ข้ามไปเนื้อหา

กฎของพลังค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเปคตรัมการแผ่รังสีของวัตถุดำที่อุณหภูมิต่าง ๆ

กฎของพลังค์ (อังกฤษ: Planck's law) เป็นกฎที่อธิบายสเปคตรัมการแผ่รังสี (spectral radiance) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทุกความยาวคลื่นจากวัตถุดำที่อุณหภูมิหนึ่ง ๆ กฎนี้ค้นพบโดย มักซ์ พลังค์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

กฎของพลังค์เขียนในรูปฟังก์ชันของความถี่ ได้เป็น

   [1]

หรือเขียนในรูปฟังก์ชันของความยาวคลื่น λ ได้เป็น

   [2]

โปรดสังเกตว่าสองสมการมีหน่วยต่างกัน สมการแรกหน่วยของสเปคตรัมการแผ่รังสีเป็นต่อความถี่ ส่วนสมการที่สองคิดต่อความยาวคลื่น สมการทั้งสองไม่สามารถแปลงกลับไปมาโดยการแทนตัวแปรตรง ๆ แต่ต้องอาศัยความสัมพันธ์

ความหมายและหน่วยในระบบเอสไอของแต่ละตัวแปรสรุปในตารางข้างล่างนี้

สัญลักษณ์ ความหมาย หน่วยเอสไอ
สเปคตรัมการแผ่รังสี หรือ พลังงาน ต่อหนึ่งหน่วยเวลา ต่อพื้นที่ผิว ต่อมุมตัน (Solid angle) ต่อความถี่หรือความยาวคลื่น (ขึ้นอยู่กับสมการ) J•s-1•m-2•sr-1•Hz-1, or J•s-1•m-2•sr-1•m-1
ความถี่ เฮิรตซ์
ความยาวคลื่น เมตร
อุณหภูมิของวัตถุดำ เคลวิน
ค่าคงตัวของพลังค์ จูลต่อเฮิรตซ์
ความเร็วแสง เมตรต่อวินาที
ฐานของลอการิทึมธรรมชาติ, 2.718281... ไม่มีหน่วย
ค่าคงตัวบ็อลทซ์มัน จูลต่อเคลวิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Rybicki, p. 22.
  2. Rybicki, p. 22.
  • Rybicki, G. B., A. P. Lightman (1979). Radiative Processes in Astrophysics. New York: John Wiley & Sons. ISBN 0-471-82759-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)