วิกิสนเทศ:บทนำ
วิกิสนเทศ เป็นฐานข้อมูลทุติยภูมิที่ เสรี, ทำงานร่วมกัน, หลากภาษา, ซึ่งรวบรวมข้อมูลเชิงโครงสร้างเพื่อให้การสนับสนุน วิกิพีเดีย, วิกิมีเดียคอมมอนส์, โครงการวิกิอื่น ภายใต้ขบวนการขับเคลื่อนของวิกิมีเดีย, และแก่ทุกคนในโลก
สิ่งนี้หมายความว่าอย่างไร
ลองดูที่คำแถลงเปิดในรายละเอียดเพิ่มเติม:
- เสรี สารสนเทศในวิกิสนเทศเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบสาธารณสมบัติอุทิศ 1.0 การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่ของสารสนเทศในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน คุณสามารถทำซ้ำ, แก้ไขและดำเนินการเผยแพร่สารสนเทศ แม้สำหรับวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ทั้งหมด โดยไม่ต้องขออนุญาต
- การทำงานร่วมกัน ข้อมูลถูกป้อนและดูแลโดยบรรณาธิการ วิกิสนเทศ ซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับกฎของการสร้างและจัดการเนื้อหา. และยังมี bots อัตโนมัติ ใส่ข้อมูลลงใน Wikidata
- หลากภาษา. การแก้ไข, การบริโภค, การเรียกดู, และ การนำข้อมูลกลับมาใช้ซ้ำมีความหลากภาษาอย่างเต็มที่. ข้อมูลที่ป้อนในภาษาใดๆ จะมีให้บริการในภาษาอื่นๆ โดยทันที. การแก้ไขในภาษาใดๆ เป็นไปได้และได้รับการเชื้อเชิญปลุกเร้า.
- ฐานข้อมูลทุติยภูมิ วิกิสนเทศ ไม่เพียงบันทึกข้อความ (ประพจน์) เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแหล่งที่มา และการเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลอื่น ๆ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของความรู้ที่มีและสนับสนุนความคิดในการตรวจสอบได้
- 'การรวบรวมข้อมูลที่มีโครงสร้าง' การกำหนดองค์ประกอบที่มีโครงสร้างระดับสูงช่วยให้สามารถนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายโดยโครงการของวิกิมีเดียและบุคคลที่สาม และช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและ "เข้าใจ" ได้
- การสนับสนุนโครงการวิกิของวิกิมีเดีย วิกิสนเทศช่วยวิกิพีเดียด้วยการทำให้กล่องข้อมูลสามารถบำรุงรักษาได้ง่ายขึ้นและลิงก์ไปยังภาษาอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดปริมาณงานแก้ไขรวมทั้งปรับปรุงคุณภาพ การปรับปรุงในภาษาหนึ่งนั้นสร้างความพร้อมสำหรับการปรับปรุงในภาษาอื่นทุกภาษา
- 'ใครก็ได้ในโลกนี้' ใคร ๆ ก็สามารถใช้ข้อมูลของวิกิสนเทศในการสร้างบริการและงานประยุกต์
วิกิสนเทศทำงานอย่างไร?
