ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย"
Krisana.supa (คุย | ส่วนร่วม) |
ป้ายระบุ: ทำกลับ |
||
บรรทัด 16: | บรรทัด 16: | ||
== ประวัติ == |
== ประวัติ == |
||
[[พ.ศ. 2461]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย]] มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ[[โรงเรียนเพาะช่าง]] จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ [[8 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2465]] ตลอดระยะเวลาที่ทรงรับราชการ ได้บริหารการศึกษาศิลปหัตถกรรม ของ[[โรงเรียนเพาะช่าง]]ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ได้รับความนิยมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนถึงเจ้านาย ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ตลอดชาวต่างประเทศ ทรงจัดตั้งแผนกช่างทอง แผนกเจียระไนเพชร พลอย แผนกทำบล็อกสกรีน โดยเฉพาะเครื่องถม ได้ขยายวิธีการไปอย่างกว้างขวางจนเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบันคือ “ ถมจุฑาธุช “ ทรงจัดให้มีพิธีไหว้ครูช่างแบบอย่างโบราณขึ้นใน[[โรงเรียนเพาะช่าง]]เป็นครั้งแรก เมื่อ [[พ.ศ. 2463]] และทรงคิดสีประจำโรงเรียนคือ สีแดง-ดำ สีแดงหมายถึงเลือดของช่าง สีดำหมายถึงไม่ใช่ช่าง เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้ช่างทั้งหลายได้มีเลือดเป็นสีแดงอยู่เสมอ อย่าให้สีแดงของช่างจางไปหรือกลายเป็นสีดำ |
|||
โรงเรียนช่างก่อสร้าง อุเทนถวาย เกิดก่อน ทั้งเป็นโรงเรียนสำหรับพระนคร จึงต้องรับภาระอันจะเป็นแบบอย่างแห่งโรงเรียนช่างก่อสร้างทั้งหลาย กับเป็นที่เพาะวิชาครูช่างเพื่อไปเผยแผ่วิชาช่างในโรงเรียน ช่างก่อสร้างทั้งหลายอันจะเกิดขึ้นสะพรั่งตั้งแต่นี้ไป” |
|||
'''ทรงขยายแผนกการค้า ทรงสร้างห้องแสดงสินค้าห้องประชุมโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งนำผลกำไรจากการค้าของโรงเรียนช่าง ไปสร้างโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง คือ วิทยาเขตอุเทนถวาย ปัจจุบัน นั่นเอง''' |
|||
วิทยาเขตอุเทนถวาย ก่อตั้งขึ้นโดย[[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]] เมื่อวันที่ [[1 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2477]] โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย หรือ "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย" ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2518]] จึงได้โอนมาเป็นวิทยาเขตในสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2533 เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย" ปัจจุบัน เป็นวิทยาเขตหนึ่งของ[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก]] เปิดสอนในสาขา[[วิศวกรรมศาสตร์]]และ[[สถาปัตยกรรมศาสตร์]] |
|||
ข้อความดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในคำอวยพรของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ มอบให้แก่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายเมื่อแรกสถาปนาในพุทธศักราช 2475 |
|||
พิ้นที่ของอุเทนถวายทำการเช่าที่ดิน[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ตั้งแต่ปี 2478 มีการขอเจรจาคืนในปี 2518 มีแผนพัฒนา ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืนในปี 2545 กรมธนารักษ์ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ให้อุเทนถวายจำนวน 35 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ <ref>{{Cite web|date=2005-04-26|title=อุเทนถวายได้ข้อสรุปวิทยาเขตใหม่ให้ตั้งที่บางพลี|url=https://mgronline.com/qol/detail/9480000055561|website=mgronline.com|language=th}}</ref>บริเวณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี [[จังหวัดสมุทรปราการ]]<ref>{{Cite web|date=2017-04-12|title=จุฬาฯ แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ดิน|url=https://www.dailynews.co.th/education/176674|website=dailynews|language=th}}</ref><ref>{{Cite web|last=isranews|date=2013-03-15|title=จุฬาจี้ศธ.ประสานอุเทนถวายเจรจา|url=https://www.isranews.org/content-page/item/19994-จุฬาจี้ศธ-ประสานอุเทนถวายเจรจา.html|website=สำนักข่าวอิศรา|language=th-th}}</ref> ครม.