ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรับรองคู่ชีวิตเพศเดียวกันในประเทศนามิเบีย"
Rescuing 2 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.9.5 |
แก้ไขลิงก์เสียในอ้างอิง |
||
บรรทัด 76: | บรรทัด 76: | ||
[[คริสตจักรแองกลิกันแห่งแอฟริกาใต้]] (Anglican Church of Southern Africa) ซึ่งมี[[สังฆมณฑล]]หนึ่งในนามิเบีย ไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน นโยบายการแต่งงานระบุว่า "การแต่งงานอันศักดิ์สิทธิ์คือการอยู่ร่วมกันตลอดชีวิตและพิเศษเฉพาะระหว่างชายหนึ่งคนกับหญิงหนึ่งคน" ในปี ค.ศ. 2016 การประชุมสภาสงฆ์ได้มีการลงมติคัดค้านการให้พรแก่คู่ชีวิตเพศเดียวกัน การตัดสินใจทำให้คริสตจักรแตกแยก โดยหลายสังฆมณฑลได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไปโดยให้พรแก่คู่ที่มีความสัมพันธ์เพศเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง[[สังฆมณฑลซัลดานาเบย์]] (Diocese of Saldanha Bay) ในแอฟริกาใต้<ref>{{Cite web |url=https://www.iol.co.za/news/south-africa/gauteng/more-ructions-in-anglican-church-over-same-sex-marriage-11238628 |title=More ructions in Anglican church over same-sex marriage |website=Iol.co.za |date=16 September 2017 |access-date=11 April 2019 |archive-date=11 April 2019 |archive-url=https://web.archive.org/web/20190411195111/https://www.iol.co.za/news/south-africa/gauteng/more-ructions-in-anglican-church-over-same-sex-marriage-11238628 |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> [[อัครมุขนายก]][[ทาโบ มักโกบา]] (Thabo Makgoba) แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจไม่อำนวยพรคู่ชีวิตเพศเดียวกัน แต่เสริมว่า "ทุกอย่างจะไม่สูญเปล่า" โดยแสดงความหวังว่าเรื่องนี้จะมีการถกเถียงกันอีกครั้งในอนาคต อดีตอัครมุขนายก[[อึนจ็องอนกูลู อึนดุนกาเน]] (Njongonkulu Ndungane) ยังได้แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจดังกล่าวด้วย<ref>{{Cite web |url=https://www.huffpost.com/entry/religion-homosexuality_b_874804 |title=All Are God's Children: On Including Gays and Lesbians in the Church and Society |website=HuffPost |date=11 August 2011 |access-date=11 April 2019 |archive-date=11 April 2019 |archive-url=https://web.archive.org/web/20190411195111/https://www.huffpost.com/entry/religion-homosexuality_b_874804 |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2023 คริสตจักรปฏิเสธที่จะอนุญาตให้บาทหลวงอำนวยพรคู่ชีวิตเพศเดียวกันอีกครั้ง แต่สั่งให้ที่ประชุมสภาสงฆ์พัฒนา "แนวปฏิบัติในการจัดให้มีพันธกิจอภิบาลแก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์เพศเดียวกัน"<ref>{{Cite web |url=https://www.churchtimes.co.uk/articles/2023/10-march/news/world/bishops-in-southern-africa-agree-to-prayers-but-not-blessings-for-same-sex-couples |work=Church Times |date=6 March 2023 |title=Bishops in Southern Africa agree to prayers but not blessings for same-sex couples |df=dmy-all}}</ref> ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 อัครมุขนายกมักโกบาเผยแพร่เอกสารแนะนำการสวดมนต์สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมสภาสงฆ์จะนำเข้าพิจารณาในเดือนกันยายน<ref>{{Cite web |url=https://livingchurch.org/2024/05/09/eclectic-prayers-for-same-sex-south-african-couples/ |title=Eclectic Prayers for Same-Sex South African Couples |work=The Living Church |date=9 May 2024 |first1=Douglas |last1=LeBlanc |first2=Mark |last2=Michael |df=dmy-all}}</ref> |
[[คริสตจักรแองกลิกันแห่งแอฟริกาใต้]] (Anglican Church of Southern Africa) ซึ่งมี[[สังฆมณฑล]]หนึ่งในนามิเบีย ไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน นโยบายการแต่งงานระบุว่า "การแต่งงานอันศักดิ์สิทธิ์คือการอยู่ร่วมกันตลอดชีวิตและพิเศษเฉพาะระหว่างชายหนึ่งคนกับหญิงหนึ่งคน" ในปี ค.ศ. 2016 การประชุมสภาสงฆ์ได้มีการลงมติคัดค้านการให้พรแก่คู่ชีวิตเพศเดียวกัน การตัดสินใจทำให้คริสตจักรแตกแยก โดยหลายสังฆมณฑลได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไปโดยให้พรแก่คู่ที่มีความสัมพันธ์เพศเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง[[สังฆมณฑลซัลดานาเบย์]] (Diocese of Saldanha Bay) ในแอฟริกาใต้<ref>{{Cite web |url=https://www.iol.co.za/news/south-africa/gauteng/more-ructions-in-anglican-church-over-same-sex-marriage-11238628 |title=More ructions in Anglican church over same-sex marriage |website=Iol.co.za |date=16 September 2017 |access-date=11 April 2019 |archive-date=11 April 2019 |archive-url=https://web.archive.org/web/20190411195111/https://www.iol.co.za/news/south-africa/gauteng/more-ructions-in-anglican-church-over-same-sex-marriage-11238628 |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> [[อัครมุขนายก]][[ทาโบ มักโกบา]] (Thabo Makgoba) แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจไม่อำนวยพรคู่ชีวิตเพศเดียวกัน แต่เสริมว่า "ทุกอย่างจะไม่สูญเปล่า" โดยแสดงความหวังว่าเรื่องนี้จะมีการถกเถียงกันอีกครั้งในอนาคต อดีตอัครมุขนายก[[อึนจ็องอนกูลู อึนดุนกาเน]] (Njongonkulu Ndungane) ยังได้แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจดังกล่าวด้วย<ref>{{Cite web |url=https://www.huffpost.com/entry/religion-homosexuality_b_874804 |title=All Are God's Children: On Including Gays and Lesbians in the Church and Society |website=HuffPost |date=11 August 2011 |access-date=11 April 2019 |archive-date=11 April 2019 |archive-url=https://web.archive.org/web/20190411195111/https://www.huffpost.com/entry/religion-homosexuality_b_874804 |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2023 คริสตจักรปฏิเสธที่จะอนุญาตให้บาทหลวงอำนวยพรคู่ชีวิตเพศเดียวกันอีกครั้ง แต่สั่งให้ที่ประชุมสภาสงฆ์พัฒนา "แนวปฏิบัติในการจัดให้มีพันธกิจอภิบาลแก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์เพศเดียวกัน"<ref>{{Cite web |url=https://www.churchtimes.co.uk/articles/2023/10-march/news/world/bishops-in-southern-africa-agree-to-prayers-but-not-blessings-for-same-sex-couples |work=Church Times |date=6 March 2023 |title=Bishops in Southern Africa agree to prayers but not blessings for same-sex couples |df=dmy-all}}</ref> ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 อัครมุขนายกมักโกบาเผยแพร่เอกสารแนะนำการสวดมนต์สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมสภาสงฆ์จะนำเข้าพิจารณาในเดือนกันยายน<ref>{{Cite web |url=https://livingchurch.org/2024/05/09/eclectic-prayers-for-same-sex-south-african-couples/ |title=Eclectic Prayers for Same-Sex South African Couples |work=The Living Church |date=9 May 2024 |first1=Douglas |last1=LeBlanc |first2=Mark |last2=Michael |df=dmy-all}}</ref> |
||
ในปี ค.ศ. 2017 [[มุขนายก]][[เชกูตาอัมบา นัมบาลา]] (Shekutaamba Nambala) แห่ง[[คริสตจักรนิกายลูเธอรันผู้เผยแพร่ศาสนา]] (Evangelical Lutheran Church) ในนามิเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในนิกายที่ใหญ่ที่สุดในนามิเบีย ประณามการแต่งงานของคนเพศเดียวกันและธรรมเนียมปฏิบัติแบบ[[อาวัมโบ]] (Aawambo) ดั้งเดิมใน[[เทศกาลโอลูฟูโก]] (Olufuko Festival) ซึ่งคริสตจักรถือว่า "นอกรีต" และ "ต่อต้านศาสนาคริสต์"<ref>{{Cite web |url=https://neweralive.na |
ในปี ค.ศ. 2017 [[มุขนายก]][[เชกูตาอัมบา นัมบาลา]] (Shekutaamba Nambala) แห่ง[[คริสตจักรนิกายลูเธอรันผู้เผยแพร่ศาสนา]] (Evangelical Lutheran Church) ในนามิเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในนิกายที่ใหญ่ที่สุดในนามิเบีย ประณามการแต่งงานของคนเพศเดียวกันและธรรมเนียมปฏิบัติแบบ[[อาวัมโบ]] (Aawambo) ดั้งเดิมใน[[เทศกาลโอลูฟูโก]] (Olufuko Festival) ซึ่งคริสตจักรถือว่า "นอกรีต" และ "ต่อต้านศาสนาคริสต์"<ref>{{Cite web |url=https://neweralive.na/elcin-denounces-same-sex-marriage-and-olufuko/ |title=ELCIN denounces same-sex marriage and Olufuko |date=19 September 2017 |work=New Era Live |archive-url=https://archive.is/rnCL1 |archive-date=11 September 2024 |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> |
||
คริสตจักร[[คาทอลิก]]ต่อต้านการแต่งงานของเพศเดียวกันและไม่อนุญาตให้นักบวชประกอบพิธีในการแต่งงานดังกล่าว ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 [[สันตะสำนัก]]ตีพิมพ์คำประกาศ[[ฟิดูเชีย ซุปปลิกันส์]] ({{lang|la|Fiducia supplicans}}) ซึ่งเป็นคำประกาศที่อนุญาตให้นักบวชคาทอลิกให้พรคู่รักที่ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงานตามคำสอนของคริสตจักร รวมถึงการให้พรแก่คู่รักเพศเดียวกันด้วย<ref>{{Cite web |last=Flynn |first=JD |date=2023-12-22 |title=Is the 'false narrative' narrative a false narrative? |url=https://www.pillarcatholic.com/p/is-the-false-narrative-narrative |access-date=2023-12-23 |website=[[The Pillar]] |language=en|archive-date=23 December 2023 |archive-url=https://web.archive.org/web/20231223121603/https://www.pillarcatholic.com/p/is-the-false-narrative-narrative |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> อะกาปิตุส เฮาซิกู (Agapitus Hausiku) ผู้อำนวยการองค์การสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ [[เอาต์-ไรต์ นามิเบีย]] (Out-Right Namibia) คาดว่าจะมีปฏิกิริยาเชิงลบจากการประชุมมุขนายกคาทอลิกแห่งนามิเบีย แต่ก็ยินดีกับ "การอภิปรายที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับการแต่งงานเพศเดียวกันและความเชื่อของคริสเตียน"<ref>{{Cite web |url=https://www.namibian.com.na/council-of-churches-to-engage-namibias-catholic-church-on-same-sex-marriage-blessings/ |title=Council of churches to engage Namibia’s Catholic Church on same-sex marriage blessings |work=The Namibian |date=15 January 2024 |first=Donald |last=Matthys |df=dmy-all}}</ref> |
