 3 ทีมกู้ภัยทางน้ำคืนวันลอยกระทง
- ↑ ‘ผบ.ทร.’ปธ.มอบรางวัล “วิ่งการกุศล CVT RUN 2018 ใจมันบอก ให้ออกไปวิ่ง” ช่วยผู้ป่วยยากไร้
- ↑ ทัพเรือปลื้ม พญ.ทร.ช่วยชีวิตขรก.อาวุโส - ข่าวสด
- ↑ ชื่นชม..พยาบาลหญิงทหารเรือที่ 1 ไตรกีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ-ช่วยชีวิตข้าราชการอาวุโส นครพนม
- ↑ ทร.โชว์นวัตกรรมสุดยอดยุทโธปกรณ์ในงาน 'นาวีวิจัย 2015' - ไทยรัฐ
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 'บิ๊กลือ' คว้ารางวัล 'นาวีวิจัย 2017' ทุ่นระเบิดปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน - ไทยรัฐ
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 ราชนาวี โชว์ศักยภาพผลงานวิจัยกองทัพเรือ – พล.ร.อ.ณะ มอบประกาศเกียรติคุณ - ข่าวสด
- ↑ 32.0 32.1 "บิ๊กลือ" เปิดงาน "นาวีวิจัย 2019" หน่วยซีลโกยรางวัล "เกียรติยศนาวี"
- ↑ ‘ศรีสุวรรณ’ จี้กลาโหมเอาผิดกรมแพทย์ทหารเรือโค่นต้นไม้หวงห้าม-รื้อทำลายสนามหญ้า
- ↑ ร้องสอบกรมแพทย์ทหารเรือใช้งบ 19.8 ล. จ้างเอกชนวิธีคัดเลือกซ่อมสนามกีฬา
- ↑ "จี้ รมว.กลาโหม เอาผิดกรมแพทย์ทหารเรือโค่นต้นไม้หวงห้ามทิ้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
- ↑ 'ศรีสุวรรณ' จี้กลาโหมเอาผิดกรมแพทย์ทหารเรือ โค่นต้นไม้หวงห้าม
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 27 วันที่ 30 สิงหาคม 2566