จัดสรรงบเพื่อก่อสร้างและขนย้าย 200 ล้านบาท อุเทนถวายทำข้อตกลงกับจุฬาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 จะขนย้ายและส่งมอบให้แก่จุฬาภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 หากจำเป็นผ่อนผันได้ไม่เกิน 1 ปี ปี 2548 มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าอุเทนถวายจะย้ายไปก่อสร้างที่ใหม่ บริเวณบางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมทั้งนี้จะย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 แต่การย้ายยังติดขัดปัญหาและเป็นไปอย่างล่าช้า กระทั่ง ปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กยพ.) ซึ่งระหว่างนั้นสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง<ref>{{Cite web|last=ฐานเศรษฐกิจ|date=2023-02-16|title=เปิดปม "ย้ายอุเทนถวาย" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด|url=https://www.thansettakij.com/news/general-news/556412|website=thansettakij|language=th-TH}}</ref> และปี 2552 กยพ.มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้จุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ ส่วนผลการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. และทางจุฬาฯ ก็ไม่ได้ทวงเงินค่าเสียหายจากอุเทนถวายแต่อย่างใด ต่อมาในเดือนธันวาคม 2565 [[ศาลปกครองสูงสุด]] ศาลมีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากพิ้นที่ โดยจะต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังจากมีคำสั่ง<ref>{{Cite web|date=2023-02-16|title=‘อุเทนถวาย’ ชุมนุมค้านย้ายที่ตั้งใหม่ โพลชี้ 74.43% หนุนอยู่ที่เดิม|url=https://www.komchadluek.net/news/education/543099|website=คมชัดลึกออนไลน์|language=th}}</ref> <ref>{{Citation|title=อุเทนถวายรวมตัวยื่นหนังสือ หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่ ปมข้อพิพาทที่ดินกับจุฬาฯ|url=https://news.ch7.com/detail/624601|language=th|access-date=2023-02-17}}</ref> |
|||
การจัดการศึกษาวิชาช่างไทยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภไว้แล้วแต่ยังมิทันได้โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน กระทั่งถึงพุทธศักราช 2456 กระทรวงธรรมการ ซึ่งมีเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นเสนาบดี ได้จัดการก่อสร้างโรงเรียนฝึกหัดการหัตถกรรมเพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นที่บริเวณถนนตรีเพชรและนำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานนาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนเพาะช่าง” และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พุทธศักราช 2456 ครั้งนั้นมีพระราชดำรัสตอบความตอนหนึ่งว่า |
|||
== คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ == |
|||
“ตามที่เจ้าพระยาพระเสด็จอ่านรายงานเรื่องสร้างโรงเรียนนี้ว่า ได้กระทำขึ้นเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถของเรานั้น เราเชื่อว่าถ้ามีวิถีอันใดที่กิตติศัพท์อันนี้จะทรงทราบถึงพระองค์ได้ แม้จะเสด็จอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม คงจะทรงยินดีและพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก เพราะว่าพระองค์ได้มีพระราชประสงค์อยู่นานแล้วที่จะทรงบำรุงศิลปวิชาการของไทยเราให้เจริญ ตัวเราเองก็ได้เคยฟังกระแสพระราชดำริอยู่เสมอ เราเห็นพ้องด้วยกระแสพระราชดํารินั้นตั้งแต่ต้นมา |
|||
* สาขา[[วิศวกรรมโยธา]] |
|||
* สาขาวิศวกรรมก่อสร้าง |
|||
คือเราเห็นว่าศิลปวิชาช่างเป็นสิ่งสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งสำหรับแสดงให้ปรากฏว่า ชาติได้ถึงซึ่งความเจริญเพียงใดแล้ว…ฯลฯ…เราได้เคยปรารภกับเจ้าพระยาพระเสด็จและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยการศึกษาที่จะใช้วิชาช่างของเราตั้งขึ้นใหม่จากพื้นเดิมของเราแล้ว และขยายให้แตกกิ่งก้านสาขางอกงามยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนเอาพันธุ์พืชของเราเองมาปลูกลงในพื้นแผ่นดินของเรา แล้วบำรุงให้เติบโตงอกงาม ดีกว่าจะเอาพันธุ์ไม้ต่างประเทศมาปลูกลงในพื้นแผ่นดินของเรา อันไม่เหมาะกันโดยความประสงค์เช่นนี้ เมื่อเจ้าพระยาพระเสด็จมาขอชื่อโรงเรียน เราระลึกผูกพันอยู่ในความเปรียบเทียบกันต้นไม้ดังกล่าวนี้ เราจึงได้ให้ชื่อโรงเรียนนี้ว่า โรงเรียนเพาะช่าง” |