คริสตจักร[[คาทอลิก]]ต่อต้านการแต่งงานของเพศเดียวกันและไม่อนุญาตให้นักบวชประกอบพิธีในการแต่งงานดังกล่าว ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 [[สันตะสำนัก]]ตีพิมพ์คำประกาศ[[ฟิดูเชีย ซุปปลิกันส์]] ({{lang|la|Fiducia supplicans}}) ซึ่งเป็นคำประกาศที่อนุญาตให้นักบวชคาทอลิกให้พรคู่รักที่ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงานตามคำสอนของคริสตจักร รวมถึงการให้พรแก่คู่รักเพศเดียวกันด้วย<ref>{{Cite web |last=Flynn |first=JD |date=2023-12-22 |title=Is the 'false narrative' narrative a false narrative? |url=https://www.pillarcatholic.com/p/is-the-false-narrative-narrative |access-date=2023-12-23 |website=[[The Pillar]] |language=en|archive-date=23 December 2023 |archive-url=https://web.archive.org/web/20231223121603/https://www.pillarcatholic.com/p/is-the-false-narrative-narrative |url-status=live |df=dmy-all}}</ref> อะกาปิตุส เฮาซิกู (Agapitus Hausiku) ผู้อำนวยการองค์การสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ [[เอาต์-ไรต์ นามิเบีย]] (Out-Right Namibia) คาดว่าจะมีปฏิกิริยาเชิงลบจากการประชุมมุขนายกคาทอลิกแห่งนามิเบีย แต่ก็ยินดีกับ "การอภิปรายที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับการแต่งงานเพศเดียวกันและความเชื่อของคริสเตียน"<ref>{{Cite web |url=https://www.namibian.com.na/council-of-churches-to-engage-namibias-catholic-church-on-same-sex-marriage-blessings/ |title=Council of churches to engage Namibia’s Catholic Church on same-sex marriage blessings |work=The Namibian |date=15 January 2024 |first=Donald |last=Matthys |df=dmy-all}}</ref> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:00, 11 กันยายน 2567
การรับรองคู่ชีวิตเพศเดียวกันไม่สามารถดำเนินการได้อย่างถูกกฎหมายในประเทศนามิเบีย ศาลฎีกามีคำพิพากษาที่ 4–1 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 ว่าการแต่งงานของเพศเดียวกันที่รับรองนอกนามิเบียควรได้รับการยอมรับเพื่อจุดประสงค์ในการอยู่อาศัย ร่างกฎหมายที่พยายามหักล้างคำพิพากษาได้ผ่านรัฐสภานามิเบียแล้ว และกำลังรอการลงนามของประธานาธิบดีนันโกโล อึมบัมบา
ประวัติการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน
แม้ว่าหลายวัฒนธรรมในดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศนามิเบียจะเคยมีประเพณีการมีภรรยาหลายคน แต่ก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับการแต่งงานของเพศเดียวกันในวัฒนธรรมเหล่านั้นตามที่เข้าใจจากมุมมองของตะวันตก อย่างไรก็ตามมีหลักฐานเกี่ยวกับอัตลักษณ์และพฤติกรรมที่อาจจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[1] ชาวยุโรปยุคแรกที่ไปเยือนดินแดนที่ปัจจุบันคือประเทศนามิเบีย ซึ่งรวมถึงนักมานุษยวิทยา นักชาติพันธุ์วิทยา และนักบวช รายงานว่ามี "พิธีแต่งงานของเพศเดียวกัน" ในหมู่ชาวโอวัมโบ ชาวนามา ชาวเฮเรโร และชาวฮิมบา ควร์ท ฟอล์ก (Kurt Falk) นักมานุษยวิทยาชาวเยอรมันรายงานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ว่า "ประเพณีของชนเผ่าโอวัมโบ สนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ดังนั้นชาวโอวัมโบเกือบทุกคนจึงมีเพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศ" นักชาติพันธุ์วิทยา การ์ลุส เอสเตร์มันน์ [pt] (Carlos Estermann) กล่าวว่ามีคนที่แสดงบทบาทเพศที่สามในสังคมโอวัมโบ หรือที่รู้จักในชื่อคิมบันดา (kimbanda) ซึ่ง "คัดเลือกมาเฉพาะในหมู่ผู้ชายจำนวนน้อยที่เข้าเกณฑ์และหวาดกลัว โดยกิจกรรมของพวกเขาซ่อนเร้นความลึกลับไว้อย่างสิ้นเชิง" นอกจากนี้เขายังเขียนด้วยว่าเจ้าของเครื่องดนตรีโอมาโกลา (omakola) จำนวนมากเป็นคนรักร่วมเพศแบบเกย์รับ (โอมาเซงเก, omasenge) ซึ่ง "แต่งตัวเหมือนผู้หญิง ทำงานของผู้หญิง และ 'ทำข้อตกลงการแต่งงาน' กับผู้ชายคนอื่น ๆ ที่มีภรรยาเป็นผู้หญิงอยู่แล้ว" “ลักษณะของเอเซงเก (esenge, เอกพจน์ของโอมาเซงเก) โดยพื้นฐานแล้วคือผู้ชายที่ถูกครอบงำตั้งแต่วัยเด็กโดยจิตวิญญาณของเพศหญิง ซึ่งดึงลักษณะของทุกสิ่งที่เป็นชายรวมทั้งความกำยำออกจากเขาทีละน้อย”[2]
สำหรับชาวเฮเรโร ถือเป็น "ธรรมเนียม" สำหรับผู้ชายสองคนที่จะสร้างมิตรภาพที่เร้าอารมณ์ ซึ่งเรียกในภาษาโอตจิเอเรโรว่า โอมาปังกา (omapanga) ซึ่งโดยทั่วไปรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อชายคนใดคนหนึ่งแต่งงาน ความสัมพันธ์ก็จะสิ้นสุดลง[3][2] ชาวนามายอมรับ "สนธิสัญญามิตรภาพ" ที่คล้ายกันซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางเพศของคนเพศเดียวกัน[4][5] ฟอล์กรายงานว่า "ตามกฎแล้ว ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นโดยหลักหมายถึงมิตรภาพที่ลึกซึ้งและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์รักร่วมเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กผู้ชายที่คอยดูแลกันและกันด้วยความหึงหวง" ประเพณีเหล่านี้หายไปพร้อมกับการทำให้ทันสมัยและการนำศาสนาคริสต์และวัฒนธรรมตะวันตกเข้าสู่นามิเบียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[6]
การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันถูกกฎหมายในนามิเบียตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024[7] ก่อนหน้านี้การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักในหมู่ผู้ชายถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายใต้กฎหมายคอมมอนลอว์โรมัน-ดัตช์ แม้ว่าจะไม่เคยมีใครถูกตัดสินว่ามีความผิด แต่ก็มีการรายงานเหตุการณ์ต่อตำรวจเป็นครั้งคราว ส่งผลให้มีการจับกุมและพิมพ์ลายนิ้วมือ ซึ่งทำให้ชุมชนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศหวาดกลัว[8]
ประวัติทางกฎหมาย
ภูมิหลัง
พระราชบัญญัติการแต่งงาน (พระราชบัญญัติที่ 25 ค.ศ. 1961)[a] ตราขึ้นโดยรัฐสภาแห่งแอฟริกาใต้ เมื่อนามิเบียยังคงเป็นแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ ไม่ได้ห้ามอย่างชัดเจนถึงการยอมรับการแต่งงานของเพศเดียวกัน และไม่ได้ให้คำนิยามการแต่งงานไว้อย่างชัดเจน[12] อย่างไรก็ตาม มีการตีความกฎหมายว่าไม่ยอมรับการอยู่ร่วมกันระหว่างเพศเดียวกัน[13] เมื่อนามิเบียได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1990 นามิเบียยังคงยึดถือกฎหมายของแอฟริกาใต้ทั้งหมด เว้นแต่จะมีพระราชบัญญัติยกเลิกหรือแก้ไขโดยรัฐสภาอย่างชัดเจน นอกจากนี้รัฐธรรมนูญของนามิเบียไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานของเพศเดียวกันอย่างชัดเจนโดยระบุในมาตรา 14(2):[14][15][16][17][18][19]
