การบ้าน
“เมื่อคืนคุณทำการบ้านแล้วหรือยัง”
“ผมน่ะ ทำการบ้านมาดีแต่ไม่มีโอกาส”
“อ่านไร้สาระนุกรมทำไม! ให้เลือก...ว่าจะทำการบ้าน หรือว่าจะตาย!!”
การบ้าน(ปะกิด: homework, assignment เทย: การตายที่บ้าน) คือเศษกระดาษที่คุณครูให้นักเรียนมา ในเวลาว่างจัดที่บ้าน เลยให้งานนักเรียนมาทำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าตัวเองตามไปสอนนักเรียนที่บ้าน
ต้นกำเนิด[แก้ไข]
การบ้านในภาษาอังเกรียน (Homework)นั้น มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรี๊ดโบราณคำว่า hoemwerk ที่มีความหมายว่า "ความตายจากการทรมาน" และถูกพัฒนาขึ้นมาอีกจนกลายเป็นเครื่องมือในการทรมานของพวกฝรั่งมังค่าในยุคกลาง ทว่าความนิยมลดไปมากในสมัยปฏิวัติเศษฝรั่งและกลับมาบูมอีกครั้งเมื่อครูชาวอิตาขี้ได้ลงโทษเด็กแว้นสองคนโดยใช้การบ้านเป็นเครื่องมือทรมาน อย่างไรก็ตาม คนเทยนั้นแปลจากภาษาปะกิตมาตรงตัวว่า "งานที่บ้าน" และเพี้ยนมาเป็นการบ้าน จนทุกวันนี้
ลักษณะเบื้องต้น[แก้ไข]
ลักษณะของการบ้านคือ ต้องมีน้ำมากกว่าเนื้อ เพราะคนทำการบ้านจะต้องยุ่งวุ่นวายกับการอธิบายต่างๆนานา อย่างไรก็ตาม การบ้านสามารถจะมาจากการเดามั่วๆ ในหลายๆส่วนแล้วเขียนประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้มีจำนวนเยอะๆ ทรมานสายตาคนอ่านได้
การบ้านจะถูกจ่ายให้นักเรียนทุกๆวัน เพื่อเติมข้อมูลผิดๆใส่สมองนักเรียน มีไว้เพื่อเบียดเบียนเวลาว่างของนักเรียน ไม่ให้มีเวลาว่างทำอย่างอื่น ไม่เปิดโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือได้เรียนรู้สิ่งอื่นที่มีคุณค่าจริงจริง เช่นการเล่นไร้สาระนุกรม เพื่อที่จะได้เติบใหญ่มาเป็นคนไร้จินตนาการ ทำงานตามคำสั่งของท่านผู้นั้น
บางครั้ง การบ้านมีไว้เพื่อการลงโทษนักเรียนที่มีทีท่าว่าจะแข็งขืน ไม่ให้เวลาคิด และเพื่อให้มั่นใจว่าจะโตขึ้นมาเพื่อทำงานเงินเดือนต่ำๆ
ประเภทของการทรมานด้วยการบ้าน[แก้ไข]
จับกังแบกหาม[แก้ไข]
เป็นการทรมานเหยื่อ ด้วยการให้เหยื่อแบกปึกกระดาษที่บรรจุได้ด้วยตัวอักษรและหุ้มปก ปึกเอกสารเหล่านี้ เหยื่อจะถูกบังคับให้ต้องแบกไปมาจนกว่าจะหลังโก่งหรือหลังค่อม และเหยื่อจะต้องแบกปึกเอกสารเหล่านี้ไปมาในศูนย์การทรมาน หรือที่เรียกกันว่า "ห้องเรียน" นั่นเอง บางครั้งห้องเรียนเอง ก็เป็นจุดที่เหยื่อจะต้องมารับเอกสารไปแบกหามเพิ่มเติม
ทำลายสายตา[แก้ไข]
เหยื่อจะถูกบังคับให้แบกเอกสารเหล่านั้นกลับบ้านเพื่ออ่าน ความยาวของเนื้อหานั้น เป็นสัดส่วนแปรผันตรงกับความน่าเบื่อของมัน แต่แปรผกผันกับกระโยชน์ที่นำไปใช้จริงได้ สำหรับเนื้อหาในเอกสารนั้น ได้รับการออกแบบมาอย่างดี โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการทรมาน เพื่อให้เหยื่อได้รับความทรมานอย่างแสนสาหัสจากการอ่านเอกสารนั้นๆ อีกทั้งยังสามารถสะกดจิตให้เหยื่อง่วงนอน และหลับไปได้
สำหรับเหยื่อบางรายที่โชคร้าย โดนทรมานด้วยวิธีนี้อย่างหนัก อาจจะเคราะห์ร้าย ถึงกับพิการทางสายตาได้
ทำลายข้อมือ[แก้ไข]
หลังจากเหยื่อผ่านการทรมานด้วยการอ่านมาแล้ว เหยื่อจะถูกบังคับให้ทำการเขียนข้อความลงในสมุด และเหยื่อจะต้องเขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าข้อมือของเหยื่อจะไม่สามารถขยับได้อีกต่อไป ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ อาจจะมองว่าการทรมานนั้นจบไปแล้ว แต่ไม่ใช่ เมื่อเวลาผ่านไป ๕ นาที หรือเมื่อข้อมือของเหยื่อเริ่มสามารถขยับได้อีกครั้ง การทรมานก็จะเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง
โดยทั่วไปแล้ว ยิ่งปริมาณการเขียนที่เหยื่อจะต้องเขียนนั้น มักจะแปรผกผันกับความยากของงาน แต่ในบางครั้ง การทรมานด้วยวิธีนี้ จะสามารถทำให้โหดร้ายได้ ด้วยการให้การบ้านที่ทั้งต้องเขียนเป็นจำนวนมหาศาลแล้ว ยังผสมด้วยความยากเย็นแสนเข็ญอีกด้วย
ทำลายระบบเศรษฐกิจครอบครัว[แก้ไข]
บางครั้ง การบ้านจะถูกให้ในรูปแบบของ "รายงาน" หรือ "งานประดิษฐ์" ประเภทต่างๆตามแต่ที่จะสั่งให้เหยื่อทำ ซึ่งงานประเภทรายงานนั้น จะต้องมีการทำปก ซึ่งทำให้ต้องเกิดการเสียค่าใช้จ่าย และบางครั้งในการทำรายงาน เหยื่อจะได้รับคำสั่งให้ทำรายงานที่เน้นปกสวยงาม ดูดี เพื่อที่ผู้ลงทัณฑ์จะได้นำไปใช้ประดับถังขยะ หรือเอาไปประดับบารมีที่หน้าห้องและหลังห้องได้ ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายแก่ผู้อุปถัมภ์หรือผู้ปกครองเหยื่อ เช่น พ่อแม่ รวมถึงคนในโคตรเหง้าศักราชที่ยังไม่ตาย
ส่วนงานประดิษฐ์นั้น จะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายแก่เหยื่อมากขึ้นไปอีกเป็นเท่าทวี
การสั่งการบ้านที่สิ้นเปลืองทรัพยากรนี้ มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ บีบบังคับให้ครอบครัวของเหยื่อต้องเสียเงินจับจ่าย
การทรมานด้วยวิธีนี้อาจจะส่งผลให้เกิดโรคทรัพย์จางได้
ทำลายธรรมชาติ ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน[แก้ไข]
การบ้านบางครั้ง ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จากกรณีข้างบน แสดงให้เห็นการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และเมื่องานหรืองานประดิษฐ์ต่างๆ ถูกทำออกมาได้ไม่น่าพอใจคุณครูของเรา เราอาจจะเห็นว่ามันกลายเป็นขยะไปเลย หรือคุณครูที่ไม่พอใจงานของท่านอาจจะเห็นว่ามันเป็นขยะเช่นกัน แล้วจับมันเขวี้ยงออกนอกหน้าต่าง กลายเป็นขยะไร้ค่าชิ้นใหม่ รวมถึงกระดาษทด , เศษกระดาษต่างๆ หรือกระดาษที่ถูกขยำขว้างก็เหมือนกัน หากครูชอบให้ท่านคิดเลขได้ยาวเรียงกันเป็นกิโล งานพวกนี้เมื่อสะสมนานเข้าๆ จะกลายเป็นขยะกองโต ก่อให้เกิดขยะสังคังจำนวนมหาศาล หากมันถูกเอาไปทิ้งในที่ๆ ไม่สมควร ตามท่อน้ำ ตามหลังบ้านท่าน หรือตามส้วมต่างๆ ซึ่งอาจยากต่อการรีไซเคิล หรือย่อยสลาย กลายเป็นต้นเหตุภาวะโลกร้อน
จุดอ่อนของการบ้าน[แก้ไข]
แม้ว่าจะถูกออกแบบมาเพื่อทำร้ายเป้าปมาย แต่จากการถูกฟาดตายแล้วฟื้นสลับไปมารวมถึงการทดลองแบบเดาผิดๆถูกๆก็ได้พบว่าการบ้านมีจุดบกพร่องที่ไม่สามารถใช้ทรมานได้เช่นการใช้แม่แบบแพทเทิร์นซ้ำๆอยู่แค่การตั้งตัวเลือกดักควายทั้งแบบกาและเขียนหรือการใช้ยุทธวิธีหน้าหลังเพื่อดักจับนักโทษที่ประมาท การทดลองร่วมกันโดนสาสตราจานคุรุมิ, โทกะ และโยชิโนะ ซึ่งนั่งวิเคราะห์การบ้านร่วมกันจนได้ข้อสรุปว่า การบ้านใช้วิธีการสร้างความคลุมเครือเพื่อทรมานนักโทษและยังพบว่าการบ้านบางอันใช้แม่แบบเดียวกับข้อสอบเป๊ะๆ
จากซ้าย:การทดลองแม่แบบดักควายของการบ้านละการค้นพบแม่แบบที่ก๊อปข้อสอบมาทั้งดุ้น
คำวิพากษ์วิจารณ์[แก้ไข]
“การบ้านไม่ใช่ข้าว ทำก็ไม่อิ่ม แต่ก็มีมาทุกวัน ยังกับว่าเป็นอาหารหลักของมนุษย์จำพวกนักเรียนไปซะแล้ว”