|||
* สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม |
|||
* สาขา[[สถาปัตยกรรมภายในภายนอก|สถาปัตยกรรมภายใน]] |
|||
โรงเรียนเพาะช่างเปิดสอนวิชาช่างหัตถกรรมไทยมาแต่แรกตั้ง มีสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ทรงเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนตั้งแต่พุทธศักราช 2462 และทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่างตั้งแต่พุทธศักราช 2465 กระทั่ง สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พุทธศักราช 2466 |
|||
* สาขาออกแบบอุตสาหกรรม |
|||
* สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง |
|||
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง ตามราชประเพณีที่ทรงดำรงพระอิสริยยศสมเด็จเจ้าฟ้าต่างกรม และ “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินการพระราชกุศลถาวรวัตถุสำหรับงานพระเมรุ ท้องสนามหลวงคราวนี้ เปนเงิน 10,000 บาท ให้สร้างโรงงานนักเรียนเพาะช่าง ทรงพระราชอุทิศพระราชทานแด่สมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชร์บูรณ์อินทราชัย…” |
|||
* สาขาการบริหารงานก่อสร้าง |
|||
โรงงานของโรงเรียนเพาะช่างที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนี้ ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายปัจจุบัน |
|||
สะพานอุเทนถวายซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานนักเรียนเพาะช่าง อันเป็นที่มาของชื่อโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายนั้น เป็นสะพานข้ามคลองสวนหลวง ถนนพญาไท คลองนี้เชื่อมต่อกับคลองอรชร ข้าราชการและพนักงานกรมสรรพากรในร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 8,015 บาท 40 สตางค์ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้างสะพานในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2455 พร้อมกับสะพานช้างโรงสี ที่ข้ามคลองหลอดเยื้องกระทรวงกลาโหม ซึ่งรื้อของเดิม และสร้างขึ้นใหม่ ส่วนสะพานที่ข้าราชการกรมสรรพากรในประสงค์จะสร้างถวายนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างที่คลองสวนหลวง |
|||
ครั้งนั้นเจ้าพระยายมราชเสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งกำกับดูแลกรมสุขาภิบาล ได้เสนอชื่อสะพานที่จะสร้างใหม่ทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงเลือก 4 ชื่อ ได้แก่ สะพานอุเทนอุทิศ สะพานสรรพากรอุทิศ สะพานบริวารถวาย และสะพานเบญจมราชูทิศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “อุเทนถวาย” |
|||
กรมสรรพากรมีตราประจำกรมเป็นรูป “พระเจ้าอุเทนดีดพิณ” หรือ “อุเทนราชดีดพิณ” ดังนั้น “อุเทนราช” จึงเป็นสัญลักษณ์ของกรมสรรพากรและข้าราชการในสังกัด สะพานอุเทนถวายจึงหมายถึง “สะพานที่ข้าราชการกรมสรรพากรสร้างถวาย” สะพานนี้สร้างเสร็จและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเปิดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พุทธศักราช 2456 ปัจจุบันสะพานดังกล่าวถูกรื้อแล้ว |
|||
กำเนิดช่างก่อสร้าง อุเทนถวาย |
|||
พุทธศักราช 2475 คณะราษฎรยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ต่อมาถึงเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2475 ระหว่างนั้นเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้มีคำสั่งเรื่องตั้งโรงเรียนวิสามัญศึกษาช่างก่อสร้าง เป็นการส่งเสริมการศึกษาวิชาช่างไทย ความในคำสั่งมีดังนี้ |
|||
บัดนี้ถึงเวลาสมควรที่จะจัดตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดวิชชาชีพต่อไป เพราะฉะนั้นให้ตั้งโรงเรียนวิสามัญศึกษาขึ้นที่โรงงานของโรงเรียนเพาะช่าง ถนนพญาไท เชิงสะพานอุเทนถวาย ตำบลถนนพญาไทโรงหนึ่ง ให้ชื่อว่า “โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย” และขึ้นแขวงวิสามัญ กับให้มีกรรมการจัดการโรงเรียนขึ้นคณะหนึ่ง ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป |
|||
สั่งแต่ ณ วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2475 |
|||