การแต่งงานจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมอย่างเสรีและครบถ้วนจากคู่สมรสที่ประสงค์เท่านั้น
มาตรา 14(1) ระบุว่าชายและหญิงในวัยที่สามารถสมรสได้อาจแต่งงานได้โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา ชาติพันธุ์ ความเชื่อ สถานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจ หรือสัญชาติ นอกจากนี้ ชายและหญิงมีสิทธิได้รับสิทธิและพันธกรณีเดียวกัน ไม่ว่าจะในระหว่างการสมรสหรือหย่าร้าง มาตรา 14(3) กำหนดให้ครอบครัวเป็น "หน่วยตามธรรมชาติและเป็นพื้นฐานของสังคม" ซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครองพิเศษจากรัฐ[20]
สถานะทางการเมือง
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 จอห์น วอลเตอร์ส ผู้ตรวจการแผ่นดินของนามิเบีย แสดงการสนับสนุนการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน[21][22] แต่พรรคสวาโป (South West Africa People's Organisation, SWAPO) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลตั้งแต่ได้รับเอกราช ไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน นับตั้งแต่ไอโฟเน โดซับ (Yvonne Dausab) ขึ้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในปี 2020 รัฐบาลที่นำโดยพรรคสวาโปได้ลดท่าทีลง โดยเสนอแนะให้คณะรัฐมนตรีหารือเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายการชำเราแบบวิตถาร[23][24] ในบรรดาพรรคอื่นที่มีผู้แทนราษฎรในรัฐสภานามิเบีย พรรคคริสเตียนเดโมเครติกวอยซ์ (Christian Democratic Voice, CDV) และพรรคนามิเบียนอีโคโนมิกฟรีดอมไฟเตอร์ส (Namibian Economic Freedom Fighters, NEFF) ต่อต้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอย่างแข็งขัน ขณะที่พรรคป็อปปูลาเดโมเครติกมูฟเมนต์ (Popular Democratic Movement, PDM) มีความลังเลในประเด็นนี้[25]
คดีความในศาล
คดีระหว่างประธานคณะกรรมการคัดเลือกคนเข้าเมืองกับฟรังค์และอีกบุคคลหนึ่ง
ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เอลิซาเบธ คาซาส (Elizabeth Khaxas) และแอร์นา เอลีซาเบ็ท ฟรังค์ (Erna Elizabeth Frank) คู่ครองชาวเยอรมันของเธอ ฟ้องร้องให้ยอมรับความสัมพันธ์แบบเลสเบี้ยนในนามิเบีย กฎหมายนามิเบียให้ถิ่นที่อยู่และการเป็นพลเมืองแก่ชาวต่างชาติที่แต่งงานกับพลเมืองนามิเบีย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกฎหมายไม่ยอมรับความสัมพันธ์เพศเดียวกันของทั้งคู่ ฟรังค์จึงไม่สามารถได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรหรือสถานะพลเมืองได้ เธอได้ยื่นขอใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ถาวรกับคณะกรรมการคัดเลือกคนเข้าเมืองสองครั้งในปี ค.ศ. 1996 และ ค.ศ. 1997 คณะกรรมการปฏิเสธคำขอทั้งสองครั้ง ศาลสูงตัดสินให้ผู้ร้องชนะคดีในปี 1998 โดยสั่งให้คณะกรรมการออกใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ให้กับฟรังค์ คณะกรรมการได้ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินต่อศาลฎีกาในคดีระหว่างประธานคณะกรรมการคัดเลือกคนเข้าเมืองกับฟรังค์และอีกบุคคลหนึ่ง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 2001 ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า:
ความสัมพันธ์รักร่วมเพศไม่ว่าระหว่างชายกับชายหรือระหว่างหญิงกับหญิง เห็นได้ชัดว่าอยู่นอกขอบเขตและเจตนาของมาตรา 14 (ของรัฐธรรมนูญแห่งนามิเบีย)[26]
แม้ว่าศาลจะตัดสินว่าฟรังค์ควรได้รับใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ถาวร ซึ่งเธอได้รับในอีกหนึ่งปีต่อมา ศาลไม่ได้ตัดสินให้ยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันตามกฎหมาย[27][28]
คดีระหว่างดิกาชูกับรัฐบาลสาธารณรัฐนามิเบีย และคดีระหว่างไซเลอร์-ลิลเล็สกับรัฐบาลสาธารณรัฐนามิเบีย
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 โจฮันน์ พ็อตกีเตอร์ (Johann Potgieter) และมัตโซบาเน ดาเนียล ดิกาชู (Matsobane Daniel Digashu) สามีชาวแอฟริกาใต้ของเขาได้ยื่นฟ้องศาลสูงในคดีระหว่างดิกาชูกับรัฐบาลสาธารณรัฐนามิเบีย เพื่อให้การแต่งงานของพวกเขาได้รับการยอมรับในนามิเบีย ทั้งคู่แต่งงานกันในแอฟริกาใต้ในปี ค.ศ. 2015 แต่รัฐบาลนามิเบียไม่ยอมรับดิกาชูให้เป็นคู่สมรสของพ็อตกีเตอร์ ทำให้เกิดปัญหาทางกฎหมายและระเบียบของทางราชการหลายประการ เนื่องจากเขาไม่สามารถได้รับถิ่นที่อยู่ถาวรหรือสัญชาติ เช่นเดียวกับที่อนุญาตให้คู่รักเพศตรงข้ามที่แต่งงานแล้ว[29][28] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 เจ้าหน้าที่ได้อนุมัติคำขอของทั้งคู่ให้อนุญาตให้ดิกาชูและลูกชายเดินทางเข้าสู่นามิเบีย ในขณะที่ศาลสูงยังคงพิจารณาคดีของพวกเขาต่อไป[27] อีกกรณีหนึ่งคือคดีระหว่างไซเลอร์-ลิลเล็สกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐนามิเบีย ซึ่งยื่นฟ้องในปี ค.ศ. 2018 โดยแอนเน็ตต์ ไซเลอร์ (Anette Seiler) และภรรยาชาวเยอรมันของเธอ อนีทา ไซเลอร์-ลิลเล็ส (Anita Seiler-Lilles) ซึ่งใช้ชีวิตร่วมกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 ทั้งคู่อ้างเหตุผลว่าการแต่งงานในประเทศเยอรมนีของพวกเธอในปี ค.