ข้ามไปเนื้อหา

ชาวเบงกอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวเบงกอล
  • বাঙ্গালী
  • বাঙালি
ประชากรทั้งหมด
ป. 285 ล้านคน[1][2][3]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 บังกลาเทศ166,840,302[4][5]
 อินเดีย107,228,917[6][7]
ภาษา
ภาษาและภาษาย่อยเบงกอล
ศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวอินโด-อารยัน

ชาวเบงกอล (อังกฤษ: Bengali, Bangalee;[8] เบงกอล: বাঙ্গালী/বাঙালি, ออกเสียง: [baŋgali, baŋali]( ฟังเสียง)) คือกลุ่มชาติพันธุ์อินโด-อารยันกลุ่มหนึ่งที่เป็นชนพื้นเมืองของภูมิภาคเบงกอลในเอเชียใต้ หรือระบุให้แคบลงคือ ส่วนตะวันออกของอนุทวีปอินเดียซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งระหว่างประเทศบังกลาเทศกับรัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐตริปุระ และบางส่วนของรัฐอัสสัม รัฐเมฆาลัย และรัฐมณีปุระของประเทศอินเดีย[9] ชาวเบงกอลพูดภาษาเบงกอลซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

ชาวเบงกอลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากชาวฮั่นและชาวอาหรับ[10] นอกเหนือจากบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐตริปุระ และหุบเขาพรากในรัฐอัสสัมของอินเดียแล้ว ประชากรชาวเบงกอลส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่ในดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดีย เช่นเดียวกับเขตเนินเขาจิตตะกองของบังกลาเทศ (ซึ่งแต่เดิมไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเบงกอล) โดยมีประชากรอย่างมีนัยสำคัญในเดลี, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐฉัตตีสครห์, รัฐฌารขัณฑ์, รัฐเมฆาลัย, รัฐมิโซรัม, รัฐนาคาแลนด์ และรัฐอุตตราขัณฑ์ของอินเดีย[11] ชาวเบงกอลพลัดถิ่นทั่วโลก (ชาวบังกลาเทศพลัดถิ่นและชาวอินเดียเชื้อสายเบงกอล) มีชุมชนถาวรในปากีสถาน, สหรัฐ, สหราชอาณาจักร, แคนาดา, ตะวันออกกลาง, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอิตาลี

ชาวเบงกอลมีกลุ่มย่อยทางศาสนาที่สำคัญสี่กลุ่ม ได้แก่ ชาวมุสลิมเบงกอล, ชาวฮินดูเบงกอล, ชาวคริสต์เบงกอล และชาวพุทธเบงกอล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bangladesh wants Bangla as an official UN language: Sheikh Hasina - Times of India". The Times of India.
  2. "General Assembly hears appeal for Bangla to be made an official UN language". 27 September 2010.
  3. "Hasina for Bengali as an official UN language". Ummid.com. Indo-Asian News Service. 28 September 2010.
  4. "Bangladesh Population 2022 (Demographics, Maps, Graphs)".
  5. "South Asia :: Bangladesh". Cia.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 21 June 2020.
  6. "Census of India Website : Office of the Registrar General & Census Commissioner, India". Censusindia.gov.in. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
  7. "Scheduled Languages in descending order of speaker's strength – 2011" (PDF). Registrar General and Census Commissioner of India. 29 June 2018.
  8. "Part I: The Republic – The Constitution of the People's Republic of Bangladesh". Ministry of Law, Justice and Parliamentary Affairs. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2019. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.
  9. Khan, Muhammad Chingiz (15 July 2017). "Is MLA Ashab Uddin a local Manipuri?". Tehelka. 14: 36–38.
  10. ประมาณ 163 ล้านคนในบังกลาเทศ และ 100 ล้านคนในอินเดีย (ประมาณการจากเดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก 2014, ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงตามการเพิ่มประชากรที่รวดเร็ว); ชาวบังกลาเทศในตะวันออกกลางประมาณ 3 ล้านคน, ชาวเบงกอลในปากีสถาน 1 ล้านคน, ชาวบริติชเชื้อสายบังกลาเทศ 0.4 ล้านคน
  11. "50th Report of the Commissioner for Linguistic Minorities in India" (PDF). nclm.nic.in. Ministry of Minority Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2016. สืบค้นเมื่อ 2 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]