(ลงนาม) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดี |
|||
โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2554) |
|||
หลังจากมีคำสั่งตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายแล้ว เสนาบดีกระทรวงธรรมการได้เสนอโครงการจัดวิสามัญศึกษา แผนกโรงเรียนช่างก่อสร้างไปยังประธานคณะกรรมการราษฎร เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 การจัดการศึกษาในโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายกำหนดชั้นต้นกับชั้นกลาง ดังปรากฏในโครงการที่เสนอตอนหนึ่งว่า |
|||
“เวลานี้กำลังเริ่มตั้งโรงเรียนช่างก่อสร้างชั้นประถมวิสามัญกับมัธยมต้นวิสามัญซึ่งควรจะมีมากแห่งในพระนคร และในนิคมคามต่าง ๆ ได้ตั้งโรงเรียนแรกเรียกว่า โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย จะได้เปิดรับนักเรียนในไม่ช้า แผนกประถมวิสามัญรับนักเรียนจบประถมสามัญแล้ว ให้เรียนเป็นช่างไม้ช่างปูนและช่างทาสี แผนกมัธยมต้นวิสามัญรับนักเรียนจบมัธยมต้นแล้ว ให้เรียนวิชาช่างนั้น ๆ จนมีความรู้สูงขึ้นไปเป็นนายช่างคุมงานและกะงานอย่างหัวหน้าช่างจีนที่เรียกว่า ‘จีนเต็ง’ ได้ เวลาเรียนมีกำหนดราว 4 ปี ทั้ง 2 ชั้น มีการเรียนวิชชาสามัญเพิ่มเติมบ้างเล็กน้อยตามสมควร… |
|||
โรงเรียนช่างชั้นสูงสอนวิชชาสถาปัตยกรรม หัดให้เป็นสถาปนิก Architect คือ นายช่างผู้ออกแบบการก่อสร้าง บัดนี้เปิดสอนอยู่แล้วในโรงเรียนเพาะช่าง ซึ่งต่อไปจะได้สมทบเข้าเป็นส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัยตามควรแก่ฐานชั้นอุดมศึกษา…” |
|||
เสนาบดีกระทรวงธรรมการมีบัญชาให้ตั้งคณะกรรมการจัดการโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ประกอบด้วย พระยาวิทยาปรีชามาตย์ พระยาปริมาณสินสมรรค พระยาโสภณหิรัญกิจ จมื่นสุรฤทธิ์พฤฒิไกร หลวงอาจอัคคีการ นายนารถโพธิประสาท และมีหลวงวิศาลศิลปกรรมเป็นครูใหญ่ เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาวิชาช่างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2476 ครั้งนั้นมีนักเรียนทุกชั้นทุกแผนกรวมกันจำนวน 92 คน |
|||
ถึงวันที่ 4 มิถุนายน พุทธศักราช 2477 กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งยุบโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ให้กลับไปสังกัดโรงเรียนเพาะช่างดังเดิม และแต่งตั้งให้ ร.อ. ขุนบัญชารณการ (วงศ์ จารุศร) รับมอบงานจากครูใหญ่คนเดิม ครั้นถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2477 (สมัยนั้นกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่) พระสารศาสตร์ประพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งให้โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย แยกจากโรงเรียนเพาะช่างและแต่งตั้งให้ ร.อ. ขุนบัญชา รณการ (วงศ์ จารุศร) ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ |
|||
เมื่อกระทรวงธรรมการมีคำสั่งให้แยกโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายจากโรงเรียนเพาะช่างนั้น ผู้บริหารกระทรวงธรรมการมีความเห็นว่า นักเรียนช่างก่อสร้างควรได้ฝึกปรือความรู้ความชำนาญจากการก่อสร้างจริง ดังนั้น กระทรวงธรรมการจึงมีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2477 ขอให้โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายเป็นผู้จัดสร้างอาคารในสังกัดของกระทรวงธรรมการโดยไม่ต้องมีการประกวดราคา ดังความตอนหนึ่งในหนังสือว่า |
|||
“อนึ่ง กระทรวงธรรมการมีโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายซึ่งจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือให้มีการงานบางอย่างทำ เพื่อเป็นการฝึกหัดของนักเรียน ฉะนั้นการก่อสร้างภายในวงงานของกระทรวงธรรมการ เมื่อกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เขียนแบบและคิดราคาเสร็จแล้ว ถ้าโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายจะรับทำได้ตามราคานั้น ก็ขออนุมัติเป็นพิเศษให้โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายทำ โดยไม่ต้องประกวดราคา…” |
|||
ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ผลงานของโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายในระยะนั้นมีมากมาย เช่น อาคารเรียนโรงเรียนศึกษานารี อาคารสมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อาคารโรงเรียนช่างกลปทุมวัน อาคารโรงเรียนเสาวภา เป็นต้น |