ศ. 2017 ควรได้รับการยอมรับในนามิเบีย[30]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 เปตรุส ดามาเซ็บ (Petrus Damaseb) ประธานผู้พิพากษา ได้สั่งการให้ผู้พิพากษาสามคนเต็มองค์คณะพิจารณาคดีที่ค้างอยู่ทั้งหมด[27] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 โจทก์ทั้งสองคดีตกลงที่จะรวมคดีความของตนเข้าด้วยกัน[30][13] ผู้พิพากษาฮานเนไล พรินสลู (Hannelie Prinsloo), ออร์เบน ซิเบยา (Orben Sibeya) และเอซิ ชิมมิง-เชส (Esi Schimming-Chase) ได้รับฟังคำแถลงด้วยวาจาของคดีรวมในศาลเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2021 คู่รักทั้งสองขอให้ศาลรับรองการแต่งงานของพวกเขาที่ดำเนินการนอกนามิเบีย เรย์มอนด์ ฮีทโคต (Raymond Heathcote) ที่ปรึกษาอาวุโส (Senior Counsel) ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ แย้งว่าคดีนี้จะไม่ทำให้การแต่งงานของคนเพศเดียวกันในนามิเบียถูกกฎหมาย แต่พยายามรับรองการแต่งงานที่ดำเนินการที่อื่น เขาแย้งว่ารัฐธรรมนูญให้สิทธิชายและหญิงในการแต่งงานโดยไม่มีข้อจำกัดเนื่องจากสถานะทางสังคมของพวกเขา และการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของรสนิยมทางเพศถือเป็นการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศและสถานะทางสังคม ซึ่งเป็นเหตุผลสองประการที่รัฐธรรมนูญห้ามการเลือกปฏิบัติทั้งหมด มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 2022[31] ผู้พิพากษาเห็นพ้องในหลักการกับโจทก์ แต่ตัดสินว่าพวกเขาผูกพันกับคดีระหว่างประธานคณะกรรมการคัดเลือกคนเข้าเมืองกับฟรังค์และอีกบุคคลหนึ่งในปี 2001 และด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถตัดสินให้มีการแต่งงานของคนเพศเดียวกันได้ ผู้พิพากษาสนับสนุนให้คู่รักทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาเพื่อขอล้มล้างคำตัดสินก่อนหน้านี้ ผู้พิพากษาพรินสลูกล่าวว่า "มีเพียงศาลฎีกาเท่านั้นที่สามารถแก้ไขตัวเองได้" โดยเสริมว่า "ถึงเวลาแล้วที่รัฐธรรมนูญจะสะท้อนความเป็นจริงทางสังคม"[32] คู่รักทั้งสองคู่กล่าวว่าพวกเขา “ผิดหวัง” กับคำตัดสินดังกล่าว แต่ตอนนี้จะพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา คาร์ลี ชลิคเคอร์ลิง (Carli Schlickerling) ทนายความซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์กล่าวว่า "ศาลกล่าวกับเราเมื่อเช้านี้ว่า 'ดูสิ เราต้องการช่วยคุณ เราเชื่อว่าคุณควรจะประสบความสำเร็จในประเด็นรัฐธรรมนูญ' ดูเหมือนว่าศาลมุ่งที่จะบอกไปยังศาลฎีกาว่าเหตุใดเราจึงควรอุทธรณ์ได้สำเร็จ"[33]
ศาลฎีการับฟังคำแถลงด้วยวาจาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2023[34][35][36] ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 ศาลฎีกามีมติ 4–1 ว่า เนื่องจากการประกันความเสมอภาคและศักดิ์ศรีตามรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่กระทำนอกนามิเบียเพื่อวัตถุประสงค์ในการพำนักอาศัย[37][38] นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับคำตัดสินในปี ค.ศ. 2001 โดยระบุว่าข้อสังเกตก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันคือ "ข้อสังเกตเสริมและคำกล่าวภายนอกไม่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจนั้นและด้วยเหตุนี้ [...] จึงไม่มีผลผูกพัน"[39]
ผลที่ตามมาและปฏิกิริยา
คำตัดสินได้รับความยินดีโดยคู่สมรสของโจทก์ ดิกาชูกล่าวว่าเขา "รู้สึกหนักใจ" "ในตอนแรกกระบวนการในการดำเนินคดีเป็นเรื่องที่โดดเดี่ยว แต่เราก็ได้เพื่อนและความสัมพันธ์ที่ดีตลอดเส้นทาง ตั้งแต่การดำเนินคดีและการสนับสนุนจากองค์กรศูนย์คดีความแอฟริกาใต้ (Southern Africa Litigation Centre) ซึ่งช่วยเหลือเราได้อย่างมาก ไปจนถึงองค์กรประชาสังคมในนามิเบียซึ่งเรารู้สึกถึงความเป็นชุมชนที่ยอดเยี่ยม" ซีคลีนเดอ เวเทอร์ (Sieglinde Wether) ประธานสมาคมผู้มีสิทธิเลือกตั้งโคริซัส (Khorixas Constituency Residents Association) ยินดีกับคำตัดสินที่ว่า "เราทุกคนเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงสร้าง และไม่มีใครควรด้อยกว่าใคร นามิเบียต้องดำเนินชีวิตตามสังคมที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกันตามที่รัฐธรรมนูญเน้นย้ำ"[40] อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดีถูกต่อต้านอย่างดุเดือดจากกลุ่มศาสนาและนักการเมือง สภาคริสตจักรในนามิเบียออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สมาชิกสภานิติบัญญัติห้ามการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน โดยอธิบายว่าเป็นการ "ขัดกับวัฒนธรรมนามิเบีย"
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 รัฐสภาได้ผ่านกฎหมายที่ต้องการล้มล้างคำตัดสินของศาล ร่างกฎหมายดังกล่าวให้นิยามการแต่งงานว่าเป็น "การอยู่ร่วมกันระหว่างบุคคลที่มีเพศตรงข้าม" และให้คำจำกัดความของคู่สมรสว่าเป็น "ครึ่งหนึ่งของการอยู่ร่วมกันตามกฎหมายระหว่างชายโดยกำเนิดและหญิงโดยกำเนิด" นอกจากนี้ จะทำให้การเฉลิมฉลอง การเป็นพยาน การส่งเสริม หรือการเผยแพร่การแต่งงานของเพศเดียวกันเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษจำคุกสูงสุด 6 ปี และปรับสูงสุด 100,000 ดอลลาร์นามิเบีย (5,500 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าวอธิบายว่าเป็น “การพูดที่แสดงการละเมิดเสรีภาพอย่างชัดเจน” ยังไม่ชัดเจนว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะล้มล้างคำตัดสินของศาลได้อย่างไร เนื่องจากศาลฎีกาได้ตัดสินว่าหลักการทางรัฐธรรมนูญแห่งความเท่าเทียมรับประกันการยอมรับการแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่ดำเนินการในต่างประเทศ และร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงไม่สามารถพลิกผันคำตัดสินของศาลได้อย่างแท้จริง หากมีการประกาศใช้และมีการยื่นคำคัดค้าน ก็มีแนวโน้มว่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะ แมคเฮนรี เฟียนอน (McHenry Venaani) สมาชิกรัฐสภากล่าวว่า "ผมไม่เคยเห็นร่างกฎหมายที่เขียนโดยจงใจ (เพื่อ) ขัดแย้งกับคำตัดสินของศาล ผมไม่แน่ใจว่ามันจะผ่านการตรวจสอบว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ"[41]
ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านการลงมติเป็นเอกฉันท์ในรัฐสภาเมื่อปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2023[42] ขณะนี้กำลังรอการลงนามหรือการยับยั้งของประธานาธิบดีนันโกโล อึมบัมบา โดยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 ฮาเก เกนก็อบ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่งถึงแก่กรรมในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 แถลงคัดค้านการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน แต่แสดง "ความระมัดระวัง" เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายดังกล่าว แดเนียล คาชิโกลา (Daniel Kashikola) สมาชิกรัฐสภายังแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของร่างกฎหมายนี้ต่อการแต่งงานตามธรรมเนียมและบุคคลที่มีเพศกํากวม ส่วนอีควล นามิเบีย (Equal Namibia) กลุ่มผู้สนับสนุนกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวว่าจะยื่นฟ้องกฎหมายนี้หากประธานาธิบดีอึมบัมบาลงนามในกฎหมาย โอมาร์ ฟัน เรเนน (Omar van Reenen) ผู้จัดการการรณรงค์หาเสียงขององค์กรกล่าวว่า "[ร่างกฎหมายนี้] ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยสิ้นเชิงและจะตกไปในชั้นศาล แต่มันพิสูจน์ได้ว่านี่คือสภานิติบัญญัติที่ละเมิดคำสาบานเพื่อรับคะแนนนิยมราคาถูกจากการรณรงค์"[43] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2024 นักเคลื่อนไหวได้เริ่มการรณรงค์เรียกร้องให้ประธานาธิบดีอึมบัมบา ยับยั้งกฎหมายดังกล่าว[44]
คดีระหว่างกร็อบเลอร์กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและตรวจคนเข้าเมือง
ในปี ค.ศ. 2018 อนิตา กร็อบเลอร์ (Anita Grobler) ทนายความจากเมืองโอตจิวารองโก (Otjiwarongo) และซูซาน จาค็อบส์ (Susan Jacobs) คู่สมรสชาวแอฟริกาใต้ของเธอ ซึ่งครองคู่กันมานานกว่า 25 ปี ได้ยื่นฟ้องต่อศาลสูงเพื่อให้การแต่งงานในแอฟริกาใต้ของพวกเธอในปี ค.ศ. 2009 ได้รับการยอมรับในนามิเบีย และจาค็อบส์ได้รับสิทธิในการอยู่อาศัยในนามิเบีย[27][45] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและตรวจคนเข้าเมืองได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยหลักในคดีนี้[24] คณะกรรมการคัดเลือกคนเข้าเมืองมีมติเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 อนุมัติใบสมัครของจาค็อบส์เพื่อขอใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ถาวร เธอได้ชำระเงินที่จำเป็นสำหรับใบอนุญาตจำนวน 18,000 ดอลลาร์นามิเบีย แต่ ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 ยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้กับเธอเลย[46] โจทก์ตกลงที่จะทำการยุติคดีและถอนฟ้องก็ต่อเมื่อมีการออกใบสำคัญถิ่นที่อยู่แล้ว[30]
คดีระหว่างเลือล์กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและตรวจคนเข้าเมือง
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 ผู้พิพากษาศาลสูง โธมัส มาซูกุ (Thomas Masuku) ตัดสินว่าบุตรชายของคู่รักเพศเดียวกันได้แก่ กิเยร์โม เดลกาโด (Guillermo Delgado) สัญชาติเม็กซิโก และฟิลลิพ เลือล์ (Phillip Lühl) สัญชาตินามิเบีย ซึ่งเกิดผ่านการอุ้มบุญในแอฟริกาใต้ เป็นพลเมืองนามิเบียโดยสืบเชื้อสาย[47] ศาลฎีกากลับคำตัดสินของศาลสูงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2023 โดยถือว่าศาลสูง "หลงทาง" ในการให้สัญชาติแก่เด็ก “เนื่องจากการเกิดไม่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติความเป็นพลเมือง ศาลสูงจึงไม่มีอำนาจที่จะให้การบรรเทาทุกข์ได้”[48]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 หัวหน้าผู้พิพากษาศาลฎีกา ปีเตอร์ ชีวุต (Peter Shivute) สั่งให้กระทรวงมหาดไทยประเมินการสมัครเป็นผู้มีถิ่นพำนักของเดลกาโดอีกครั้ง แม้จะมีขอบเขตการพิจารณาคดีที่แคบ อึนดิโลเกลวา อึนเทตวา (Ndilokelwa Nthetwa) นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศยินดีกับการตัดสินใจดังกล่าว โดยกล่าวว่า “สิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อคู่สมรสเองและไม่กระทบโดยแน่แท้ต่อชุมชน แต่เป็นชัยชนะในลักษณะที่ศาลฎีกายอมรับว่ากระทรวงได้ใช้นโยบายสาธารณะ (ความไว้วางใจ) ในทางที่ผิด ในการปฏิบัติต่อคู่รักคู่นี้และครอบครัวของพวกเขาอย่างไร้มนุษยธรรมและในลักษณะที่ไม่เป็นมิตร"[49][50]
การปฏิบัติทางศาสนา
ในปี ค.ศ. 2015 การประชุมสภาสงฆ์เป็นการทั่วไปของคริสตจักรปฏิรูปดัตช์ (Dutch Reformed Church) ได้ลงมติโดยเสียงข้างมากร้อยละ 64 ให้รับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน ให้พรแก่ความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกัน และยอมรับศาสนาจารย์และนักบวชที่เป็นเกย์ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโสด) คำตัดสินนี้ใช้กับการประชุมสภาสงฆ์ 9 ใน 10 สภา โดยไม่รวมสภาเถรนามิเบีย แต่จะใช้กับสภาเถรภาคเหนือ ซึ่งรวมถึงบางส่วนของฉนวนคาปรีวีด้วย[51] การตัดสินใจดังกล่าวทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและการคัดค้าน ส่งผลให้มีการกลับมติในอีกหนึ่งปีต่อมา ต่อมาสมาชิกของคริสตจักรหลายสิบรายได้นำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาลเพื่อรื้อฟื้นคำตัดสินในปี 2015 ต่อมาในปี ค.ศ. 2019 ศาลสูงนอร์ทเคาเต็งได้กลับคำตัดสิน โดยตัดสินว่าแม้ว่าองค์กรทางศาสนาจะมีเสรีภาพทางศาสนาในการนิยามการแต่งงาน แต่มติในปี 2016 ก็ไม่สอดคล้องกับกระบวนการที่เหมาะสมของคริสตจักรเอง[52][53] บาทหลวงแต่ละรูปมีอิสระที่จะเลือกว่าจะอำนวยพรการแต่งงานของคนเพศเดียวกันหรือไม่ ตัวบทว่าด้วยเสรีภาพแห่งมโนธรรมช่วยให้ศิษยาภิบาลที่คัดค้านสามารถเลือกไม่จัดงานแต่งงานสำหรับเพศเดียวกันได้
