ข้ามไปเนื้อหา

ชวนชม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชวนชม
ดอกชวนชมในธรรมชาติ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: ดอกหรีดเขา
Gentianales
วงศ์: วงศ์ตีนเป็ด
Apocynaceae
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยส้มลม
Apocynoideae
เผ่า: Nerieae
Nerieae
สกุล: ชวนชม
Adenium
Roem. & Schult.[1]
ชนิด

Adenium boehmianum Schinz
Adenium dhofarense Rzepecky
Adenium multiflorum Klotzsch.
Adenium obesum (Forssk.) Roem. & Schult.
Adenium oleifolium Stapf
Adenium swazicum Stapf[2]

ชื่อพ้อง[3]
  • Adenum G.Don
  • Idaneum Kuntze & Post

ชวนชม (อังกฤษ: Adenium) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า "กุหลาบทะเลทราย" (Desert Rose) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้

ประวัติ

[แก้]

ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร

ชนิด

[แก้]

ปัจจุบันมีชนิดที่ได้รับการยอมรับทั้งหมด 6 ชนิด[2]

  1. Adenium boehmianum Schinz
  2. Adenium dhofarense Rzepecky
  3. Adenium multiflorum Klotzsch.
  4. Adenium obesum (Forssk.) Roem. & Schult.
  5. Adenium oleifolium Stapf
  6. Adenium swazicum Stapf

สายพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

[แก้]
  • ชวนชมพันธุ์ฮอลแลนด์ (Hollland)
  • ชวนชมพันธุ์ยักษ์ญี่ปุ่น (Somalense)
    • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่น
      • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นกิ่งแดง
      • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นกำแพง
      • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นดอกขาว
      • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นใบเงิน
      • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นใบด่าง
      • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นใบเล็ก
    • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นแคระ (Somalense var. Crispum)
    • ชวนชมยักษ์ญี่ปุ่นลูกผสม (Somalense Hybrid)
  • ชวนชมสายพันธ์ยักษ์ซาอุหรือยักษ์อาหรับ

การปลูกเลี้ยง

[แก้]
ต้นกล้าของชวนชมที่ปลูกในกระถาง

ชวนชมควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

การให้ปุ๋ยชวนชมควรใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและได้โชว์โขดหรือหัวที่สวยงามของชวนชม

การขยายพันธ์

[แก้]
Adenium obesum subs. socotranum

การขยายพันธุ์ชวนชม ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด

  • การเพาะเมล็ด ควรใช้เมล็ดใหม่ไม่ควรใช้เมล็ดเก่าเก็บไว้นานเมล็ดใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ในการงอกเยอะกว่า นำเมล็ดไปเพาะในตะกร้าที่มีส่วนผสมของทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1
  • การเสียบยอด ต้องคัดต้นตอที่แข็งแรง ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดยอดของต้นตอตามขวาง ผ่าให้เป็นรูปตัววี และนำยอดพันธ์ดี ของชวนชม ซึ่งเป็นพันธ์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ความยาวประมาณ 1.5-2นิ้ว แล้วบากให้เป็นลิ่ม กะขนาดให้พอดีกับรูปตัววีที่ผ่าไว้ที่ต้นตอจากนั้นนำยอดพันธ์ไปเสียบที่ต้นตอ ระวังอย่าให้ต้นช้ำ พันด้วยพลาสติกใสพันต้นไม้ คลุมด้วยถุงพลาสติกแล้วมัดด้วยเชือก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จะสังเกตเห็นชวนชมที่นำไปเสียบ เริ่มแตกใบอ่อน จึงแกะถุงพลาสติกที่คุลมออกจะได้ต้นชวนชมพันธ์ใหม่ตามที่ต้องการ
  • การตอนและปักชำ เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนจนเกินไป ใช้มีดบากกิ่งเป็นแนวเฉียงให้เอียงประมาณ 45 องศา บากเข้าเนื้อกิ่งสักประมาณ 80-85 เปอร์เซนต์ กั้นรอยบากไว้เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อที่บากเชื่อมติดกัน อาจจะเป็นพลาสติดเช่นหลอดกาแฟบีบให้แบน ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วันเมื่อแผลแห้งดีแล้วก็ใช้วัสดุที่มีความชื้นสัก20-30 เปอร์เซนต์ เช่นขุยมะพร้าวห่อหุ้มให้มิดชิด ทิ้งไว้จนรากเดินเต็มถุงก็ตัดออกมาเอาปูนแดงทาที่แผล ปล่อยให้รอยแผลที่ตัดแห้งดีแล้วก็นำไปปลูกต่อไป ส่วนการชำ ก็เพียงตัดกิ่งที่จะชำออกมาจากลำต้น ทาแผลด้วยปูนแดงปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วันจนแผลแห้ง แล้วนำลงไปชำในทรายที่มีความชื้นพอประมาณ ทิ้งไว้จนแตกใบใหม่ซึ่งแสดงว่ารากเดินแล้วก็ถอนไปปลูกในกระถางต่อไป แต่การชำจะมีเปอร์เซนต์สูญเสียมากกว่าการตอน ทั้งการตอนและการชำหากจะให้ผลดี ควรทำต้น ๆ ฤดูฝน จะได้ผลดีกว่า

ชวนชมในวรรณคดี

[แก้]

ดอกชวนชมปรากฏในวรรณคดีอิเหนา ตอนนางจินตะหราพาอิเหนาไปชมสวน (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2) โดยมีกล่าวไว้ว่า

พระโฉมยงทรงเก็บกุหลาบเทศ ประทานองค์อัคเรศจินตะหรา
ทำเทียมเลียมลอดสอดคว้า กัลยาปัดกรค้อนคม
พระทรงสอยสร้อยฟ้าสารภี ให้มาหยารัศมีแซมผม
เลือกเก็บดอกลำดวนชวนชม ใส่ผ้าห่มให้สการะวาตี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Genus: Adenium Roem. & Schult". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2003-03-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2010-06-26.
  2. 2.0 2.1 "Adenium". Plants of the World Online. Facilitated by the Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 13 November 2022.
  3. "World Checklist of Selected Plant Species".