|||
ต่อมา โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายได้เป็นผู้สร้างอาคารที่ไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงธรรมการอีกหลายแห่ง เช่น ในปีพุทธศักราช 2488 กระทรวงคมนาคมจ้างเหมาให้ก่อสร้างอาคารของกรมรถไฟที่จังหวัดนครราชสีมา ระยะเวลาดังกล่าวอยู่ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อก่อสร้างอาคารต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาแล้ว แต่ยังไม่ทันได้ส่งมอบงาน บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาถูกโจมตีทางอากาศอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2488 เครื่องบินทิ้งระเบิดถูกอาคารของกรมรถไฟที่สร้างขึ้นบริเวณนั้น ทำให้อาคารเสียหายอย่างหนัก ครูผู้ควบคุมงาน 1 ราย และคนงานอีก 2 ราย เสียชีวิต |
|||
โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ กระทั่งถึงพุทธศักราช 2517 กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศยกฐานะเป็นวิทยาลัยอุเทนถวาย และในพุทธศักราช 2518 โอนเข้าสังกัดเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตอุเทนถวาย |
|||
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ทำให้โรงเรียนช่างก่อสร้างแห่งนี้ได้นามใหม่ว่า สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย และปัจจุบันโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายมีสถานภาพเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย |
|||
ช่างก่อสร้างอุเทนถวายเป็นสถาบันการศึกษาเก่าแก่ เป็นโรงเรียนช่างก่อสร้างแห่งแรกที่อุบัติขึ้นในประเทศไทยและผลิตช่างฝีมือคุณภาพออกรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่อง เกียรติภูมิของสถาบันแห่งนี้เป็นที่ชื่นชมของบรรดาครูบาอาจารย์และศิษย์ช่างก่อสร้าง สมกับคำอวยพรของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ที่มอบให้โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย ตอนหนึ่งว่า |
|||
“องค์การของโรงเรียน นอกจากสถานที่และเครื่องมือทั้งหลาย ย่อมประกอบด้วยอาจารย์และศิษย์ทุกส่วนประมวลกันเข้าแล้ว จึงเกิดมีการสอนการเรียนที่มุ่งหมาย เพราะฉะนั้นภาระทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมาแล้ว จึงมิได้ตกแก่ใครที่ไหน ย่อมตกอยู่แก่อาจารย์ และศิษย์นั่นเอง อาจารย์และศิษย์ร่วมกันรับผิดชอบในภาระนั้น ๆ จึงเท่ากับกำชื่อเสียงของโรงเรียนไว้ในมือของตน ๆ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็ว่า อาจารย์ ครู และศิษย์ทุกคนเป็นผู้จะบันดาลชื่อเสียงของโรงเรียนให้เกิดขึ้นได้ทั้งฝ่ายดีและชั่ว โดยการกระทำของตน ๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน” |
|||
อ่านเพิ่มเติม : |
|||
เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก ผบ.โรงเรียนเพาะช่างพระองค์แรก ทรงพระปรีชาแม้แต่งานของผู้หญิง |
|||
หลวงวิศาลศิลปกรรม ช่าง 5 แผ่นดิน ออกแบบตึก-โบสถ์ดังทั่วกรุง ไฉนสมัครเป็นข้าราชการ |
|||
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ |
|||
หมายเหตุ : คัดเนื้อหาจากบทความ “ฟื้นตำนาน อุเทนถวาย” เขียนโดย บุญเตือน ศรีวรพจน์ ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2554 |
|||
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 1 สิงหาคม 2565 |
|||
แท็กก่อสร้างช่างอุเทนถวายโรงเรียนเพาะช่าง |
|||
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง == |
== ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง == |
||
บรรทัด 102: | บรรทัด 45: | ||
* [[มีศักดิ์ นาครัตน์]] ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง ผู้กำกับ |
* [[มีศักดิ์ นาครัตน์]] ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง ผู้กำกับ |
||
* [[สมบัติ เมทะนี]] ศิลปิน นักแสดง |
* [[สมบัติ เมทะนี]] ศิลปิน นักแสดง |
||
* |
* [[เฉลิม สุจริต]] [[สถาปนิก]] อาจารย์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชา[[สถาปัตยกรรม]]และคณบดี[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] |
||
* [[ชุมพร เทพพิทักษ์]] นักแสดง |
* [[ชุมพร เทพพิทักษ์]] นักแสดง |