คริสตจักรแองกลิกันแห่งแอฟริกาใต้ (Anglican Church of Southern Africa) ซึ่งมีสังฆมณฑลหนึ่งในนามิเบีย ไม่อนุญาตให้มีการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน นโยบายการแต่งงานระบุว่า "การแต่งงานอันศักดิ์สิทธิ์คือการอยู่ร่วมกันตลอดชีวิตและพิเศษเฉพาะระหว่างชายหนึ่งคนกับหญิงหนึ่งคน" ในปี ค.ศ. 2016 การประชุมสภาสงฆ์ได้มีการลงมติคัดค้านการให้พรแก่คู่ชีวิตเพศเดียวกัน การตัดสินใจทำให้คริสตจักรแตกแยก โดยหลายสังฆมณฑลได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการต่อไปโดยให้พรแก่คู่ที่มีความสัมพันธ์เพศเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังฆมณฑลซัลดานาเบย์ (Diocese of Saldanha Bay) ในแอฟริกาใต้[54] อัครมุขนายกทาโบ มักโกบา (Thabo Makgoba) แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจไม่อำนวยพรคู่ชีวิตเพศเดียวกัน แต่เสริมว่า "ทุกอย่างจะไม่สูญเปล่า" โดยแสดงความหวังว่าเรื่องนี้จะมีการถกเถียงกันอีกครั้งในอนาคต อดีตอัครมุขนายกอึนจ็องอนกูลู อึนดุนกาเน (Njongonkulu Ndungane) ยังได้แสดงความผิดหวังกับการตัดสินใจดังกล่าวด้วย[55] ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2023 คริสตจักรปฏิเสธที่จะอนุญาตให้บาทหลวงอำนวยพรคู่ชีวิตเพศเดียวกันอีกครั้ง แต่สั่งให้ที่ประชุมสภาสงฆ์พัฒนา "แนวปฏิบัติในการจัดให้มีพันธกิจอภิบาลแก่ผู้ที่มีความสัมพันธ์เพศเดียวกัน"[56] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2024 อัครมุขนายกมักโกบาเผยแพร่เอกสารแนะนำการสวดมนต์สำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมสภาสงฆ์จะนำเข้าพิจารณาในเดือนกันยายน[57]
ในปี ค.ศ. 2017 มุขนายกเชกูตาอัมบา นัมบาลา (Shekutaamba Nambala) แห่งคริสตจักรนิกายลูเธอรันผู้เผยแพร่ศาสนา (Evangelical Lutheran Church) ในนามิเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในนิกายที่ใหญ่ที่สุดในนามิเบีย ประณามการแต่งงานของคนเพศเดียวกันและธรรมเนียมปฏิบัติแบบอาวัมโบ (Aawambo) ดั้งเดิมในเทศกาลโอลูฟูโก (Olufuko Festival) ซึ่งคริสตจักรถือว่า "นอกรีต" และ "ต่อต้านศาสนาคริสต์"[58]
คริสตจักรคาทอลิกต่อต้านการแต่งงานของเพศเดียวกันและไม่อนุญาตให้นักบวชประกอบพิธีในการแต่งงานดังกล่าว ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 สันตะสำนักตีพิมพ์คำประกาศฟิดูเชีย ซุปปลิกันส์ (Fiducia supplicans) ซึ่งเป็นคำประกาศที่อนุญาตให้นักบวชคาทอลิกให้พรคู่รักที่ไม่ถือว่าเป็นการแต่งงานตามคำสอนของคริสตจักร รวมถึงการให้พรแก่คู่รักเพศเดียวกันด้วย[59] อะกาปิตุส เฮาซิกู (Agapitus Hausiku) ผู้อำนวยการองค์การสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เอาต์-ไรต์ นามิเบีย (Out-Right Namibia) คาดว่าจะมีปฏิกิริยาเชิงลบจากการประชุมมุขนายกคาทอลิกแห่งนามิเบีย แต่ก็ยินดีกับ "การอภิปรายที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับการแต่งงานเพศเดียวกันและความเชื่อของคริสเตียน"[60]
หมายเหตุ
- ↑ ในภาษาประจำชาติของประเทศนามิเบีย:[9]
- Oshiwambo: Oveta yOndjokana
- Khoekhoegowab: ǃGameb ǂHanumās
- อาฟรีกานส์: Huwelikswet,[10] ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: [ˈɦyvalaksˌvɛt]
- Otjiherero: Oveta yOrukupo
- RuKwangali: Veta zoNonkwara
- siLozi: Mulao wa Linyalo
- เยอรมัน: Ehegesetz,[11] ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: [ˈeːəɡəˌzɛts]
- Setswana: Molao wa Manyalo
อ้างอิง
- ↑ Spurlin, William J. (2006). Imperialism Within the Margins: Queer Representation and the Politics of Culture in Southern Africa. Palgrave Macmillan. ISBN 978-1-4039-8366-4.
- ↑ 2.0 2.1 Murray, Stephen. "Homosexuality in "Traditional" Sub-Saharan Africa and Contemporary South Africa" (PDF). Semgai. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2023.
- ↑ "Boy-Wives and Female Husbands". www.willsworld.org.
- ↑ Denver Breda, Toroga (15 ธันวาคม 2022). "Relearning Our Past Histories through Our Native Tongues". Cultural Survival.
- ↑ "Sources of the Cape KhoeKhoe and Kora records" (PDF). South African History Online. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2023.
- ↑ Okwenna, Chrysogonus (2021). "Homosexuality in Traditional Africa". Obademi Awolowo University Press.
- ↑ "Namibian court declares law criminalising same-sex relationships unconstitutional". France24. 21 มิถุนายน 2024.
- ↑ "Report on the abolishment of the Common Law offences of Sodomy and Unnatural Sexual Offences" (PDF). Windhoek: Law Reform and Development Commission, Government of Namibia. กุมภาพันธ์ 2021. pp. 8–9.
- ↑ "Eindilo tango manga inaamu hokanathana… Othanekwaveta ompe osho yi li ngaaka". New Era Live (ภาษากวนยามา). 30 พฤศจิกายน 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ Bause, Tanja (19 มกราคม 2024). "LGBTQIA-Wetsontwerpe Nog Op Hage Se Tafel". Republikein (ภาษาแอฟริกานส์).