วิกิสนเทศเป็นที่เก็บข้อมูลส่วนกลางที่ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้เช่น โครงการวิกิ ที่ดูแลโดย มูลนิธิวิกิมีเดีย เนื้อหาที่โหลดแบบไดนามิกจากวิกิสนเทศ ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลในแต่ละโครงการวิกิ ตัวอย่างเช่นสถิติ วันที่ สถานที่ และข้อมูลทั่วไปอื่น ๆ สามารถรวมศูนย์ในวิกิสนเทศ
คลังเก็บวิกิสนเทศ
คลังข้อมูลวิกิสนเทศ ประกอบด้วยส่วนหลักๆ คือ ไอเทม ซึ่งแต่ละไอเทมจะมี ป้ายชื่อ, คำอธิบาย และ นามแฝงจำนวนหนึ่ง ไอเทมจะถูกระบุอย่างไม่ซ้ำกันโดย Q
ตามด้วยตัวเลข เช่น Douglas Adams (Q42)
ประพจน์ อธิบายรายละเอียดคุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง ๆ (ไอเทม) และประกอบด้วย คุณลักษณะ และ ค่า. คุณลักษณะใน วิกิสนเทศ มี P
ตามด้วยตัวเลขเช่นกับ educated at (P69)
สำหรับบุคคลคุณสามารถเพิ่มคุณสมบัติเพื่อระบุว่าพวกเขาได้รับการศึกษาโดยระบุค่าสำหรับโรงเรียน สำหรับอาคารคุณสามารถกำหนดคุณสมบัติพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้โดยการระบุค่าลองจิจูดและค่าละติจูด คุณสมบัติยังสามารถลิงก์ไปยังฐานข้อมูลภายนอก คุณสมบัติที่ลิงก์รายการไปยังฐานข้อมูลภายนอกเช่น ฐานข้อมูลการควบคุมรายการหลักฐานที่ใช้โดยหอสมุดและหอจดหมายเหตุเรียกว่า ตัวบ่งชี้ พิเศษ ไซต์ลิงก์ เชื่อมต่อรายการกับเนื้อหาที่สอดคล้องกันในวิกิไคลเอนต์เช่น วิกิพีเดีย, วิกิตำรา หรือวิกิคำคม
ข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถแสดงเป็นภาษาใด ๆ ได้แม้ว่าข้อมูลจะมีต้นกำเนิดในภาษาอื่น เมื่อเข้าถึงค่าเหล่านี้ ไคลเอ็นต์ของโครงการวิกิจะแสดงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด
ไอเทม | คุณลักษณะ | ค่า |
---|---|---|
Q42 | P69 | Q691283 |
Douglas Adams | educated at | St John's College |
ทำงานกับวิกิสนเทศ
มีหลายวิธีในการเข้าถึง วิกิสนเทศ โดยใช้เครื่องมือในตัว เครื่องมือภายนอก หรืออินเตอร์เฟสการเขียนโปรแกรม
- Wikidata Query และ Reasonator เป็นเครื่องมือยอดนิยมในการค้นหาและตรวจสอบรายการวิกิสนเทศ หน้า 'tools' มีรายการโครงการที่น่าสนใจมากมายให้สำรวจ
- คุณสามารถ ดึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างอิสระโดยใช้ API และบริการต่าง ๆ
- ผู้ใช้วิกิสามารถเข้าถึงข้อมูลสำหรับหน้าของพวกเขาโดยใช้ Lua Scribunto อินเทอร์เฟซ
จะเริ่มต้นที่ไหน
วิกิสนเทศทัวร์ ที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ใหม่เป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิกิสนเทศ
การเชื่อมโยงบางอย่างเพื่อเริ่มต้น:
- ตั้งค่า ตัวเลือกผู้ใช้ โดยเฉพาะส่วนขยาย 'Babel' เพื่อเลือกการตั้งค่าภาษาของคุณ
- ความช่วยเหลือในกรณีที่ไม่มี ป้ายชื่อและคำอธิบาย
- ความช่วยเหลือเกี่ยวกับ สิ่งขัดแย้งข้ามวิกิ และ การละเมิดเงื่อนไขจำกัด
- ลองปรับปรุงหน้าที่สุ่มขึ้นมา
- ช่วยแปล
ฉันจะสนับสนุนได้อย่างไร
ไปข้างหน้าและ เริ่มแก้ไข การแก้ไขเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและแนวคิดของวิกิสนเทศ หากคุณต้องการทำความเข้าใจแนวคิดของวิกิสนเทศล่วงหน้าคุณอาจต้องการดู หน้าช่วยเหลือ หากคุณมีข้อสงสัยโปรดทิ้งไว้ใน การแชทโครงการ หรือ ติดต่อทีมพัฒนา