||
* [[ไสยาสน์ เสมาเงิน]] ศิลปินงานไม้ |
* [[ไสยาสน์ เสมาเงิน]] ศิลปินงานไม้ |
||
บรรทัด 111: | บรรทัด 54: | ||
* [[ปรีชา ชนะภัย]] ศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรีวง[[คาราบาว]] นักแสดง รุ่น 40 |
* [[ปรีชา ชนะภัย]] ศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรีวง[[คาราบาว]] นักแสดง รุ่น 40 |
||
* [[ธเนศ วรากุลนุเคราะห์]] ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง รุ่น 43 |
* [[ธเนศ วรากุลนุเคราะห์]] ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง รุ่น 43 |
||
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญเสริม เปรมธาดา รุ่น51 สถาปนิก อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล Royal Academy Dorfman Award 2019 |
|||
* [[ปฏิภาณ ปฐวีกานต์]] ศิลปิน นักร้อง รุ่น 57 |
* [[ปฏิภาณ ปฐวีกานต์]] ศิลปิน นักร้อง รุ่น 57 |
||
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:14, 7 พฤศจิกายน 2566
ไฟล์:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย.png | |
ชื่อย่อ | มทร.ตะวันออก วข.อุเทนถวาย / RMUTTO UTHEN |
---|---|
คติพจน์ | ราชมงคลสร้างคนสู่งานเชี่ยวชาญเทคโนโลยี ราชมงคลทั้งเก้าแห่ง |
ประเภท | วิทยาเขต |
สถาปนา | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 |
ที่ตั้ง | |
สี | น้ำเงิน-ขาว |
เว็บไซต์ | http://www.uthen.rmutto.ac.th |
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Tawan-ok : Uthenthawai Campus) เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เดิมชื่อว่า "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย"[1] ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 225 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีน้ำเงิน สีขาว คติพจน์ "ถ้าเรารักสมัครจิต ก็ต้องคิดสมัครมือ ถิ่นสีน้ำเงิน คือ ที่รวมรักสมัครคง"
ประวัติ
พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ตลอดระยะเวลาที่ทรงรับราชการ ได้บริหารการศึกษาศิลปหัตถกรรม ของโรงเรียนเพาะช่างให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ได้รับความนิยมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ จนถึงเจ้านาย ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ตลอดชาวต่างประเทศ ทรงจัดตั้งแผนกช่างทอง แผนกเจียระไนเพชร พลอย แผนกทำบล็อกสกรีน โดยเฉพาะเครื่องถม ได้ขยายวิธีการไปอย่างกว้างขวางจนเป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จักมาจนถึงปัจจุบันคือ “ ถมจุฑาธุช “ ทรงจัดให้มีพิธีไหว้ครูช่างแบบอย่างโบราณขึ้นในโรงเรียนเพาะช่างเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2463 และทรงคิดสีประจำโรงเรียนคือ สีแดง-ดำ สีแดงหมายถึงเลือดของช่าง สีดำหมายถึงไม่ใช่ช่าง เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติให้ช่างทั้งหลายได้มีเลือดเป็นสีแดงอยู่เสมอ อย่าให้สีแดงของช่างจางไปหรือกลายเป็นสีดำ
ทรงขยายแผนกการค้า ทรงสร้างห้องแสดงสินค้าห้องประชุมโรงเรียนเพาะช่าง จนกระทั่งนำผลกำไรจากการค้าของโรงเรียนช่าง ไปสร้างโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวายขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง คือ วิทยาเขตอุเทนถวาย ปัจจุบัน นั่นเอง
วิทยาเขตอุเทนถวาย ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย หรือ "โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย" ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาเป็นวิทยาเขตในสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2533 เป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย" ปัจจุบัน เป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เปิดสอนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