- ↑ "Ehegesetz ebnet Einspruch der Öffentlichkeit den Weg". HitRadio Namibia (ภาษาเยอรมัน). 17 สิงหาคม 2023.
- ↑ "Marriage Act 25 of 1961 (SA)" (PDF). laws.parliament.na. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ 13.0 13.1 "Govt sticks to stance on same-sex marriage". Namibian. 3 ตุลาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Efinamhango loRepublika yaNamibia". Konrad-Adenauer Stiftung (ภาษากวนยามา). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Namibiab di Republiki di !Huǂhanub". Ministry of Information and Communication Technology (ภาษานามา). 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Grondwet van Namibië". Konrad-Adenauer Stiftung (ภาษาแอฟริกานส์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Ongunḓeveta ya Namibia". Ministry of Information and Communication Technology (ภาษาเฮเรโร). 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Ediveta lyo Republika za Namibia". Ministry of Information and Communication Technology. 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Mutomo-Puso wa Naha ya Namibia". Ministry of Information and Communication Technology (ภาษาโลซิ). 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Namibian Constitution" (PDF). lac.org.na. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Namibia's ombudsman calls for same-sex marriage amidst UN report furore". MambaOnline - Gay South Africa online. 23 สิงหาคม 2016.
- ↑ Denver Kisting (23 สิงหาคม 2016). "Let gays be – Walters". The Namibian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ Petersen, Shelleygan (18 พฤษภาคม 2021). "Sodomy law in Cabinet's hands". The Namibian. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ 24.0 24.1 "Govt stance on same-sex marriage faces challenge". The Namibian. 26 มิถุนายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ Nakale, Albertina (25 สิงหาคม 2021). "Politicians divided on homosexuality … NEFF says 'to hell' with gay rights". New Era. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ Strydom, Johan; Teek, Pio; O'Linn, Bryan (26 มิถุนายน 2019). "Appeal Judgment: Chairperson of the Immigration Selection Board v Frank and Another". Supreme Court of Namibia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 "Walters backs LGBT marriage". Namibian Sun. 10 กรกฎาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2019.
- ↑ 28.0 28.1 Igual, Roberto (15 ธันวาคม 2017). "Namibia: Gay couple sue govt for same-sex marriage and family rights". Mambaonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Namibia: Govt Sued Over Gay Marriage". AllAfrica.com. 14 ธันวาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 "Same-sex couples join forces". Namibian Sun. 5 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Landmark test for stance against gay marriage". The Namibian. 21 พฤษภาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ "'Second-class citizens'? Namibia rules against gay couples". Reuters. Windhoek. 21 มกราคม 2022.
- ↑ Thoreson, Ryan (25 มกราคม 2022). "Namibian Court Rules It Cannot Require Recognition of Same-Sex Marriages". Human Rights Watch.
- ↑ @EqualNamibia (February 17, 2023). "A once in a generation chance to fight for an #equalNamibia! Join us at the Supreme Court, 10 AM, March 3 and 6!" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Shikongo, Arlana (2 มีนาคม 2023). "Same-sex couples prepare for key court hearings". The Namibian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ Menges, Werner (7 มีนาคม 2023). "Officials 'rude' to same-sex couples seeking equal rights". The Namibian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2024.
- ↑ Angula, Vitalio (16 พฤษภาคม 2023). "Namibia Court Endorses Recognizing Same-Sex Marriage From Other Countries". voanews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2023.
- ↑ Menges, Werner (16 พฤษภาคม 2023). "Supreme Court gives legal status to same-sex marriages". The Namibian.
- ↑ Menges, Werner (17 พฤษภาคม 2023). "Same-sex marriage wins … historic judgement for equal rights". The Namibian. p. 1.
- ↑ Kavhu, Sharon (30 มิถุนายน 2023). "Fight for LGBTIQ rights in Namibia goes on after landmark court ruling". OpenDemocracy.
- ↑ "Namibian MPs back anti-gay law despite Supreme Court ruling". News24. 19 กรกฎาคม 2023.
- ↑ Shikololo, Aletta (27 กันยายน 2023). "Same-sex marriage's fate in Geingob's hands". New Era Live.
- ↑ Petersen, Shelleygan (1 ตุลาคม 2023). "Gay community ready to take legal action over Ekandjo's bills". The Namibian.
- ↑ "Namibia: Call for President to Veto Anti-LGBTQI Bill". Mambaonline. 8 มิถุนายน 2024.
- ↑ "Homo-Ehe beschäftigt Gericht". Allgemeine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 26 มิถุนายน 2019.
- ↑ "Immigration drags feet". Namibian Sun. 4 ตุลาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2020.
- ↑ "Gay couple hail 'big win' in battle over children's Namibian citizenship". Reuters. 13 ตุลาคม 2021.
- ↑ "Namibia: court cancels nationality of child of same-sex couple". Africa News. 20 มีนาคม 2023.
- ↑ Angula, Vitalio (7 มีนาคม 2022). "Namibia's Supreme Court Rules in Favor of Same-sex couple". VOA News.
- ↑ Rosen, Everitt (3 พฤษภาคม 2022). "Namibia Rules In Favor Of Same-Sex Marriage". South Florida Gay News.
- ↑ "Dutch Reformed Church to recognise gay marriage". enca. 10 ตุลาคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2019.
- ↑ "Dutch Reformed Church's Decision Not To Recognise Gay Marriages Set Aside". Eyewitness News. 8 มีนาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2019.
- ↑ "Dutch Reformed Church loses court battle over same-sex unions". enca. 8 มีนาคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2019.
- ↑ "More ructions in Anglican church over same-sex marriage". Iol.co.za. 16 กันยายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2019.
- ↑ "All Are God's Children: On Including Gays and Lesbians in the Church and Society". HuffPost. 11 สิงหาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2019.
- ↑ "Bishops in Southern Africa agree to prayers but not blessings for same-sex couples". Church Times. 6 มีนาคม 2023.
- ↑ LeBlanc, Douglas; Michael, Mark (9 พฤษภาคม 2024). "Eclectic Prayers for Same-Sex South African Couples". The Living Church.
- ↑ "ELCIN denounces same-sex marriage and Olufuko". New Era Live. 19 กันยายน 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 กันยายน 2024.
- ↑ Flynn, JD (22 ธันวาคม 2023). "Is the 'false narrative' narrative a false narrative?". The Pillar (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2023.
- ↑ Matthys, Donald (15 มกราคม 2024). "Council of churches to engage Namibia's Catholic Church on same-sex marriage blessings". The Namibian.
แหล่งข้อมูลอื่น
- "Digashu and Another v GRN and Others; Seiler-Lilles and Another v GRN and Others (SA 6/2022; SA 7/2022) [2023] NASC 14 (16 May 2023)". Supreme Court of Namibia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2023.