พิ้นที่ของอุเทนถวายทำการเช่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2478 มีการขอเจรจาคืนในปี 2518 มีแผนพัฒนา ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืนในปี 2545 กรมธนารักษ์ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ให้อุเทนถวายจำนวน 35 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ [2]บริเวณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ[3][4] ครม.จัดสรรงบเพื่อก่อสร้างและขนย้าย 200 ล้านบาท อุเทนถวายทำข้อตกลงกับจุฬาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 จะขนย้ายและส่งมอบให้แก่จุฬาภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 หากจำเป็นผ่อนผันได้ไม่เกิน 1 ปี ปี 2548 มีการทำบันทึกข้อตกลงว่าอุเทนถวายจะย้ายไปก่อสร้างที่ใหม่ บริเวณบางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมทั้งนี้จะย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 แต่การย้ายยังติดขัดปัญหาและเป็นไปอย่างล่าช้า กระทั่ง ปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กยพ.) ซึ่งระหว่างนั้นสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง[5] และปี 2552 กยพ.มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้จุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ ส่วนผลการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. และทางจุฬาฯ ก็ไม่ได้ทวงเงินค่าเสียหายจากอุเทนถวายแต่อย่างใด ต่อมาในเดือนธันวาคม 2565 ศาลปกครองสูงสุด ศาลมีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากพิ้นที่ โดยจะต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังจากมีคำสั่ง[6] [7]
คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สาขาวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิศวกรรมก่อสร้าง
- สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
- สาขาสถาปัตยกรรมภายใน
- สาขาออกแบบอุตสาหกรรม
- สาขาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบขนส่ง
- สาขาการบริหารงานก่อสร้าง
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
- เลิศ ประสมทรัพย์ ศิลปิน นักดนตรีและนักแต่งเพลง
- เล็ก อ่ำเที่ยงตรง ศิลปิน นักดนตรีและนักแต่งเพลง
- คำรณ สัมบุญณานนท์ ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแสดงและนักแต่งเพลง
- พีรพัฒน์ สวัสดิ์มูล นักร้อง นักแสดง นักดนตรี
- สุรพล สมบัติเจริญ ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง
- ถาวร สุวรรณ นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์
- ทนง วรัญญู ศิลปิน
- สมบัติ จันเกษม ศิลปิน
- ครูเปรื่อง ชื่นประโยชน์ ศิลปิน นักดนตรี นักแต่งเพลง
- มีศักดิ์ นาครัตน์ ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง ผู้กำกับ
- สมบัติ เมทะนี ศิลปิน นักแสดง
- เฉลิม สุจริต สถาปนิก อาจารย์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ชุมพร เทพพิทักษ์ นักแสดง
- ไสยาสน์ เสมาเงิน ศิลปินงานไม้
- ปริญญา สุขชิต ศิลปินนักเชียร์กีฬาชื่อดังเป็ดซูเปอร์แมน รุ่น 36
- เกริกกำพล ประถมปัทมะ ศิลปิน นักร้องวงคาราบาว รุ่น 38
- ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รุ่น 40
- ยืนยง โอภากุล ศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรี, นักแต่งเพลง วงคาราบาว รุ่น 40
- ปรีชา ชนะภัย ศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรีวงคาราบาว นักแสดง รุ่น 40
- ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง รุ่น 43
- ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ ศิลปิน นักร้อง รุ่น 57
อ้างอิง
- ↑ ปล่อยวางความแค้น ย้อนดูรากเหง้า อุเทน - ปทุมวัน 2 วิทยาลัยช่างสร้างชาติ
- ↑ "อุเทนถวายได้ข้อสรุปวิทยาเขตใหม่ให้ตั้งที่บางพลี". mgronline.com. 2005-04-26.
- ↑ "จุฬาฯ แจงข้อเท็จจริงกรณีที่ดิน". dailynews. 2017-04-12.
- ↑ isranews (2013-03-15). "จุฬาจี้ศธ.ประสานอุเทนถวายเจรจา". สำนักข่าวอิศรา.
- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2023-02-16). "เปิดปม "ย้ายอุเทนถวาย" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด". thansettakij.
- ↑ "'อุเทนถวาย' ชุมนุมค้านย้ายที่ตั้งใหม่ โพลชี้ 74.43% หนุนอยู่ที่เดิม". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-02-16.
- ↑ อุเทนถวายรวมตัวยื่นหนังสือ หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้ย้ายออกจากพื้นที่ ปมข้อพิพาทที่ดินกับจุฬาฯ, สืบค้นเมื่อ 2023-02-17
แหล่งข้อมูลอื่น
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์